Thai / English

รายงานสัมมนา: “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” (ตอนที่ 2)


บุญยืน สุขใหม่
18 .. 52
ประชาไท

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง มี ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการจัดงาน

หลังจากที่มีการรวบรวมความคิดเห็นประเด็นข้อเรียกร้องและแนวทางตามที่ต้องการ เพื่อให้กรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎรได้รับและนำไปสู่การแก้ไข ผู้แทนทั้งสามฝ่ายได้ออกมานำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไขที่แต่ละฝ่ายต้องการให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยฝ่าย ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก นำเสนอโดยนายบุญยืน สุขใหม่ (อดีตเลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก) ผู้แทนชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก นำเสนอโดยนายอภิชาต ปริยานนนท์ ประธานชมรมผู้บริหารแรงงานสัมพันธ์ภาคตะวันออก และผู้แทนจากภาครัฐในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี นำเสนอโดย นางวรรณพร ชูอำนาจ หัวหน้าแรงงานจังหวัดระยองและนายรังสรรค์ อิ่มสมโภชน์ รักษาการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง

สาระสำคัญที่ทั้งฝ่ายจากชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออกและแนวคิดจากหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบต่อผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออก ต่างต้องการให้ปัญหาของผู้ใช้แรงงานได้รับการแก้ไข แต่อาจจะด้วยอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกันจึงทำให้แต่ละฝ่ายมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน และผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาค่าแรง ในพื้นที่ภาคตะวันออกมีแรงงานในระบบไม่น้อยกว่า 500,000 คน และต่างก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีสถานประกอบการปิดไปแล้วประมาณ 190 แห่ง และมีพนักงานถูกเลิกจ้างไปกว่า 45,000 คน ส่วนในจังหวัดระยองมีสถานประกอบการปิดไปแล้วกว่า 60 แห่ง และมีลูกจ้างถูกเลิกจ้างกว่า 15,000 คน

.

ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก

ต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

ประเด็นร้องเรียนจากกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

แนวทางของชมรมบริหารงานบุคคลฯ ที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

· กรณีที่นายจ้างชาวต่างชาติละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำร้ายร่างกายพนักงาน ให้ส่งนายจ้างคนดังกล่าวกลับประเทศและห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก

· ปัญหาการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานคือ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) “มาตรา ๑๑/๑” โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

1. รัฐควรจัดทำมาตรฐานการวินิจฉัย เพื่อเป็นแม่แบบของการปฏิบัติ และประยุคใช้ได้กับทุกลักษณะธุรกิจ เช่น

1.1 ขอบเขต เจตนารมณ์และการใช้มาตรา ๗๕ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑

ความหมายของคำว่าเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ตามมาตรา ๑๑/๑ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑

· กรณีที่นายจ้างชาวต่างชาติละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำร้ายร่างกายพนักงาน ให้ส่งนายจ้างคนดังกล่าวกลับประเทศและห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก

· ประเด็นนายจ้างข่มขู่ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงเขียนใบลาออก

· ปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ

· ประเด็นการกลั่นแกล้งแกนนำสหภาพแรงงานโดยจ่ายค่าจ้างตาปกติแต่ไม่ให้แกนนำสหภาพแรงงานเข้าไปในสถานประกอบการ

· ประเด็นการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานหรือผู้มีรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องและถูกเลิกจ้าง

2. ทุกฝ่าย(ผู้นำสหภาพแรงงาน, ผู้แทนสถานประกอบการ, เจ้าหน้าที่ของรัฐ) ต้องมีการดำเนินกิจกรรม และควบคุมกิจกรรมให้อยู่ในกรอบของกฎหมายเพื่อป้องกันความผิดพลาดและความเข้าใจผิด

2.1 การละเมิดอันเป็นความผิดทางอาญา

2.2 ความล้มเหลวของระบบแรงงานสัมพันธ์(ไม่เดินตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ๒๕๑๘ อย่างครบครันและมีเหตุผล)

2.3 ฝ่าฝืนมาตรฐานที่ควรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จากผลพวง 2.1,2.2,2.3 จึงเกิดข้อเท็จจริงดังนี้

ก. มีการประท้วงโดยผิดกกหมายและไม่ผ่านขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์อย่างครบถ้วนเสียก่อน

ข.มีการปิดกั้นกีดขวางและก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ

ค.ขาดเหตุผลและการไม่หันหน้าเข้าหากัน จนเกิดการกระทำหรือความคิดที่ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และหันมาใช้วิชามารมากกว่าวิชาการและใช้ความรุนแรงมากกว่าแรงงานสัมพันธ์ในการบีบบังคับซึ่งกันและกัน

