Thai / English

18 �.�. 56 สรส.ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ -- 17 ธ.ค.2556 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ออกแถลงการณ์เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล 18 ธันวาคม เสนอ 6 ข้อเรียกร้องต่อรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ( ประชาไท )
07 �.�. 56 คสรท.แถลงจุดยืน ต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม -- คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง หยุด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อัปยศ หยุดนิรโทษกรรมแก่คนสั่งฆ่าประชาชนและคนโกงชาติบ้านเมือง พร้อมประกาศจุดยืน..ต่อต้านการออก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ. ….. ปิดอิสระสมาชิกร่วมค้าน ( http://voice )
11 �.�. 56 บริษัท GM ประเทศไทยออกแถลงการณ์เรื่องการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพฯ -- 9 ก.พ. 56 - เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทยออกแถลงการณ์ของจีเอ็ม ประเทศไทย เรื่องการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานฯ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ .. ( ประชาไท )
11 �.�. 54 แถลงการณ์ ต่อ ข้อพิพาทแรงงาน ของพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา -- แถลงการณ์ ต่อ ข้อพิพาทแรงงาน ของพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา (บริษัท เอสโซ่(ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) ( นายอิสระ มุสิกอง )
08 �.�. 53 แถลงการณ์คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 -- แถลงการณ์คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ฉบับที่ 5/2553 เรื่อง ทวงสัญญา 1 ปี กับความคืบหน้าในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ( คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 9 )
29 �.�. 53 แถลงการณ์ ฉบับที่ ๔/๒๕๕๓ “อีกหนึ่งก้าวที่สำคัญต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO” -- แถลงการณ์ ฉบับที่ ๔/๒๕๕๓ “อีกหนึ่งก้าวที่สำคัญต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO” ( คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ )
23 �.�. 53 แถลงการณ์ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๓ -- แถลงการณ์ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๓ “๗ ตุลา ทวงถามความจริงใจรัฐบาล ต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO” ( คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 )
06 �.�. 53 แถลงการณ์ “ความขัดแย้งทางการเมือง ผลกระทบกับแรงงาน” -- ที่ คสรท. ฉบับพิเศษ/2553 แถลงการณ์ “ความขัดแย้งทางการเมือง ผลกระทบกับแรงงาน” วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 ( คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) )
03 �.�. 53 แถลงการณ์แสดงจุดยืน “ติดตามข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล” -- แถลงการณ์แสดงจุดยืน “ติดตามข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล” ด้วยในปี ๒๕๕๓ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มีมติร่วมในการจัดงานวันกรรมกรสากล ปี ๒๕๕๓ ร่วมกับคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ (สภาองค์การลูกจ้างต่างๆ) เพื่อมีจุดประสงค์หลักในการแสดงความเป็นเอกภาพของขบวนการแรงงาน เพื่อผลักดันให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ตามที่ทราบแล้วนั้น อย่างไรก็ตาม คสรท. ขอแสดงจุดยืนและแถลงแจ้งต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้ทราบโดยทั่วกันว่า ประเด็นข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่ คสรท. ได้ยื่นเรียกร้องต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และยังไม่ได้รับการแก้ไข พวกเราไม่ได้นิ่งนอนใจหรือละทิ้งไป ดังนั้นเนื่องในวันกรรมกรสากล ๒๕๕๓ นี้ คสรท. จะติดตามข้อเรียกร้องต่างๆ จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ ( คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) )
15 ��.�. 53 สมานฉันท์แรงงาน วอนทุกฝ่ายยึดมั่นสันติ -- แถลงการณ์ ‘เรียกร้องทุกฝ่ายยึดมั่นในสันติวิธี และร่วมกันฝ่าวิกฤติเพื่อให้สังคมไทยก้าวไปข้างหน้าได้’ ( ประชาไท )
02 ��.�. 53 แถลงการณ์ฉบับที่ ๑ / ๒๕๕๓ -- แถลงการณ์ฉบับที่ ๑ / ๒๕๕๓ เรียน สมาชิกสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย พี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป ( สหภาพแรงงานมิชลิน )
12 �.�. 52 แถลงการณ์พิเศษ-ฉบับชี้แจงข้อเท็จจริงและ“ไว้ทุกข์ให้รัฐสภาไทย เมื่อความปลอดภัยของคนงานมาทีหลัง” -- แถลงการณ์พิเศษ-ฉบับชี้แจงข้อเท็จจริง และ “ไว้ทุกข์ให้รัฐสภาไทย เมื่อความปลอดภัยของคนงานมาทีหลัง” ( ประชาไท )
09 �.�. 52 มูลนิธิศักยภาพชุมชนออกแถลงการณ์สนับสนุนการต่อสู้สหภาพแรงงานรถไฟ -- เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 52 ที่ผ่านมา มูลนิธิศักยภาพชุมชน ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องสหภาพการรถไฟ แห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้ ( ประชาไท )
30 �.�. 52 ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชนเรียกร้องฝ่ายบริหาร รฟท. ยกเลิกคำสั่งปลดพนักงาน 6 คน อย่างไม่มีเงื่อนไข -- วันนี้ (29 ต.ค.) นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน เผยแพร่แถลงการณ์ “แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน ฉบับที่ 2/2552 สนับสนุน-ให้กำลังใจพนักงาน สร.รฟท. ฝ่ายบริหารต้องยกเลิกคำสั่งปลดพนักงาน 6 คน อย่างไม่มีเงื่อนไข” โดยมีเนื้อหาของแถลงการณ์ดังนี้ ( ประชาไท )
29 �.�. 52 แถลงการณ์เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล ในประเทศไทย -- แถลงการณ์เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล ในประเทศไทย ประนามการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของฝ่ายบริหาร รฟท. ที่กระทำต่อแกนนำ สร.รฟท. ( เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล ในประเทศไทย ( UNI-TLC) )
29 �.�. 52 แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๒ -- แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๒ ประนามการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของฝ่ายบริหาร รฟท. ที่กระทำต่อแกนนำ สร.รฟท. ( คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย )
25 �.�. 52 แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน -- แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน สนับสนุนการต่อสู้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ในการปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน วันที่ 25 ตุลาคม 2552 อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม ( ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน )
23 �.�. 52 แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๙/๒๕๕๒ -- แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๙/๒๕๕๒ สนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพื่อเปิดโปงความไม่โปร่งใสและความปลอดภัยในกิจการรถไฟ ( คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย )
22 �.�. 52 แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD) -- แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD) เรื่อง ขอให้ยุติการละเมิดสิทธิแรงงานและเร่งปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างโปร่งใส จากกรณีรถไฟตกรางที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนมีผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ซึ่งได้นำมาสู่ความระหองระแหงอย่างรุนแรงระหว่างสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย กับคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จนกระทั่งล่าสุด นำมาสู่การประท้วงของสหภาพแรงงานรถไฟฯด้วยการหยุดการเดินรถในสายใต้ ซึ่งนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนถึงมาตรการแก้ไขปัญหาด้วยการให้นักเรียนวิศวการรถไฟและอดีตพนักงานขับรถเข้ามาทำหน้าที่แทนพนักงานขับรถที่หยุดการเดินรถ การให้พนักงานขับรถที่หยุดงานเกิน 15 วันพ้นสภาพพนักงานทันที พร้อมทั้งจะให้มีการสอบสวนเอาผิดแก่พนักงานที่แจ้งลาป่วย – ลากิจในช่วงระยะนี้ด้วย ( ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD) )
