ศาลรับฟ้อง- ครส.เตรียมชี้กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมลูกจ้างบริษัทรอยัล ปอร์ซเลน06 .. 57 http://voicelabour.org ลูกจ้างบริษัทรอยัลปอร์ซเลน แบ่งฟ้องศาล ร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กรณีนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอรับค่าเสียหายเพิ่ม พร้อมบางส่วนขอกลับเข้าทำงาน กรรมการห่วงสหกรณ์หลังสมาชิกถูกเลิกจ้างหาทางผ่อนผันหนี้ วันที่ 5 มีนาคม 2557 นายวรพัทธ์ เกตุสุวรรณ์ เหรัญญิกสหภาพแรงงานรอยัลปอร์ซเลน (RPC.)กล่าวว่า กรณีการเลิกจ้างคนงานของบริษัทรอยัลปอร์ซ์เลน จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 และครั้งที่ 2 วันที่ 27 มกราคม 2557กว่า 600 คนนั้น ขณะนี้ส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งสหภาพแรงงาน และสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรอยัลปอร์ซเลนด้วย ซึ่งทางสหกรณ์ออมทรัพย์ได้มีการพูดคุยกับสมาชิกที่ออกไปแล้วถึงการจ่ายคืนเงินต่อสหกรณ์ฯ และความเป็นสมาชิก ตอนนี้ก็ห่วงเรื่องความมั่นคงของสหกรณ์ฯ แต่เมื่อคุยกันส่วนที่กู้ก็จะผ่อนคืนเหนี้ให้สหกรณ์ แต่ขอลดหย่อนลงบ้างเพราะยังไม่มีงานทำ ซึ่งถือเป็นผลพวงที่กระทบหนักต่อสหกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการเลิกจ้างครั้งใหญ่นี้ หลังจากเลิกจ้างแล้วก็มีการรับบางส่วนกลับเข้าทำงานด้วยซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะต้องไม่มีการฟ้องร้องหรือมีประเด็นกับบริษัท โดยใช้การจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ค่าจ้างวันละ 300 บาท หากมาทำงานทุกวันไม่ลาก็จะได้เพิ่มอีก 5 บาท นางธนัญภรณ์ สมบรม เลขาธิการสหภาพแรงงานฯ กล่าวว่าขณะนี้ข้างในก็มีความระส่ำระสายอยู่ คนงานก็กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำงาน เพราะเหตุการณ์เลิกจ้าง ซึ่งขณะนี้ทางสหภาพแรงงานได้มีการประชุมกับสมาชิกที่ถูกเลิกจ้างเพื่อการดำเนินการทางกฎหมายแล้ว โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียงพาฟ้องศาลแรงงานภาค1 จังหวัดลพบุรี จำนวน 64 คน กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดย 1.ให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานสัญญาจ้าง สวัสดิการ เป็นพนักงานประจำเหมือนเดิม หรือ 2. ให้จ่ายค่าเสียหายปีละ 1 เดือน ซึ่งคนที่ฟ้องมีอายุงานสูงสุด 29 ปีอายุ งานต่ำสุด 3 ปี ศาลได้ไตรสวนแล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 ข้อเสนอดังกล่าวนายจ้างได้รับกลับไปพิจารณาแล้วครั้งต่อไปจะกลับมาให้คำตอบ กลุ่มที่ 2 ประมาณ 200 กว่าคนที่สหภาพแรงงานฯพาไปร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 1. ขอกลับเข้าทำงานพร้อมค่าเสียงหายเป็นค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่มีคำสั่งเลิกจ้าง 2. เลิกจ้างเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่ม และอีกกลุ่มที่ 3 ได้แยกออกไปเพื่อดำเนินการเอง ส่วนที่ร้องครส.นั้นคาดว่า จะมีการพิจารณาภายในกลางเดือนนี้ ส่วนที่ฟ้องศาลแรงงาน ศาลก็ประทับรับฟ้องแล้วด้วยเช่นกัน การเลิกจ้างครั้งนี้นายจ้างอ้างปัญหาการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทำให้นายจ้างแบกภาระที่สูงขึ้นไหว จึงต้องเลิกจ้าง การจ้างคนใหม่เข้ามาทำงานโดยใช้การจ้างงานแบบสัญญาจ้างรายปี เพื่อลดต้นทุน เพราะเป็นการจ้างงานค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจริงแล้วคนงานเองก็รู้สึกเสียใจที่นายจ้างคิดแบบนี้ เพราะทำงานมานานค่าจ้างจริงแล้วก็ปรับขึ้นตามการประเมินเป็นระดับขั้นบันได A,B,C,ของหัวหน้างาน เช่นคนทำงานมา 5 ปี ถ้าสูงสุดแค่ 350 บาทต่อวันเท่านั้น นางธนัญภรณ์ กล่าว นักสื่อสารแรงงาน รายงาน |