· ประเด็นนายจ้างหักเงินประกันสังคมแล้วไม่นำจ่ายสำนักงานประกันสังคม

· ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างให้ถึงที่สุดกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการละเมิดกฎหมายแรงงานโดยเจตนาในกรณีเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้าง

3. เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างกฎ กติกา มารยาทที่มีอยู่เดิม โดย

3.1 ปฏิบัติตามกฎกติกา มารยาท ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์โดยเคร่งครัด

3.2 ปฏิบัติให้เกิดความเป็นธรรมและสนับสนุนข้อเสนอต่อกันและกัน ด้วยเหตุผลตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างตรงไปตรงมา

3.3 หากมีการละเมิดกฎหมาย ทุกฝ่ายควรใช้กระบวนการยุติธรรมแทนการใช้วิธีการอื่นที่ส่งผลเสียต่อการค้าการลงทุนและภาครัฐของประเทศ

3.4 ทุกฝ่ายต้องยอมรับให้มีการสร้างบรรทัดฐานในการรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดพลาด ทั้งที่เป็นผู้กระทำเองหรือร่วมหรือสนับสนุนโดย

ก. ฝ่ายที่เสียหายมีสิทธิ์ร้องต่อศาลให้ยกเลิกองค์กรหรือผู้นำ หรือที่ปรึกษา ที่ทำผิดกฎหมายได้

ข. การวินิจฉัยชี้ขาดของหน่วยงานที่ปรึกษากลางต้องแยกประเด็นข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก่อนทำการวินิจฉัยเพื่อป้องกันความเคลือบแคลงสับสน แก้ปัญหาไม่ถูกจุดและสร้างผลกระทบอย่างมหาศาล

· เมื่อมีการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นโดยอ้างว่าบริษัทประสบภาวะวิกฤติ ในกรณีที่นายจ้างต้องมีการเลิกจ้างจริงให้นายจ้างทำเป็นหนังสือขออนุญาตไปยังคณะกรรมการของแต่ละพื้นที่พิจารณาเป็นคราวๆ ไปโดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการพหุภาคีขึ้นมาตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ โดยมีตัวแทนจาก รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการ เข้ามาตรวจ สอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามที่บริษัทฯ กล่าวอ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และถ้านายจ้างประสบปัญหาจริงรัฐต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ

· สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ๕๐% ทุกกรณีโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นเวลาหนึ่งปี

· กรณีอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนและห้ามเลิกจ้างลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงาน

4. ในภาวะวิกฤติรัฐควรส่งเสริมให้นายจ้างสามารถจ้างลูกจ้างให้อยู่ต่อไปได้โดย

4.1 เพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจมาตรการทางภาษี และค่าลดหย่อน

4.2 ช่วยเหลือพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นการแบ่งเบาภาระทางธุรกิจ

4.3 เพิ่มหักค่าลดหย่อนสำหรับแรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้แรงงานสามารถอยู่ได้ภายใต้กำลังการจ่าย ของธุรกิจที่ลดลง

4.4 เพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรภายใต้ภาวะวิกฤติก่อนแรงงานที่จบการศึกษาใหม่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และควรส่งเริมดังนี้

ก. ยืดระยะเวลาการจบการศึกษาโดยให้งบประมาณสร้าง Know how ที่ต่อยอดจาก Knowledge ของแต่ละสายวิชาชีพ

ข. ภาคการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถกำหนดจุดยืนและสร้างจุดขาย และวางแผนเป้าหมายความสำฤทธิ์ผลทางการศึกษาของตนเองได้ มิได้จบเพราะหลัดสูตร แต่จบเพราะความพร้อมจะเดินตามทิศทางของแผนและเป้าหมายชีวิต

ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของภาครัฐ

ต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

ประเด็นร้องเรียนจากกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

แนวทางของรัฐที่เกี่ยวข้อง ที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

1. การบังคับใช้มาตรา ๗๕ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับที่ ๒ ให้กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับใช้ให้ชัดเจน

Ø ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของนายจ้างมีเพียงพอหรือไม่ โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

2. ปัญหาการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานคือ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) “มาตรา ๑๑/๑” โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

Ø ปรับปรุงมาตรา ๑๑/๑ ให้มีความชัดเจนในการตีความข้อกฎหมาย

Ø กำหนดแนวทางการพิจารณาการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

3. กรณีที่นายจ้างชาวต่างชาติละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำร้ายร่างกายพนักงาน ให้ส่งนายจ้างคนดังกล่าวกลับประเทศและห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก

Ø ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงต่างประเทศ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท้องที่

4. ประเด็นนายจ้างข่มขู่ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงเขียนใบลาออก

Ø ตามแนวทางข้อที่ ๑ ให้ตกลงตามแนวทางแรงงานสัมพันธ์

5. ปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ

Ø ตามแนวทางข้อที่ ๑ ให้ตกลงตามแนวทางแรงงานสัมพันธ์

6. ประเด็นการกลั่นแกล้งแกนนำสหภาพแรงงานโดยจ่ายค่าจ้างตาปกติแต่ไม่ให้แกนนำสหภาพแรงงานเข้าไปในสถานประกอบการประเด็นการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานหรือผู้มีรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องและถูกเลิกจ้าง

Ø ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ๒๕๑๘

7. ประเด็นนายจ้างหักเงินประกันสังคมแล้วไม่นำจ่ายสำนักงานประกันสังคม

Ø แจ้งเตือนนายจ้างและดำเนินการตามกฎหมาย

8. ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างให้ถึงที่สุดกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการละเมิดกฎหมายแรงงานโดยเจตนาในกรณีเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้าง

Ø ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ๒๕๑๘

9. เมื่อมีการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นโดยอ้างว่าบริษัทประสบภาวะวิกฤติ ในกรณีที่นายจ้างต้องมีการเลิกจ้างจริงให้นายจ้างทำเป็นหนังสือขออนุญาตไปยังคณะกรรมการของแต่ละพื้นที่พิจารณาเป็นคราวๆ ไปโดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการพหุภาคีขึ้นมาตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ โดยมีตัวแทนจาก รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการ เข้ามาตรวจ สอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามที่บริษัทฯ กล่าวอ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และถ้านายจ้างประสบปัญหาจริงรัฐต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ

Ø ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน

Ø บุคลากรขาดแคลน

Ø ยังไม่ถึงเวลา

10. สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ๕๐% ทุกกรณีโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นเวลาหนึ่งปี

Ø ประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจในเจตนารมณ์ของกฎหมายและความอยู่รอดของชาติ

11. กรณีอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนและห้ามเลิกจ้างลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงาน

Ø แก้ไขกฎหมาย

ก่อนการกล่าวปิดการสัมมนา ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับปากกับทุกฝ่ายที่จะนำปัญหาต่างๆ ที่ทุกฝ่ายนำเสนอเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณานำไปสู่การแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นได้มีผู้แทนจากสหภาพแรงงานต่างๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรมเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนของผู้ใช้รงงานที่เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนดังต่อไปนี้

1. กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานภาคตะวันออกทั้ง 12 ประเด็น ที่ได้นำเสนอเป็นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา

2. สหภาพแรงงาน โยโรซึ ประเทศไทย ยื่นเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณีนายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงาน 5 คน โดยจ่ายค่าจ้างปกติแต่ไม่ให้กรรมการสหภาพแรงงานเข้าภายในสถานประกอบการ

3. สหภาพแรงงานเอสไอจี ยื่นเรื่องร้องเรียน กรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม

4. ผู้แทนลูกจ้างจากบริษัทแคนาดอลไพพ์ จำกัด ร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณีนายจ้างเลิกจ้างพนักงานผู้มีรายชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องจำนวน 87 คน

5. ผู้แทนลูกจ้างจากบริษัทมิเชลิน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากนายจ้างประกาศลดเงินเดือนพนักงานโดยที่พนักงานไม่ยินยอม และกรณีนายจ้างละเมิดอนุสัญญา ไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และ 98 เรื่องการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและการเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพนักงานยื่นข้อเรียกร้องแต่ได้ถูกฝ่ายบริหารกลั่นแกล้งผู้เข้ารายชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยวิธีการต่างๆ อย่างไม่เป็นธรรม

6. ประธานสหภาพแรงงานอาหารสยามได้ยื่นเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรมเรื่องนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ

หลังจากที่ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดและได้รับรองว่าจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามแก้ไขปัญหาโดยด่วน เพื่อที่ปัญหาของผู้ใช้แรงงานจะได้รับการแก้ไขอย่างทันเวลา หลังจากนั้น ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวปิดการสัมมนา