Thai / English

แรงงานพม่าในไทย หวั่นถูกรีด หลังเผชิญปัญหาต่อวีซ่า



05 .. 57
http://voicelabour.org

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติหวั่น “แรงงานข้ามชาติพม่าในประเทศไทยเผชิญปัญหาการต่อวีซาเเละการออกหนังสือเดินทางและการรีดไถ” หลังเกิดสูญญากาศการเมืองไทย พร้อมเสนอ 5 ข้อ ให้รัฐบาลพม่า- ไทยให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนต่อแรงงาน เพื่อปกป้องความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติพม่าในไทย

22 กุมภาพันธ์ 2557เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ได้ออกแถลงการณ์ แรงงานข้ามชาติพม่าในประเทศไทยเผชิญปัญหาการต่อวีซ่า เเละการออกหนังสือเดินทางและการรีดไถ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ขณะนี้ประเทศไทยมี แรงงานข้ามชาติจากเมียนมาร์ 2.5-3 ล้าน คน ตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2552 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้เข้าสู่ กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ อันเป็นกระบวนการต่อเนื่องระหว่างการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ไทย/ พม่าเจ้า ตามอดคล้องกับ 2003 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน พ.ศ. 2546 เมื่อผ่านการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานจะได้รับสถานะแรงงาน ถูกกฎหมายและได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวพม่าตามกฎหมาย ซึ่งมีอายุ 6 ปี พร้อมวีซ่าไทย2 ปี และใบอนุญาตทำงาน ในประเทศไทย บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน พ.ศ. 2546กำหนดให้ให้วีซ่า 2 ปี และต่ออายุขยายเวลา อีก2 ปี จากนั้นแรงงานต้องกลับประเทศต้นทางเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะขอเข้ามาใหม่ ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 มีแรงงานกว่า 1.7 ล้าน คนที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ

ข้อจำกัดการทำงานในประเทศไทย 4 ปีที่กำหนดโดย MOU 2003 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นที่ปรากฏแล้วว่าทำไม่ได้จริงสำหรับแรงงานพม่าและนายจ้าง เป็นผลให้เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เจ้าหน้าที่ระดับกลางจากทั้งสองประเทศตกลงหาวิธีที่จะช่วยให้แรงงานให้สามารถพำพักในประเทศไทยเกินกว่า 4 ปีที่ ข้อตกลงในการขยายการอนุญาตพำนักนี้ไม่ได้ดำเนินการด้วยความโปร่งใสในทันท่วงทีและกระบวนการที่เกี่ยวข้องสำหรับแรงงานข้ามชาติพม่าที่เหลืออยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 4 ปีที่ยังคงคลุมเครือ เเละไม่ทันสถานการณ์

นอกจากนั้นรัฐบาลเมียนมาร์เพิ่งประกาศนโยบายให้เปลี่ยนหนังสือเดินทางชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติพม่าในประเทศไทยจากหนังสือเดินทางชั่วคราวที่ได้รับหลังพิสูจน์สัญชาติเป็นหนังสือเดินทางถาวร การตัดสินใจครั้งนี้เป็นที่มาของความกังวลสำหรับแรงงาน อย่างมาก เนื่องจากมีรายงานว่า การทำหนังสือเดินทางถาวรต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนครอบครัวและบัตรประจำตัว ประชาชน ซึ่งแรงงานข้ามชาติพม่าหลายคน โดยเฉพาะผู้มาจากพื้นที่ชนบทไม่เคยมีเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้แรงงานหลายคนมีชื่อ ในหนังสือเดินทางชั่วคราวและเอกสารทางการแตกต่างกัน แรงงานที่มีหนังสือเดินทาง ชั่วคราวได้รับสวัสดิการประกันสังคม และประกันชีวิต สามารถมียานพาหนะของตัวเอง และมีบัญชีธนาคาร ทว่าสิทธิประโยชน์ทั้งหมดเหล่านี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แรงงานพม่ากว่า 1.7 ล้าน คนผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติซึ่งใช้เวลานานและมีคาสใช้จ่ายสูง จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากแรงงาน ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่ออกหนังสือเดินทางถาวร ในเมื่อแรงงานควรสามารถใช้หนังสือเดินทาง ที่มีอยู่เป็นหลักฐานประจำตัว การตัดสินใจของประเทศเมียนมาร์ที่จะให้แรงงานอพยพ ในประเทศไทยถือหนังสือเดินทาง ถาวรจึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้ไตร่ตรองอย่าถี่ถ้วน

ขณะนี้กระบวนการเพื่อให้แรงงานอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 4 ปี และขยายหรือต่ออายุหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือถาวรยังคงไม่มีความชัดเจน เหมือนที่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเป็นมาในอดีต คือขาดความโปร่งใส เกิดสูญญากาศด้าน นโยบายและขาดความชัดเจนด้านกระบวนการ เกิดความสับสนทำให้นายจ้างและลูกจ้างต้องพึ่งพานายหน้าทั้งไทยและพม่า หรือนายหน้าแรงงานสำหรับข้อมูลและเพื่อแนะนำขั้นตอนที่ซับซ้อน

แรงงานพม่ากว่า1.7 ล้าน คน ถูกตัวแทน นายหน้า นายจ้างและเจ้าหน้าที่โกง ใช้จ่ายอย่างเป็นทางการของกระบวนการ พิสูจน์สัญชาติและเอกสารครั้งที่เเล้วอยู่ที่ 1, 050 บาท แต่แรงงานต้องจ่ายเงินสูงกว่า 5 ถึง 10 เท่าของค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ กว่าจะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้แรงงานกลัวและเริ่มโกรธที่อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ตนถูกแสวง ประโยชน์รูปแบบเดียวกันอีกครั้ง เมื่อการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 4 ปีหมดอายุ

ความสับสนวุ่นวายด้านนโยบายและการขาดความโปร่งใสทำให้แรงงานพม่ามากกว่า 100, 000 คนในประเทศไทยกลายเป็น แรงงานเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมาย หลังใบอนุญาตพำนัก 4 ปีหมดอายุ แรงงานเหล่านี้ไม่สามารถขยายวีซ่าและอาจมีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมรายวัน 500 บาท เป็นค่าปรับการอยู่เกินกำหนด ทั้งยังมีความเสี่ยงและสภาพการแสวงหาผลประโยชน์ และกรรโชกเพิ่มขึ้น แรงงานเสี่ยงต่อการถูกไล่ออกและโกงโดยตัวแทนและนายจ้าง ผ่านการเสนอบริการจัดทำเอกสารปลอม หรือบริการที่มีราคาแพง สถานการณ์น่าเป็นห่วงมากขึ้น หากแรงงานดังกล่าวจะถูกจับกุมและถูกกรรโชกทรัพย์โดยเจ้าหน้าบังคับ ใช้กฎหมายหรือถูกบังคับให้ซื้อบัตรเพื่อรับความคุ้มครองนอกกฎหมายในบางจังหวัด

ในช่วงเวลาแห่งวิกฤตนโยบายการอพยพย้ายถิ่นของไทย กระทรวงแรงงานยังประกาศที่จะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้หัก เงิน 1, 000 บาทจากค่าจ้างแรงงานข้ามชาติตั้งเเต่ วันที่ 1 มีนาคม 2014 เพื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งกลับในกรณีที่ แรงงานพำนักเกินกำหนดเวลาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมทั้งการส่งกลับประเทศต้นทาง นโยบายนี้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อ แรงงานจากพม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนแรงงานประเทศอื่นๆ ไม่ถูกบังคับให้จ่ายค่าเงินสมทบนี้

เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยแรงงานข้ามชาติพม่าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2552 ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนต่อแรงงานและขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและพม่าพิจารณาข้อเสนอ แนะเร่ง ด่วนต่อไปนี้ เพื่อปกป้องความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

1. ให้แรงงานข้ามชาติพม่าต่ออายุ หรือขยายหนังสือเดินทางชั่วคราวที่ได้รับจากการพิสูจน์สัญชาติ และไม่ต้อง บังคับให้ แรงงานทำหนังสือเดินทางเมียนมาร์ถาวรฉบับใหม่

2. กระบวนการขยายการอนุญาตให้พำนักเกินกำหนด 4 ปี การต่ออายุ หรือ ขยายอายุหนังสือเดินทาง ต้องเป็นไปด้วย ความโปร่งใสเเละให้เเรงงานเเละนายจ้างเข้าถึงได้โดยตรง เพื่อให้เเรงงานเเละนายจ้าง สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้ นายหน้าภาคบังคับ หรือตัวแทน ซึ่งทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูง เเละดำเนิน ไปโดยปราศจากการตรวจสอบควบคุม

3. ศูนย์การประมวลผลการต่อวีซ่า การขยายหรือทำหนังสือเดินทางใหม่ ควรเปิดในพื้นที่ที่มีแรงงานข้ามชาติ หนาแน่น มิใช่ เปิดที่ชายแดนซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง

4. แรงงานที่หนังสือเดินทางหมดอายุไม่ควรถูกปรับเพราะอยู่เกินกำหนด เนื่่องจากผลของการสูญญากาศนโยบาย คนเข้า เมืองปัจจุบัน

5. ควรยกเลิกนโยบายการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนส่งกลับจำนวน 1,000 บาท

* เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ก่อตั้งเมื่อง 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยแรงงานข้ามชาติพม่าในประเทศไทย ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3, 000 คนเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติมีจุดมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริมสิทธิเเรงงาน คุ้มครองสวัสดิภาพของแรงงานพม่าในสหภาพเมียนมาร์และประเทศไทย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน