http://voice
20ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ฟื้นอดีตแรกตั้งพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์แรงงานมักกะสัน จัดเวทีสาธารณะร่วมไทยพีบีเอส นักวิชาการชี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แรงงาน เพื่อให้สังคมได้เห็นคุณค่าการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน ผู้ร่วมเวทีแนะเห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยในฐานะสถานที่ที่มีคุณค่าและควรค่าต่อการดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีด้วยการสนับสนุนของขบวนการแรงงาน
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2556 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดงานครบรอบ 20 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อระลึกและอุทิศส่วนกุศลแด่อดีตผู้นำแรงงานผู้วายชนและเวทีสาธารณะ 20 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยร่วมวงเสวนาฟื้นอดีตแรกตั้งพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์แรงงานมักกะสัน ที่โรงงานมักกะสัน กรุงเทพ
นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้กล่าวว่า การจัดงานครบรอบ 20 ปีแห่งศักดิ์ศรีของแรงงาน พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นได้ทำการจัดงานเพื่อรำลึกถึงปูชนียบุคคลและผู้นำแรงงานที่เสียชีวิตไปแล้วในอดีตที่มีคุณูปการต่อขบวนการแรงงานขึ้นทุกปีในวันและเดือนก่อตั้ง แต่ปีนี้มีวาระพิเศษในการครบรอบ 20 ปีพิพิธภัณฑ์ฯนอกจากที่มีการทำบุญเลี้ยงพระ และจัดเวทีสาธารณะ 20 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานแรงงานไทย ฟื้นอดีตแรกตั้งและพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ของแรงงานมักกะสัน ว่าที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ทำหน้าที่นั้นอย่างราบรื่นหรือมีอุปสรรคเพียงใด ร่วมพลิกฟื้นคุณค่า ศักดิ์ศรี และความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน หรือกรรมกรในอดีตจนทุกวันนี้ที่สร้างความเจริญในประเทศ รวมถึงคุณูปการของขบวนการแรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ทั้งด้านสิทธิสวัสดิการกฎหมายแรงงานต่างๆ
นายมาร์ค สักเสอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้มีบทบาทในการให้ความรู้ต่อผู้ใช้แรงงาน และสังคม และรวบรวมบทบาทที่สำคัญของผู้นำแรงงานในอดีต เพื่อบอกให้รู้ถึงความมีคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน แต่สังคมยังไม่คอยให้ความสำคัญต่อความมีคุณค่าของของพิพิธภัณฑ์ฯพอสมควร ผู้นำแรงงานก็มีบทบาทในการต่อสู้เรื่องสิทธิแรงงานทำให้เกิดสวัสดิการต่างๆขึ้นมากหมายให้กับสังคม ผู้ใช้แรงงาน
ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เป็นการเข้ามาเยี่ยมดูพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นครั้งแรก และรู้สึกประทับใจการบอกเล่าถึงความมีคุณค่าของผู้ใช้แรงงานตั้งแต่มีระบบไพร่ ทาส แรงงานจีน และขบวนการต่อสู้จนเกิดสิทธิ สวัสดิการต่างๆ บทบาทตนเองได้เข้ามาทำงานวิจัยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และได้เห็นการกำหนดเพื่อเกิดสิทธิแรงงาน สิทธิการรวมตัวหลังมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ช่วงนั้นผู้ใช้แรงงานมีรวมตัวกันต่อสู้เรื่องสิทธิสวัสดิการ เรื่องค่าจ้าง ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่หนักหน่วงของขบวนการแรงงาน การจัดตั้งสหภาพแรงงานก็มีความล้มลุกคุกคลานมากว่าจะได้สหภาพแรงงานแต่ละแห่ง การรวมกันต่อสู้ในนามสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งเดียวและแตกกันออกมาเรื่อยๆหลายแห่งก็คิกว่าขบวนการแรงงานอ่อนแอลงมากจากเดิม แต่ก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการ และสร้างให้เกิดกฎหมายด้านสวัสดิการแรงงาน
พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2540 และรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ได้ให้สิทธิกับผู้ใช้แรงงานเรื่องความคุ้มครองแรงงาน และช่วงปี 2541ก็มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ขณะที่ปัจจุบันยังมีเรื่องของการใช้แรงงานข้ามชาติในประเทศ ซึ่งยังถูกละเมิดสิทธิและไม่ได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกันกับแรงงานไทย ซึ่งคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทยเป็นอีกหนึ่งขบวนการแรงงานที่พยายามที่จะปกป้องคุ้มครองแรงงานทุกกลุ่ม เช่นกรณีที่มีการเรียกร้องที่ผ่านมาเรื่องของให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง ที่รัฐจะมีการเปิดประชาคมอาเซียนเกิดการค้าเสรี ซึ่งส่งผลต่อการจ้างแรงงาน การเคลื่อนย้ายของทุน และแรงงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิแรงงาน หากแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศ ซึ่งตรงนี้ก็รู้สึกดีใจที่ผู้นำแรงงานในขบวนการแรงงานไม่รังเกลียดที่จะเรียกร้องคุ้มครองแรงงานเหล่านั้น
คุณเพียร์ บุงการ์เด็นท์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นความก้าวหน้าของขบวนการแรงงานจากอดีตถึงปัจจุบัน สมัยที่มาทำงานในประเทศไทย ก็จะมาที่พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้บ่อยมาก และมาร่วมรำลึกถึงผู้นำแรงงานทุกปี ในปีนี้ดีใจที่ได้มาร่วมงานครบรอบ 20 ปี พิพิธภัณฑ์ฯแห่งคุณค่า และศักดิ์ศรีของแรงงาน รวมทั้งได้พาลูกขายมาเพื่อเรียนรู้ความมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วย เพื่อให้รู้ถึงการต่อสู้ของขบวนการแรงงานในประเทศไทย
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า วันนี้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ครบรอบ 20 ปีเป็นการยืนหยัดเพื่อบอกสังคมถึงการต่อสูงของแรงงานตั้งแต่อดีต เพื่อให้แรงงานปัจจุบันได้เข้าใจและรับรู้ การจัดงานรำลักถึงผู้นำแรงงานที่ได้มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงาน และสังคมอย่างเข้มแข็งตั้งแต่อดีต ขบวนการแรงงานได้ลุกขึ้นสู้กับเผด็จการ และรัฐอย่างกล้าหาญ ซึ่งก็มีทั้งสูญหายและเสียชีวิต ถูกจับกุมคุมขัง และขบวนการแบ่งแยกเพื่อปกครองของรัฐทำให้เกิดความอ่อนแอของขบวนการแรงงาน วันนี้พิพิธภัณฑ์แรงงานได้ทำหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมานพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า เสียดายที่คุณสมศักดิ์ โกสัยสุข มาไม่ได้ในวันนี้ เพราะว่าเป็นผู้นำแรงงานรถไฟอีกคนหนึ่งที่เป็นหลักในการต่อสู้ และร่วมคิด และสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมาอาคารแห่งนี้มีประวัติศาสตร์และได้มาโดยสหภาพแรงงานในยุคนั้น ขอเพื่อใช้ทำพิพิธภัณฑ์ฯ วันนี้ได้ดำรงอยู่มาครบ 20 ปี เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์ของผู้ใช้แรงงาน พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้เกิดจากขบวนการแรงงานโดยแท้ และได้ทำหน้าที่บอกเล่า ให้การศึกษาอบรมสร้างความรู้ และจิตรสำนึก มีงานวัฒนธรรม เป็นการทำหน้าที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วกว่าร้อยละ 80 หากถามว่าขบวนการแรงงานที่ได้สร้างและใช้พิพิธภัณฑ์ฯมานั้นคำนึงถึงความอยู่รอดของสถานที่แห่งนี้อย่างไร วันนี้ทุนได้ลุกคืบเข้ามาเพื่อใช้พื้นที่ของมักกะสันในการหาประโยชน์ความคุ้มทุน ความไม่แน่นอนของพื้นที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟจะคงให้ความสำคัญกับพื้นที่แห่งนี้ และเชื่อมั่นว่าจะต้องมีพิพิธภัณฑ์ฯอยู่ เพราะที่นี่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของขบวนการแรงงาน และสามารถตั้งอยู่คู่กับศูนย์การค้าคอมเพล็กซ์ได้อย่างสง่า แต่อยู่รอดของพิพิธภัณฑ์ฯไม่ใช่แค่อาคาร มันยังต้องอาศัยขบวนการแรงงาน จะอยู่ได้ขบวนการแรงงานต้องเข้ามาดูแลและสืบสารรักษาให้ความมีคุณค่านี้ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ฯด้วย
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานได้ทำหน้าที่ให้กับผู้ใช้แรงงานมาแล้ว 20 ปี ด้วยภาระหนัก การจัดงานรำลึกถึงผู้นำรุนเก่าที่มีบทบาทต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงานไม่ได้ขาด และสร้างการเรียนรู้ให้สังคมเข้าใจคุณค่าของการใช้แรงงานอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้นำรุนเก่าที่มีการร่วมคิดร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยแห่งนี้ ได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ที่ทำให้ขบวนการแรงงานได้มีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ยืนและบอกเล่าประวัติศาสตร์ต่อไป
ทั้งนี้ได้มีการวางดอกไม้ และทำบุญเพื่อระลึกถึงคุณูปการของผู้นำแรงงานที่วายชนม์ร่วมกัน จากนั้นได้มีการย้ายไปที่โรงงานมักกะสันเพื่อจัดเวทีสาธารณะ 20ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวถึงอาคารของโรงงานมักกะสันที่เราเห็นนั้นมีความทรุดโทรมเนื่องจากไม่ได้รับความใส่ใจของรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย และวันนี้ยังมีคนทำงานอยู่หลายร้อยคน ภาพของประวัติศาสตร์ที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่คลุกลุ่นอยู่ตลอดเวลา การทำงานของกลุ่มแรกคือกรรมกรจีนที่เข้ามาทำงานสร้างทางรถไฟ และแทนที่ด้วยกรรมกรไทยในปัจจุบัน การขูดรีดต่างไม่แตกต่างกันจากปัจจุบันตอนนั้นเป็นกรมรถไฟ และเป็นการรถไฟในปี 2494ที่นี้เป็นที่เกิดของการเรียกร้องสวัสดิการ สวัสดิภาพต่างๆให้กับผู้ใช้แรงงานในรับวิสาหกิจรถไฟ แม้กระทั้งพี่น้องผู้ใช้แรงงานเอกชน ที่ตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏมักกะสันที่ต่อสู้ในยุคของเผด็จการเรืองอำนาจ ที่นี่ตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเดิมเป็นที่ตั้งของสมาคมลูกจ้างการรถไฟ และเป็นสมาชิกของสหอาชีวะกรรมกรประมาณปีพ.ศ. 2485 หรือ 2486 ซึ่งมีร่องรอยของขวานจามที่ประตูเป็นผลจากการใช้อำนาจเผด็จการในยุค 6 ตุลาในการคุกคามสหภาพแรงงานลูกจ้างการรถไฟ ซึ่งก็มีหลักฐานอยู่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ
กว่าจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงานไทยทั้งหมดอาจใช้เวลาหลายสิบปี แต่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ทำหน้าที่ในการย่นระยะเวลาให้สั้นลงในการให้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์แรงงานในประเทศไทย และทำให้การศึกษาเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ได้รู้ว่าอดีตขบวนการแรงงานต่อสู้กันมาอย่างไร และปัจจุบันพิสูจน์ได้ว่าการต่อสู้ของขบวนการแรงงานว่าก้าวหน้า หรือล้าหลัง พิพิธภัณฑ์แรงงานจึงทำหน้าที่ย่นระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ถึงความสำเร็จที่ผ่านมา และความล้มเหลวที่ผ่านมาทำให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่รู้เท่าทันอดีตที่ผ่านมา
ยุคเผด็จการที่คอยทำลายขบวนการรวมตัวของขบวนการกรรมกร ความเจ็บปวดที่นายทุนขูดรีดแรงงาน ประวัติสาสตร์ที่คนรุ่นหลังต้องศึกษา วันนี้พิพิธภัณฑ์ฯได้ทำงานหนักเพื่อนำส่งความรู้ให้กับผู้ใช้แรงงานคิดว่าเกือบสมบูรณ์ที่เดียว หากไม่ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดทั้งรายได้ และสถานที่ตั้ง หากขบวนการแรงงานซึ่งเป็นผู้สร้างพิพิธภัณฑ์ฯมาแล้วไม่ได้ใส่ใจดูแล มีส่วนในการใช้ประโยชน์ เพียงอย่างเดียวโดยไม่รักษานั้นพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้คงอยู่ในเราชื่นชมไม่ได้นาน คงสูญสลายแน่ ฉะนั้นขบวนการแรงงานต้องช่วยกันเพื่อให้พิพิธภัณฑ์ฯทำหน้าที่สมบูรณ์แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ยืนหยัดอยู่มาถึง 20 ปี โดยการทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานด้านสิทธิ และสวัสดิการมายาวนาน การอยู่ได้ของผู้ใช้แรงงานนั้นคือการรอโอกาสที่ให้ข้างบนหยิบยื่นมาให้ แต่หากต้องการความเป็นธรรมก็ต้องมีการเจรจาต่อรอง การที่ต้องเจรจาต่อรองกันก็ทำด้วยความกลัว เพราะถูกสั่งสอนมาว่าตัวเองนั้นด้อยกว่านายจ้าง เป็นคนที่ไม่ใช่ตัวหลักของสังคม ฉะนั้นการสร้างสถานะให้คนงานได้เห็นกับตา ก็เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แรงงาน และการก่อสร้างขบวนการแรงงาน เพื่อทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อให้ได้ความเป็นธรรม
การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ผู้คนในสังคมเข้ามาเรียนรู้คุณค่าที่ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ฯนั้นทำได้มากน้อยแค่ไหน หวังได้เพียงใด คนรู้จักเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานแค่ไหน การเรียนการสอนที่ให้นักศึกษามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้นได้ แต่คนงานรู้จักรากเหง้าของตนเองอย่างไร จำนวนคนที่รับรู้น้อย เข้าชมน้อยทำให้ไปไม่ถึงความหวังของขบวนการเรียนรู้ และพัฒนาจิตรสำนึกคน พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตั้งมา 20 ปี หากไม่ถึงเป้าหมายของการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แรงงาน เพื่อให้สังคมได้เห็นคุณค่าการต่อสู้ของขบวนการแรงงานเพื่อสังคม และสวัสดิการแล้วจะทำอย่างไร และอย่าคาดหวังว่าพิพิธภัณฑ์ฯจะทำได้ทุกเรื่อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องทำด้วยขบวนการแรงงาน ไม่ใช่บทบาทพิพิธภัณฑ์ฯ และการทำงานของผู้นำแรงงานที่ต้องส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้บทบาทสิ่งที่มีอยู่ ประวัติสาสตร์รากเหง้าของตนเองเพื่อบอกว่า การต่อรองนั้นทำได้ด้วยความเท่าเทียมหากมีและเชื่อในอำนาจพลังของตนเอง ไม่ใช่การร้องขอจากรับหรือทุนอย่างคนที่ด้อยค่า ไร้ราคา
นายทวีป กาญจณวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่าประวัติศาสตร์แรงงานไทยไม่ได้ถูกบรรจุไว้ให้ใครได้เรียนรู้ในพงศาวดาร ไม่เคยให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน ไม่มีการจดบันทึกเล่าถึงผู้ใช้แรงงาน มีแต่ชนชั้นปกครอง กับชนชั้นสูงที่เขียนประวัติศาสตร์ยกย่องเชิดชูไว้ ในขบวนการแรงงาน ที่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างความเจริญรุ่งเรื่องไว้กับประเทศอย่างมากมาย แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึง ปี 2534 คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ที่พวกเราผู้ใช้แรงงาน นักวิชาการด้านแรงงาน ผู้เชียวชาญทางประวัติศาสตร์ได้มีร่วมคิดร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อบอกเล่า และบันทึกประวัติศาสตร์ของตนเองไว้ โดยมีบทบาท ดังนี้ หนึ่ง จัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานตั้งแต่อดีตให้สังคมได้เห็นคุณค่า ความเป็นมาของชีวิตการต่อสู้ การได้มาแต่ละครั้งของกฎหมาย และสวัสดิการ การทำงานและต่อสู้ร่วมเพื่อสังคม สอง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลประวัติศาสตร์แรงงาน สาม เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของแรงงาน โดยการจัดส่งสืบสานวัฒนธรรม การสื่อสารข่าวสารแรงงาน และสี่ เป็นศูนย์กลางการจัดอบรม สัมมนา ให้การศึกษา จัดประชุมของขบวนการแรงงาน ซึ่งก็มีการใช้ในการประชุมเพื่อผลักดันนโยบายด้านแรงงานรวมถึงการแถลงข่าว
นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญชราภาพภาคประชาชน ได้กล่าวว่า ได้เข้าร่วมล้างขัดถูกอาคารก่อนเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานอย่างวันนี้ ตอนนั้นอาคารถูกปล่อยร้างไว้ มีคนงานจำนวนมากมาช่วยกันในความคิดแรกของตนคิดเพียงว่า พิพิธภัณฑ์ฯสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บของเก่า ป้ายผ้า ข้อเรียกร้องภาพต่าง และสิ่งของที่เกี่ยวกับขบวนการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น ซึ่งก็คิดว่าดี ไม่เช่นนั้นก็จะทิ้งหมดไม่มีใครเก็บบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ ไม่คิดว่าจะเป็นเหมือนทุกวันนี้
แนวคิดเดิมเป็นเพียงพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสิ่งของไว้เช่นการเรียกร้องกฎหมายลาคลอด 90 วัน และการเรียกร้องต่างๆที่มีผ้าป้าย หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องจำนวนมากหากไม่มีพิพิธภัณฑ์ฯก็จะทิ้งหมด ก็ไปช่วยกัน เข้าใจว่าหากมีอะไรที่สำคัญเก่าๆก็เอามาเก็บไว้ที่นี่ และจากนั้นก็เป็นเวทีประชุมพูดคุยกันของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งอ้อมน้อย รังสิต กรุงเทพ รัฐวิสาหกิจ มาปูสื่อนั่งคุยกันเป็นสถานที่ที่พบปะกันสำหรับผู้นำแรงงาน แล้วก็คิดเรื่องการเคลื่อนไหว เช่นข้าวของแพงจะทำอย่างไร รถเมล์ขึ้นราคาจะทำกันอย่างไร ค่าแรงไม่ขึ้นจะทำอย่างไร เนื่องจากเมื่อก่อนนั้นไม่ค่อยมีสถานที่สำหรับผู้ใช้แรงงาน และหากอยากรู้ว่ากฎหมายประกันสังคมมีการบังคับใช้ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม และกฎหมายลาคลอด 90 วันที่ใช้อยู่มาจากไหนให้ไปที่พิพิธภัณฑ์แรงงาน เพราะไม่มีอะไรที่รัฐจัดให้ มันได้มาด้วยการเรียกร้องของขบวนการแรงงาน และใครที่อยากรู้ว่าตัวเองเป็นกรรมกร ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้างคำเล่านี้ที่แบ่งแยกให้ไปที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นคำว่าพนักงาน ลูกจ้าง กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน ทำงานอาชีพอิสระ การรับเงินเดือน ค่าจ้างรายวัน เหมาค่าแรง แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ทำงานโรงงาน ทำงานบริษัท ฯลฯแล้วแต่จะมีการตรีตราขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกแรงงานออกจากกันเพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกัน มีการใช้การสื่อสารให้เกิดความเข้าใจว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน เป้นการแบ่งโดยชนชั้นปกครองทั้งสิ้น อยากให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ฯเพื่อเข้าใจตัวตนรากเหง้า
นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกล่าวว่า เอกสารเก่าสามารถบอกเรื่องราวได้ เป็นการบันทึก ที่เรียกว่าปูมหลัง ซึ่งทำให้เรื่องราวไม่ถูกลืมเหมือนกับตัวเราเองกหากไม่มีการบันทึกไม่นานเราก็จะลืม หากจะบอกกับผู้คนถึงความสำคัญเราก็บอกได้ไม่กี่คน ไม่เกิน 5-10 คนเท่านั้น หากมีทั้งภาพและเสียงก็จะสามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้ประวัติศาสตร์เก่าๆที่เห็นว่าเป็นที่เก็บสิ่งของเก่ามีคุณค่าขึ้นมา มันถึงจะบอกเล่าชีวิตคนได้ และความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ฯนั้นคิดว่าขึ้นอยู่ที่ขบวนการแรงงานที่ต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของตัวเอง เพื่อให้การสร้างแรงบันดาลใจ พิพิธภัณฑ์ฯเป็นความภาคภูมิใจ เรามีวีรบุรุษกรรมกรหลายคนที่ทำงานเหนื่อยยากเพื่อความเท่าเทียม เพื่อศักดิ์ศรีของแรงงาน ให้คนทุกคนได้เห็นคุณค่าของผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้สร้าง ความภูมิใจนี้หากว่าไม่ได้รับการบำรุงรักษา หาทุนมาสนับสนุนคงอยู่ได้เพียง 3-4 ปีเท่านั้นเท่าที่งบประมาณในการบริหารที่มีอยู่ หากวันนี้ยังไม่สามารถหามาเติมได้ รวมทั้งความมั่นคงของสถานที่ตั้ง อาคารที่ต้องต่อเติมด้วยเรื่องราว หากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะพิพิธภัณฑ์ฯไม่ได้เก็บค่าเข้าชมจากผู้มาเยี่ยมชม เพราะเป็นการให้การศึกษาฟรี
นายยงยุทธ์ เม่นตะเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า หากใครไม่รู้อดีตก็ไม่มีอนาคตทุกคนต้องรู้ปูมหลังของตนเองว่ารากเหง้าพ่อแม่เป็นใคร เมื่อเราเป็นผู้นำแรงงานก็ควรรู้ประวัติศาสตร์ของตันเอง เมื่อเข้ามาเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจะเห็นร่องรอยประวัติศาสตร์ความเป็นมาของขบวนการต่อสู้ของอดีตว่าขบวนการแรงงานมีการต่อสู้จนต้องล้มหายตายจากไปเท่าไร และรู้ว่าภาครัฐมีความพยายามแทรกแซงมาโดยตลอดทำให้เรารู้สึกว่าต้องการต่อสู้รู้สึกว่าเราต้องมีความเป็นเอกภาพ คนงานอยากได้อะไรต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ตรงนี้เองทางคนงานโลหะคนงานเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์เองกำหนดว่าผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ต้องเข้ามาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
