http:
ปรับขึ้นค่าจ้างคนงานอุตสาหกรรมยานยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่ง ค่าจ้างคนเก่าพุ่งขึ้นหลายพัน -คนงานเย็บผ้าพ้อนายจ้างปรับฐานค่าจ้างใหม่ลดตัดระบบเหมาชิ้นงานทำเงินหาย6-7 พันบาท แต่ยังไม่มีวี่แววย้ายฐานการผลิตส่วนคนงานปิโตเลียม+คนงานโรงแรมหวั่นนายจ้างใช้เทคนิคปิด-เปิดใหม่ โละสหภาพพร้อมสวัสดิการหลังจากนี้ /คสรท.ประกาศพร้อม 9 ศูนย์เพื้นที่รับเรื่องร้องทุกข์ผู้ได้รับผลกระทบหากมีนายจ้างเล่นกล
เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ร่วมกันจัดงาน เสวนาเรื่อง ค่าจ้าง 300 บาท ผลต่อการปรับโครงสร้างค่าจ้าง ที่ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กทม
นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตั้งแต่รัฐบาลนี้ได้เข้ามาหาเสียงกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท การปรับค่าจ้างที่ขึ้นถึง 85 บาททำให้คนทำงานมาหนึ่งปี กับอีก 10 ปีค่าจ้างไม่ต่างกัน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้จัดสัมมนาร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร่วมกัน
โดยสรุปร่วมกันว่า จะมีการยื่นข้อเรียกร้องเรื่องการปรับฐานส่วนต่างค่าจ้างที่นอกเหนือหลังการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ข้อเดียวกันเพื่อให้เกิดฐานค่าจ้างในกลุ่มกิจการยานยนต์ฐานเดียว เรียกว่าปฏิญญาบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีกว่า 50 บริษัทมีสมาชิกทั้งหมด 3 หมื่นกว่าคน ให้สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องตั้งแต่ปลายปี แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์นำท่วมทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างยังไม่ได้มีการปรับตามประกาศ แต่เมื่อเมษายน 2555 ข้อตกลงของแรงงานในประเภทกิจการยานยนต์ ยังไม่สามมารถปรับผลต่างกลุ่มแรกมีการปรับส่วนต่างสูงถึง2,100-2,300 บาท กลุ่มที่สองปรับ 461-2,200 บาท และกลุ่มที่สาม 427 2,550 บาท กลุ่มที่ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่างเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คือ คนงานบริษัทมิซูบิชิ คือสามารถฐานส่วนต่างค่าจ้างได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามปฏิญญาบางปะกง ซึ่งสหภาพแรงงานที่ทำไม่ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้องของแต่ละสหภาพแรงงาน หรือแต่ละบริษัทยังมีวัน เวลา เดือนไม่ตรงกัน ปัญหาการไม่กำหนดเป้าหมายร่วมกัน ขาดการศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ร่วมกันและประเมินผลกระทบอย่างแท้จริง วันนี้กลุ่มคนงานที่ผลิตรถยนต์ยังมีการปรับขึ้นค่าจ้างด้วยการคูณ 26 วัน ไม่ได้เอาค่าจ้างคูณ 30 วัน ทำให้คนงานยังไม่ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท หรือเดือนละ 9,000 บาท และยังมีการนำค่าครองชีพมาบวกรวมทำให้ไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่รัฐบาลประกาศไว้
นายศตวรรษ วชิรวิทย์ ประธานสหภาพแรงงานพานาโซนิคส์แห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้ฯ กล่าวว่า ได้มีการพุดคุย สัมมนาร่วมกันในนามของทีมหลายครั้งในการหาแนวทางการยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน 21 สหภาพแรงงาน สมาชิก 24,000 กว่าคน กรณีสหภาพแรงงานกับบริษัทฮิตาชิมีการปรับค่าจ้างเป็นระบบขั้นบันได ปรับค่าจ้างโดยการขึ้นตามอายุงาน และตามวุฒิการศึกษา สหภาพแรงงานฟูจิสึ เจอเนเรอน์ ปรับแบบสูตรสุนิตูโมปรับซึ่งเป็นสูตรการปรับขึ้นส่วนต่างค่าจ้างเฉพาะของบริษัท แต่เมื่อสหภาพแรงงานดูแล้วสมาชิกพอใจก็ตกลงตามนั้น สหภาพแรงงานกับบริษัทพานาโซนิคส์ ที่สาขาเชิงเทราดูตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 30 วัน บริษัทพานาโซนิคส์ประเทศไทย ปรับตามเงินเดือนที่ปรับสูงที่สุดคือ ฐานเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ลบด้วย 6,450 และบวก 30 วัน คนที่ฐานเงินเดือนสูงกว่านี้จะไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งก็ไม่มีปัญหาเพราะคนที่ไม่ปรับอยู่ในระดับผู้บังคับบัญชา และสหภาพแรงงานได้ช่วยกันรณรงค์
ให้พนักงานทุกคนมีการทำมาตรการลดค่าใช้จ่ายให้กับทางบริษัทเพื่อช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้กับนายจ้างที่ต้องมีการเพิ่มต้นทุนค่าจ้างเสนอให้แต่ละแผนกช่วยกันลดต้นทุน เช่น การเปิดแอร์ ปิดไฟที่ไม่ได้ใช้
นายพรนาราย ทุยยะค่าย เลขาธิการสหพันธ์แรงงานปิโตเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า องค์กรมีสหภาพแรงงานที่เป็นสมาชิก 18 องค์กร ซึ่งจากการสอบถามสมาชิกพบว่า แต่ละบริษัทมีการจัดทำหลักสูตรการปรับขึ้นส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำหลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท 7 จังหวัด และเกือบ 40% อีก 70 จังหวัด เช่นการปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นตามอายุงาน ซึ่งมีบางพื้นที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างน้อย ทำให้คนที่เข้ามาทำงานใหม่ได้รับค่าจ้างเกือบเท่ากับคนงานที่ทำงานมานานนับสิบปี ซึ่งก็เป็นปัญหามากทำให้แรงงานที่ทำงานมานานหมดกำลังใจในการที่จะทำงานตามฝีมือแรงงานเนื่องจากทำมานานย่อมมีฝีมือมากกว่า และในส่วนของสหภาพแรงงานบางที่มีการทำข้อตกลงเรื่องกรณีปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่างที่พวงติดกับการปรับขึ้นค่าจ้างของรัฐ เช่น หากรัฐมีการประกาศปรับขึ้นค่าจ้าง นายจ้างจะต้องปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่างร้อยเปอร์เซนต์ เริ่มเกิดปัญหาว่าเมื่อมีการปรับบางพื้นที่ 40% บางพื้นที่ปรับ 300 บาท นายจ้างต้องปรับค่าจ้างขึ้นอีกเท่าตัว ทำให้เกิดปัญหาของยื่นข้อเรียกร้องในการลดสวัสดิการอื่นๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในปี 2556 ที่จะมาถึงอาจเกิดการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อลดสวัสดิการ หรือการเลิกจ้าง เพื่อโละสวัสดิการเก่า พร้อมล้มสหภาพแรงงานซึ่งตอนนี้ก็มีเกิดขึ้นบ้างในบางพื้นที่
ส่วนที่มีการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดตามอายุงานในส่วนสมาชิกมี 11 แห่ง ที่ไม่มีข้อตกลงการปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่างก็มี ขณะนี้มีสมาชิกบริษัทปูนยักษ์ใหญ่ที่ปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่างให้ลูกจ้างสูงสุดถึง 1,000 บาท ในส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ปูนบางแห่งยังไม่มีข้อมูลว่าจะปรับขึ้นเท่าไร สหภาพแรงงานที่มีข้อตกลงสภาพการจ้างแบบปีต่อปีการยื่นข้อเรียกร้องส่วนอาจเป็นเป้าหมายของนายจ้างเมื่อต้องมีการปรับสภาพการจ้างและการปิดงานได้
นายเฉลย ชมบุหรั่น ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิงทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า สมาชิกของสหพันธ์แรงงานเรื่องที่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตยังไม่พบ เรื่องการปรับค่าจ้างส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากฎหมายมีบริษัทไทยอคริลิค ไฟเบอร์ จำกัด ที่ได้ปรับค่าจ้างส่วนต่างขึ้นร้อยเปอร์เซนต์เต็ม และ ส่วนของสหภาพแรงงานพิพัฒนสัมพันธ์ บริษัทปรับขึ้นค่าจ้างระบบขั้นบันได ส่วนสหภาพแรงงานมอลลิเก้ ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการปรับสภาพการจ้างมีการลดเรื่องค่าจ้างเหมารายชิ้นทำให้รายได้เดิมลดลง กรณีบริษัทเค คัททันปรับขึ้นค่าจ้างแบบขั้นบันไดเช่นกัน และบริษัทสหกิจวิศาลปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มทุกคนตามอายุงาน บริษัทไทรอัมพ์ มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทปรับขึ้นค่าจ้างส่วนต่าง แต่สำหรับแรงงานที่ไม่มีค่าตำแหน่ง 500 บาท ไม่ปรับส่วนต่าง บริษัทเทยิ่น โพลีเท็กเตอร์ ปรับขึ้น 300 ตามกฎหมาย และปรับขึ้นให้เป็น 800 บาทสำหรับคนเก่า การปรับขึ้นค่าจ้างของแต่ละบริษัทอยู่ที่การต่อรองของสหภาพแรงงาน ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน
หนึ่งในตัวแทน สหภาพแรงงานเฮลท์ แคร์ กล่าวว่า พวกเราทำงานอยู่บริษัทมอลลิเก้ แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผลิตอุปกรณ์ด้านการแพทย์ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ นายจ้างมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มวันละ 65 บาท และมีการปรับขึ้นส่วนต่างคนเก่าตั้งแต่ 1 บาท และ2 บาทตามลำดับปี หลังที่รับมีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ปัญหาคือ นายจ้างยกเลิกค่าจ้างที่เป็นค่าชิ้นงาน ทำให้รายได้แรงงานหายไป 6-7 พันบาท ซึ่งเป็นการแก้สภาพการจ้างใหม่นายจ้างให้แรงงานเซ็นต์ยอมรับทุกคน และยังมีการขอลดการทำงานล่วงเวลา ส่วนแรงงานที่ไม่เซ็นต์ยินยอมนายจ้างสั่งให้หยุดงาน ซึ่งหลายคนขอกลับเข้าทำงานบ้างแล้ว แต่ในส่วนของคนงานที่ไม่ยินยอมจึงขอร้องทุกข์กับทางคณะกรรมการสมรนฉันท์แรงงานไทยเพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหา
นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรม และบริการจ.ภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้มีสหภาพแรงงาน 20 แห่ง บนเกาะภูเก็ต แต่มีการทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ 17 แห่ง การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำโรงแรมขนาดใหญ่ยังไม่มีปัญหาเรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้างการปรับเพิ่มส่วนต่าง การจัดสรรค่าเซอร์วิสชาร์จ ที่มีปัญหาคือโรงแรมขนาดที่มีการปรับเอาค่าเซอร์วิสชาร์จมารวมเป็นค่าจ้าง ซึ่งเป็นค่าเซอร์วิสชาร์จที่ไม่ประจำ และมีปัญหาของประกอบกิจการนวดสปาที่จ่ายค่าจ้างเป็นระบบเปอร์เซ็นต์แบ่งกันระหว่างเจ้าของร้านกับลูกจ้างซึ่งตรงนี้มีปัญหาว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างอย่างไร
ปัญหาต่อมา คือค่าครองชีพในจังหวัดภูเก็ตที่สูงมาก ค่าเช่าห้องเดือนละ 2,800 บาท ค่าเดินทางมีการผูกขาดจากกลุ่มคนบางกลุ่มการจะขึ้นรถแท็กซี่ การเดินทางของรถโดยสารจึงแพงมาก เช่น ค่าแท็กซี่เดินทางจากสนามบิน ไปหาดกะตะราคาเที่ยวละ 800 บาท
กรณีเซอร์วิสชาร์จของโรงเรมขนาดใหญ่มีการเอามาแสดงให้ลูกจ้างดู เพื่อหาญให้กับแรงงานทุกคน แต่โรงแรมขนาดเล็กจะไม่มีการแสดงรายได้ให้กับลูกจ้างดู การตัดสินใจการแบ่งปันนายจ้างจะเป็นคนจัดการให้ และเดิมค่าเซอร์วิสชาร์จไม่เป็นรายได้ประจำด้วย แต่วันนี้โรงแรมขนาดเล็กมีการนำค่าเซอร์วิสชาร์จมารวมให้ครบ โดยจ่ายเป็นรายเดือน
ขณะนี้มีนายทุนสิงคโปร์ที่เข้ามาซื้อกิจการโรงแรมบนเกาะและประกาศปิดกิจการ เพื่อปรับปรุงใหม่ โละคนเก่าที่ทำงานมานานออก เพื่อปรับสวัสดิการและค่าจ้างใหม่ จากนั้นเปิดบริการรับแรงงานใหม่ ซึ่งตอนนี้มีการเลียนแบบกันของโรงแรมในพื้นที่ เพื่อล้มสหภาพแรงงานพร้อมปิดกิจการแล้วเปิดใหม่ อันนี้รัฐบาลควรต้องช่วยดูเรื่องพฤติกรรมของนักลงทุนด้วย
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กล่าวว่า ในส่วนกลางคสรท.มีการรวบรวมข้อมูลคนเข้ามาร้องเรียน เรื่องการนำค่าสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้าง 300 บาท จำนวนทั้งหมด 73 รายที่ร้องเรียน จำนวน 12 ราย และมีจิวเวลรี่ ผลิตภัณฑ์อาหาร รับเหมาก่อสร้าง พนักงานห้างทรัพย์สินค้า การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การจากเหมารายชิ้นเป็นรายวัน นายจ้างเพิ่มเวลาทำงาน กรณียามรักษาการ กิจการสิ่งทอ กิจการอิเล็กทรอนิกส์ ร้องว่ามีการเลิกจ้างก่อนปรับขึ้นค่าจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายเกิน 300 บาท มีบางบริษัทขอลดค่าจ้างเหลือ 300 บาท การปรับค่าจ้างแรงงานจากรายเดือนเป็นรายวัน และมีอยู่อีกหนึ่งกรณีที่นายจ้างนำค่าอาหารมารวมเป็นค่าจ้าง ทางคสรท.ได้ช่วยพาไปร้องทุกข์ที่กระทรวงแรงงาน และได้เรียกบริษัทเข้ามาเจรจา แรงงานเดือดร้อน 4 พันคน ที่มาร้องทุกข์ 50 คน ที่ไม่มีการเซ็นต์ยอมรับการที่นายจ้างขอนำสวัสดิการค่าอาหารมารวม ซึ่งก็สามารถตกลงกันได้นายจ้างไม่นำค่าจ้างมาบวกรวม วันนี้ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของคสรท.ยังเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้ง 9 แห่ง เพื่อรวบรวมสภาพปัญหาพร้อมทั้งส่งเรื่องให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือ
หมายเหตุ : คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงได้ประสานความร่วมมือองค์กรแรงงานเพื่อให้เปิด ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจัดตั้งศูนย์ 9 ศูนย์ ได้แก่
1) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02 2513170
2) ศูนย์แรงงาน กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ย่านนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราโทรศัพท์ 038 842921 ผู้ประสานงาน นายราเล่ อยู่เป็นสุข 084 5408778
3) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เลขที่ 32 หมู่ 1 ถ. สุดบรรทัด ต. ตาลเดี่ยว อ. แก่งคอย จ. สระบุรี โทรศัพท์ 036 245441 ผู้ประสานงาน นายบุญสม ทาวิจิตร 0817590827
4) กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก เลขที่ 120/46 หมู่ 3 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038 337523 ผู้ประสานงาน นายสมพร ขวัญเนตร 0837695687
5) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย TEAM เลขที่ 1/446 หมู่ที่ 14 ซอยบางแสน 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 7078072 ผู้ประสานงาน นายยงยุทธ เม่นตะเภา 0818282538
6) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เลขที่ 50/32 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 02 8125277 ผู้ประสานงาน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย 0811787489
7) สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต เลขที่ 12/133 หมู่ 3 ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน นายวิจิตร ดาสันทัด 0815351764
8) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลขที่ 44 ซอยวิภาวดีรังสิต 11 นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02 5378973 ผู้ประสานงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน 0863361110
9) สหพันธ์แรงงานธนาคารสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 2252166 ผู้ประสานงาน นายศักดิ์สิทธิ์ อุดมศิลป์ (เลขาธิการ) 0896977826
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน