Thai / English

สถานการณ์และข้อเสนอเพื่อพิจารณาการจัดการแรงงานข้ามชาติหลังวันที่ 14 ธ.ค. 55



12 .. 55
ประชาไท

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group - MWG) เผยสถานการณ์และจำนวนแรงงานข้ามชาติจากพม่า รวมทั้งข้อเสนอเพื่อพิจารณาการจัดการแรงงานข้ามชาติหลังวันที่ 14 ธันวาคม 2555

11 ธ.ค. 55 - เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group - MWG) ได้เผยแพรี่จดหมายเปิดผนึก "สถานการณ์และจำนวนแรงงานข้ามชาติจากพม่าและข้อเสนอเพื่อพิจารณาการจัดการแรงงานข้ามชาติหลังวันที่ 14 ธันวาคม 2555" โดยระบุว่าจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 เรื่องขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติและการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งกำหนดว่าแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติได้แก่พม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในประเทศไทย จะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะเป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมายให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ดังนั้นหากแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการผ่อนไม่สามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้นได้ทันวันที่ 14 ธันวาคม 2555 นี้ ก็จะต้องถูกผลักดันส่งกลับต่อไป

จากตัวเลขสำมะโนประชากรเมื่อปี 2553 มีจำนวนประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทย 3.2 ล้านคน ซึ่งมีชนกลุ่มน้อย หรือคนที่ยังไม่มีสัญชาติที่ได้รับการจัดทำทะเบียนโดยรัฐบาลไทยประมาณ 500,000 คน ตัวเลขประมาณการณ์ของแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชาในประเทศไทยทั้งหมดในปัจจุบันมีประมาณ 2 -2.5 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เคยอยู่ได้รับการจดทะเบียนและเข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมายในช่วงต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ตัวเลขแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ในทุกกลุ่ม มีจำนวน 1,901,776 คน (แรงงานที่ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 1,248,064 คน ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ 572,468 คน และนำเข้าตาม MoU 81,246 คน) ในขณะที่ ตัวเลขแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2555 พบว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติทั้งหมด 1,047,862 คน (ผ่อนผันตามมติครม. 167,881 คน พิสูจน์สัญชาติ 743,963 คน และนาเข้าตาม MoU 136,018 คน) (จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทางานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนตุลาคม2555,สานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เวบไซต์ http://wp.doe.go.th/ ) ตัวเลขของแรงงานข้ามชาติจากพม่าคิดเป็นประมาณ 80% ของแรงงานข้ามชาติทั้งสามสัญชาติ ตัวเลขของแรงงานข้ามชาติจากพม่าทั้งหมดในปัจจุบันน่าจะมีประมาณ 1,600,000 คน แต่ตัวเลขอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทั้งสิ้น 714,397 คน จะเห็นได้ว่ายังมีแรงงานข้ามชาติจากพม่าที่หลุดจากระบบไปถึงประมาณ 880,000 คน หรือคิดเป็น 55%

จากการสำรวจข้อมูลในเรื่องการเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติจากพม่า ซึ่งได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติค่อนข้างมาก ไม่ว่าเป็นกรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ แม่สอด เพื่อสารวจถึงการเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติในช่วงที่ผ่านมา พบว่าในกลุ่มที่เคยยื่นขอพิสูจน์สัญชาติแล้ว พบว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติไปแล้ว 25% มีแรงงานที่ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติไปแล้วแต่ยังไม่ผ่าน และอยู่ในระหว่างการนัดหมายให้ดำเนินการ 11% มีกลุ่มที่ยื่นดำเนินการไปแล้ว ยังไม่ผ่านและยังไม่ได้รับการติดต่อดำเนินการใด ๆ เลย 19% ขณะเดียวกันก็พบว่ามีแรงงานอีก 45% ที่เคยยื่นดาเนินการไปแล้วประสบกับปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนทำให้ต้องดาเนินการหาเอกสารให้ครบถ้วนหรือกรอกข้อมูลใหม่ และยื่นเอกสารใหม่อีกครั้ง

จากการสำรวจในกลุ่มที่ยังไม่เคยพิสูจน์สัญชาติ เมื่อถามเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประจำตัว (ทร.38/1) เลยไม่สามารถไปพิสูจน์ได้ 43.6% ในขณะที่ 18 % มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ มีแรงงาน 15.7 % ที่นายจ้างไม่ยอมดาเนินการให้ และ 15.7 ที่นายจ้างในเอกสารไม่ตรงกับนายจ้างที่จ้างงานจริง มีเพียง 5.2 ที่ไม่เข้าใจขั้นตอน และอีก 1.8% ที่ระบุว่าช่วงเวลาในการพิสูจน์สัญชาติ ไม่สอดคล้องกับช่วงการทำงานของตนเอง

สรุป

จากข้อมูลเบื้องต้นจะพบว่าในพื้นที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ยังมีแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอีกจานวนไม่น้อย ทั้งนี้มีหลายสาเหตุ สาเหตุหลักที่พบหรือแรงงานส่วนใหญ่ที่สารวจไม่มีเอกสารประจำตัวอะไรเลย แต่ทำงานอยู่ในพื้นที่ เหตุผลประการต่อมาที่เจอในกลุ่มแรงงานก็คือ เอกสารที่แรงงานใช้ในการทำงานและนายจ้างที่จ้างงานอยู่จริงไม่ตรงกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสาคัญในการดาเนินการพิสูจน์สัญชาติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาการขออนุญาตเปลี่ยนนายจ้างในพื้นที่ ซึ่งยังมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเป็นอุปสรรค ทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และจะต้องกลายเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายในอนาคต

เมื่อดูในส่วนการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานที่ได้ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติอยู่มากพอสมควร จะมีประมาณ 11% ของแรงงานที่ยื่นพิสูจน์สัญชาติไว้แล้ว และยังไม่ไม่ผ่านมีแนวโน้มจะดาเนินการพิสูจน์สัญชาติได้ทัน ยังพบว่ามีแรงงานที่ยื่นไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าอาจจะพิสูจน์สัญชาติได้ไม่ทันตามกำหนดถึง 18% และมีแรงงานที่ได้รับการสารวจในกลุ่มที่เคยดำเนินการพิสูจน์สัญชาติถึง 45% พบอุปสรรคในการดาเนินการพิสูจน์สัญชาติ ทำให้ต้องรอดาเนินการพิสูจน์สัญชาติซ้าอีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าไม่น่าจะทันตามกรอบเวลาที่รัฐบาลไทยกาหนดไว้

สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้ไปดาเนินการพิสูจน์สัญชาตินั้น พบว่า ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องไม่มีเอกสารแสดงตน นอกจากนั้นแล้วเป็นปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ ซึ่งแรงงานส่วนหนึ่งไม่มีเงินมากพอที่จะใช้ในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ (ทั้งนี้อยากให้พิจารณาถึงระบบบริษัทรับดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและผู้ประกอบการที่มีส่วนทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเกินกว่าที่ตั้งไว้แต่ต้นด้วย) ขณะเดียวกันก็พบว่าแรงงานส่วนหนึ่งที่ไม่ไปพิสูจน์สัญชาตินั้นไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่อยากไป แต่เนื่องจากนายจ้างเองไม่ยอมดาเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ ทำให้แรงงานกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงการพิสูจน์สัญชาติได้

ข้อเสนอ

1. จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อจากัดของแรงงานข้ามชาติในเรื่องเหล่านี้ จากการสำรวจชี้ให้เห็นว่าแรงงานข้ามชาติส่วนหนึ่งได้ดำเนินการยื่นพิสูจน์สัญชาติไปแล้วรวมทั้งได้เสียค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทที่รับดำเนินการไปแล้ว แต่กระบวนการยังติดขัดไม่เอื้อต่อการเข้าถึง การยุติการพิสูจน์สัญชาติอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อความตั้งใจที่จะเข้าสู่กลไกตามกฎหมาย และทำให้พวกเขาสูญเสียเงินที่เคยจ่ายให้บริษัทพิสูจน์สัญชาติไปแล้ว ดังนั้นจึง ควรมีการขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติออกไปอีกระยะหนึ่ง และทบทวนตรวจสอบการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติโดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่รับพิสูจน์สัญชาติให้มีความชัดเจน และหากไปเป็นได้ควรเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติได้ดำเนินการยื่นพิสูจน์สัญชาติด้วยตนเองในศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่มีอยู่ โดยมีการอานวยความสะดวกในเรื่องการสื่อสารเพื่อเอื้อต่อการใช้บริการ

2. แรงงานส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้นั้น ส่วนหนึ่งไม่มีเอกสารแสดงตน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจ้างงานแรงงานข้ามชาติที่มีลักษณะการหมุนเวียนกาลังแรงงานอยู่ตลอดเวลาการเปิดการผ่อนผันให้ขออนุญาตทำงานได้เป็นช่วง ๆ นั้นอาจจะมีผลต่อการเข้าถึงการจ้างงาน ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรทบทวนมาตรการไม่เปิดจดทะเบียนอยากจริงจังและรอบด้านอีกครั้ง โดยควรจะเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติในกลุ่มที่ยังไม่มีเอกสารใด ๆ อีกครั้ง โดยพิจารณาควบคู่กลับการอนุญาตทำงานในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย และแสวงหาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการจ้างแรงงานในประเภทนี้อย่างจริงจัง

3. ทิศทางการจัดการแรงงานข้ามชาติกลุ่มที่ยังไม่สามารถจะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยยังยืนยันแนวทางการผลักดันส่งกลับ และใช้รูปแบบการนำเข้าตาม MoU นั้น หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการผลักดันแรงงานข้ามชาติจานวนมากเข้าไปสู่วงจรของการค้ามนุษย์และการถูกเอารัดเอาเปรียบที่เป็นผลจากการไม่มีสถานะตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่มีการพิจารณาลักษณะของการย้ายถิ่นข้ามชาติในภูมิภาคนี้ และยังไม่แก้ไขกลไกการจ้างแรงงานข้ามชาติให้เอื้อต่อข้อจากัดที่มีอยู่แล้ว เป็นที่น่ากังวลใจว่า ระบบการจ้างแรงงานข้ามชาติจะเข้าสู่ระบบแบบเดิม คือจะมีการจ้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ถูกกฎหมายเป็นจำนวน และทำให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นรัฐบาลไทยและประเทศต้นทางจึงจำเป็นจะต้องมีการทบทวนมาตรการดังกล่าว โดยพิจารณาข้อเสนอข้างต้น รวมทั้งร่วมกันศึกษาและพัฒนาถึงกระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังต่อไป