15 �.�. 52 แถลงการณ์ ฉบับที่ 1. เครือข่ายช่วยเหลือแรงงานไทยในต่างแดน กรณีแรงงานไทยตกค้างในลิเบียกว่า 8 เดือน -- แถลงการณ์ ฉบับที่ 1. เครือข่ายช่วยเหลือแรงงานไทยในต่างแดน กรณีแรงงานไทยตกค้างในลิเบียกว่า 8 เดือน สืบเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของแรงงานไทย ได้ไปทำงานกับบริษัท CKG และบริษัทอื่นๆ ที่ประเทศลิเบีย เป็นระยะเวลา 2 ปี ตามสัญญาว่าจ้างที่คนงานได้ทำสัญญาอย่างถูกต้องและผ่านกระทรวงแรงงานกับบริษัทจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ โดยต้องจ่ายเงินในการไปทำงานครั้งนี้ รายละ 150,000 – 200,000 บาท แต่เมื่อทำงานครบสัญญา 2 ปี นายจ้างไม่ทำการส่งคนงานกลับตามสัญญาว่าจ้างที่ระบุไว้ ซึ่งแรงงานไทยตกค้างในประเทศลิเบีย จำนวน 151 คน กว่า 8 เดือน ซึ่งมีความเดือดร้อนและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยก็เดือดร้อนเช่นกัน ขณะนี้แรงงานไทยในประเทศลิเบียมีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ต้องอาศัยขอข้าวจากเพื่อนๆ ในแคมป์ที่ทำงานกิน ไม่มีงานทำ ไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายและมีความต้องการที่จะกลับประเทศไทย โดยเร็ว ซึ่งไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ ( ประชาไท )
08 �.�. 52 แถลงการณ์เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการไปทำงานต่างประเทศ -- ตามที่กลุ่มแรงงานได้รับความเดือดร้อนจากการถูกหลอกไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดน ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ดำเนินการแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2552 เป็นต้นมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาใดๆ เลย ( ประชาไท )
15 �.�. 52 แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๘/๒๕๕๒ เรื่อง ข้อเสนอเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและสิทธิแรงงาน -- เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ชาวนาชาวไร่ คนจนเมือง สำหรับผู้ใช้แรงงาน ผลพวงจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจได้ส่งผลต่อการเลิกจ้าง การลดเวลาการทำงาน การใช้มาตรา ๗๕ ในการจ้างงาน นายจ้างที่ไร้มนุษยธรรมได้ฉวยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจนี้เป็นข้ออ้างของเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ภายใต้เป้าหมายเดียวคือการคุกคามสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน ดังที่เกิดขึ้นแล้วกับคนงานหลายๆสถานประกอบการ เช่น คนงาน บริษัท เวิร์ลเวล การ์เม้นท์ , สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออนอิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด, สหภาพแรงงานแคนนาดอล ประเทศไทย , สหภาพแรงงานคาวาซากิยานยนต์แห่งประเทศไทย, สหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็นนิเด็ค ประเทศไทย, สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ฯลฯ ( คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย )
09 �.�. 52 แถลงการณ์ หยุด !! กฎหมายอุ้มนายจ้าง รีบนำร่างกฎหมายของคนงานเข้าสภา “คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” -- แถลงการณ์ หยุด !! กฎหมายอุ้มนายจ้าง รีบนำร่างกฎหมายของคนงานเข้าสภา “คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ( ประชาไท )
27 �.�. 52 แถลงการณ์สหภาพแรงงานไทยเรยอน ฉบับที่ 4 เรื่อง สามเดือนพวกเราทำกำไรให้บริษัท 441.11 ล้านบาทบริษัทต้องปรับค่าจ้างให้เรา 100% -- ตามที่บริษัทได้ทำการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงานเป็นเงินร้อยละ 60 ของค่าจ้างที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานในปี พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 โดยในวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 สหภาพแรงงานฯ ได้ทำหนังสือคัดค้านการประกาศปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ร้อยละ 60 ของบริษัทเพียงฝ่ายเดียวไปยังบริษัทด้วย และ สหภาพแรงงานฯ ได้เรียกร้องให้บริษัทปรับค่าจ้างให้แก่พนักงานเป็นเงิน 100% ของค่าจ้างที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานในปี พ.ศ. 2551 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป กล่าวคือ ยอมประนีประนอมกับบริษัทด้วยการรับการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ร้อยละ 60 เป็นเวลา 3 เดือน และให้บริษัทปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงานเป็นเงิน 100% เป็นเวลา 3 เดือนเช่นกัน ( http://www.trclabourunion.com/d687.html )
27 �.�. 52 แถลงการณ์สหภาพแรงงานไทยเรยอน ฉบับที่ 3 เรื่อง ขอให้ฝ่ายบริหารฟังเสียงของพนักงานด้วยการปรับค่าจ้างตามที่พนักงานเรียกร้อง -- ตามที่สหภาพแรงงานฯ และบริษัทมีความขัดแย้งกันในเรื่องของการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 โดยทั้งสองฝ่ายได้ทำบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2552 เรื่อง การปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ดังนี้ คือ ( http://www.trclabourunion.com/d686.html )
27 �.�. 52 แถลงการณ์สหภาพแรงงานไทยเรยอน ฉบับที่ 2 เรื่อง ขอให้บริษัทปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงาน 100% -- ตามที่สหภาพแรงงานฯ และบริษัทได้ทำการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาเรื่องการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากบริษัทยังยื่นยันที่จะปรับค่าจ้างให้แก่พนักงานร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานประจำปี 2551 ในขณะที่สหภาพแรงงานฯ ยืนยันให้บริษัทปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงานทุกคน 100% ของจำนวนเงินที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานประจำปี 2551 ( http://www.trclabourunion.com/d659.html )
27 �.�. 52 แถลงการณ์สหภาพแรงงานไทยเรยอน ฉบับที่ 1เรื่อง คัดค้านการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้พนักงาน 50% ของบริษัท -- ตามที่สหภาพแรงงานฯ และบริษัทได้ทำการประชุมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 เพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงาน โดยมีประธานร่วม (นายวี. เค. คาร์ปูร์) นายปราโมทย์ พัฒนมงคล และนายสุชาติ เริงรณอาษา เป็นผู้แทนฝ่ายบริษัท และมีกรรมการสหภาพฯ เข้าร่วมประชุมหลายคน ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ โดยแต่ละฝ่ายเสนอให้มีการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ดังนี้ คือ ( http://www.trclabourunion.com/d564.html )
24 �.�. 52 แถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรม -- บรรษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์ นายทุนชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ยักษ์ใหญ่ “Triumph” ไม่ยอมรับหลักปฎิบัติ (OECD) เลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการ 1,959 คน ซึ่งมีแต่คนงานอายุมาก คนท้อง คนป่วย คนพิการ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ( http://triumphlabourunion.blogspot.com/2009/07/blog-post_5257.html )
02 �.�. 52 แถลงการณ์ฉบับที่ 4 ตณะกรรมการสหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็น ประเทศไทย ถูกขู่ฆ่าเพราะจัดตั้งสหภาพแรงงาน -- เรียน พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ประชาชนและสื่อมวลชน ทุกท่าน การละเมิดสิทธิแรงงานในเมืองไทยเกิดขึ้นมากมายจากปัญหาที่นายจ้างไม่ยอมรับการรวมตัวของคนงาน รวมทั้งการเจรจาข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ถึงแม้ว่าจะมี พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 รองรับก็ตาม ทำให้คนงานที่รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานถูกกระทำต่าง ๆ จนไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ ถูกคุกคามถึงขั้นเอาชีวิตหากดำเนินกิจกรรมสหภาพแรงงานต่อไป โดยเฉพาะเขตการลงทุนทางภาคตะวันออก เช่น คณะกรรมการสหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็น นิเด็ค ประเทศไทย ซึ่งเป็ฯพนักงานผู้หญิง ถูกคุกคาม ถูกขู่ฆ่า เพื่อให้เกิดความกลัว เนื่องจากการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ( สหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็น นิเด็ค ประเทศไทย )
23 ��.�. 52 ครส. / สมัชชาคนจน ค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ ของรัฐบาล -- 23 มิ.ย. 52 - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์คัดค้านการแปรรูปกิจการรถไฟ เลวร้ายไม่ต่างจากการพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จะโยกย้ายถ่ายโอนทรัพย์สินของรัฐและประชาชนไปให้เอกชนดูแลและสร้างกำไร ( ประชาไท )

�������