สิ่งที่เจ็บปวดที่รัฐทำการตรากฎหมายเพื่อแบ่งแยกขบวนการแรนงงานออกจากกันและปกครองนั้น คิดว่าไม่เท่าไร ปัญหาคือพวกเราขบวนการแรงงานก็แบ่งแยกกันเองทำให้เกิดขบวนการต่อสู้ที่อ่อนแอลงทุกวัน ซึ่งหากเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะทำให้คนรุ่นใหม่เห็นอนาคตของตนเองเลยว่าควรรวมกันเพื่อสร้างเอกภาพในการต่อรองกับรัฐ กับนายจ้าง ไม่ใช่การแก่งแย้งชิงกันเป็นใหญ่ในระบบไตรภาคีที่รัฐพยายามหาผลประโยชน์มาให้
พิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนควรมา และขบวนการแรงงานต้องทำให้ที่แห่งนี้อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ และศรี ด้วยคิดว่า ขบวนการแรงงานต้องช่วยกันจ่ายค่าบำรุงให้กับพิพิธภัณฑ์ฯเพื่อให้ทำหน้าที่ต่อไป ในการให้ความรู้ ตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งคิดว่าวันนี้เป็นที่น่าภูมิใจที่เรามีพื้นที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของเราเองให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และพัฒนาต่อไป
นายสำเร็จ มูระคา กลุ่มแท็กซี่อาสาแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า เดิมรู้จักพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยผ่านแกนนำแรงงานนอกระบบ แต่ไม่เคยรู้ว่ามีคุณค่าอย่างไรกับแรงงานนอกระบบ เดิมที่เคยเป็นแรงงานในระบบ ไม่เคยได้รู้และสัมผัสกับความสำคัญตรงนี้ วันนี้ได้เข้าไปเรียนรู้ ศึกษาการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน และทำให้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้ได้มีคุณูปการกับผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ เพราะการที่จะได้อะไรมาไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการต่างๆได้มาเพราะการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน สิ่งที่กระแทกใจ คือเรื่องความเป็นธรรม เรื่องค่าจ้าง การต่อสู้ของคนเล็กๆอย่างคนถีบสามล้อ ที่เป็นแกนนำของขบวนการแรงงาน ตนเองเป็นคนขับรถแท็กซี่ เหมือนเป็นคนทำงานอิสระ แต่จริงแล้วกับไม่ใช่เรามีระบบเถ้าแก่ให้เช่ารถ ไม่มีสวัสดิการ ค่าจ้างประจำ หาได้ก็ได้หาไม่ได้ก็ไม่มีเงิน ซึ่งขบวนการแรงงานเดิมรวมตัวโดยไม่แบ่งแยก แต่ปัจจุบันกฎหมายแยกแรงงานออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งดูได้จากกฎหมายประกันสังคมที่แบ่งแรงงานออกเป็น สามกลุ่มตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 แยกการจัดสวัสดิการที่ต่างกัน แต่ก็มีความพยายามที่จะรวมกันเพื่อเรียกร้องสวัสดิการ และการรวมตัวของขบวนการแรงงานอยู่เช่นกัน
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การทำหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยในการเล่าประวัติศาสตร์ที่เป็นจริงของการถูกกระทำจากระบบทุน การต่อสู้เพื่อให้มีระบบมาคุ้มครองป้องกันให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความปลอดภัยในการทำงานเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ฯ กรณีไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ที่สาย 4 นครปฐมเมื่อ 10 พฤษภาคม 2536 ที่ทำให้คนงานต้องเสียชีวิตถึง 188 ศพ และบาดเจ็บจำนวนมาก ทางพิพิธภัณฑ์ฯได้เก็บสิ่งของในเหตุการณ์นั้นมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ วันนี้ครบรอบ 20 ปีเช่นกันกับพิพิธภัณฑ์ฯ เหตุการณ์ตอนนั้นคือนายจ้างเห็นไฟไหม้แต่กลัวว่าคนงานจะถือเอาตุ๊กตาของนายจ้างออกมาด้วยเกิดความเสียหายจึงทำให้คนงานเสียชีวิต และตอนนี้ไฟกำลังไหม้ห้างทรัพย์สินค้าที่ภูเก็ตและมีข่าวว่ามีการปิดทางเข้าออกเพราะกลัวจะมีการนำข้าวของออกจากห้างทำให้เกิดความเสียหาย มีทางออกจากห้างเพียงทางเดียวซึ่งข่าวว่ามีคนงานเสียชีวิตในกองเพลิงแน่นอนแต่ยังไม่ทราบว่าจำนวนเท่าไร นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆ และคงตอบได้ว่าบทเรียนอดีต กับการที่จะแก้ไขเพื่อสร้างอนาคตของผู้ใช้แรงงานภายใต้แนวคิดทุนกับรัฐที่ยังไม่เปลี่ยน ขบวนการแรงงานเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกฎหมายที่จะมาคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัย ก็ไม่ได้ตามที่คนงานเรียกร้อง จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตคนทำงานอยากเราๆอยู่บ่อยครั้ง พิพิธภัณฑ์ยังคงยืนหยัดทำหน้าที่บอกเล่าปัญหาที่เกิดด้วยเพื่อเกิดความตระหนักของสังคม และผู้ใช้แรงงาน
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยถือว่าเป็นอาวุธทางปัญญาของคนงาน ส่วนตนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของผู้นำแรงงาน คุณถวัติ ฤทธิเดช ที่เป็นผู้นำในประวัติศาสตร์ที่ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อผู้ใช้แรงงาน ครอบครัวเกือบไม่ได้มีโอกาสได้เลี้ยงดู คนรุ่นใหม่ควรได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคนที่อาจมีมุมที่ต่างกัน ความคิดต่างกัน หากศึกษาตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ฯเป็นศูนย์รวมของแรงงาน ถึงแม้จะไม่ใช้คนทุกกลุ่ม พิพิธภัณฑ์ฯยังได้ผลิตนักสื่อสารแรงงานที่สามารถเขียนข่าว ทำข่าวได้ รวมทั้งได้ผลิตวิดีโอที่พูดถึงชีวิตของแรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ และผลิตคนงานที่ถ่ายทอดบทความ ข่าวสาร เพื่อสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ จึงถือได้ว่าเป็นอาวุธทางปัญญาสามารถเอาไปศึกษาใช้ประโยชน์ได้จริง พิพิธภัณฑ์ฯคือความภาคภูมิใจ เราคือกรรมกรหญิง เราคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ เราคือผู้เรียกร้องสวัสดิการ ไม่ใช่รัฐให้เพราะเสน่หา
นางสาวแตงอ่อน เกาฎีละ อดีตผู้นำแรงงานกลุ่มทอผ้าย่านอ้อมน้อย เล่าว่าการต่อสู้ของคนในอดีต การเดินขบวนเรียกร้องเจะเป็นการเดินร่วมกันของโรงงานหลายๆแห่งมาร่วมกันโดยไม่นัดหมายร่วมกันเดินจากอ้อมน้อยมาพระประแดงสมุทรปราการเพื่อรอคนงานลัคกี้เทคที่นั้นด้วย นายทุนเห็นไม่ดีก็ปิดประตูไม่ให้คนงานออกเราก็ชุมนุมนอนรอเพื่อนๆออกมาช่วยกันเพื่อไปที่สนามหลวงเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม ซึ่งตอนนั้นเป็นการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ และนายทุนที่เอาเปรียบมีการใช้ความรุนแรงข่มขู่ทำร้ายคนงาน
นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า กรรมกรต้องรู้ตัวตนของเราเองว่าใครคือกรรมกร ใครคือนายทุน เพราะกรรมกรต้องมีการรวมตัวเพื่อต่อรองสิทธิของตนเองด้วยพื้นฐาน ว่าจะต่อรองเพียงกลุ่มเล็กในโรงงาน หรือว่าจะร่วมกันต่อรองทั้งระบบ ในอดีตจะเป็นการรวมกลุ่มกันต่อสู้ไม่ได้ถูกแบ่งแยกกัน แต่วันนี้มีการแยกกันสู้ต่างคนต่างเรียกร้องไม่ได้มีการหนุนช่วยกันแบบร่วมสู้ทำให้กรรมกรยุคใหม่ถูกกระทำโดยง่าย การล้มสหภาพแรงงานเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยการใช้กฎหมายมาสู้กับนายทุน ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่าเราไม่มีกำลังสู้ทางกฎหมาย
ทั้งนี้รายการเวทีสาธารณะ จะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน