Thai / English

ความหวัง 300 บาท เพื่อยังชีพ


อัยยลักษณ์ เหล็กสุข นักสื่อสารแรงงานภาคตะวันออก ชลบุรี-ระยอง
30 .. 55
http://vo

สภาวะในปัจจุบันนี้ ข้าวยากหมากแพง ค่าแรงต่ำ ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น ค่าจ้างประกาศขึ้น ค่ารถ ค่าเรือ ค่าน้ำมัน ขึ้นราคาล่วงหน้ามารอก่อนแล้ว เงิน 100 บาท เดินออกจากบ้าน หมดไปค่าเดินทาง ค่าอาหารได้เพียงมื้อเช้าเท่านั้น ปัญหาเรื่องปากเรื่องท้องล้วนเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนใช้แรงงาน

เมื่อได้ยินนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทำให้คนใช้แรงงานทั้งหลายต่างเทกันไปลงคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองที่มีนโยบายค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ และปริญญาตรีต้อง 15,000 บาท เมื่อได้เป็นรัฐบาลกลับเป็นเพียงค่าแรง 300 บาท นำร่อง 7 จังหวัด อีก 70 จังหวัดที่เหลือ ค่าแรงขั้นต่ำ 40% ปริญญาตรีต้องรายได้รวมกันแล้ว 15,000 บาท เมื่อน้องน้ำ ทะลักเข้าเมือง นายจ้างอ้างวิกฤตน้ำท่วมส่งผลต้องจ่ายค่าจ้าง มาตรา 75 และที่หนักคือเลิกจ้างคนงานทั้งที่คนงานต้องแบกรับภาระ และชะตากรรมของตัวอย่างหนีไม่รอด สิ่งที่ทำได้มีเพียง ต้องต่อสู้ต่อไป

เมื่อรัฐบาลประกาศค่าแรง 300 บาท นำล่อง 7 จังหวัด อีก 70 จังหวัดที่เหลือค่าแรงขั้นต่ำ 40% หลายบริษัทประกาศค่าแรงตามที่รัฐบาลประกาศ และอีกหลายบริษัทต่างออกมาคัดค้านการปรับเงินขึ้น บริษัทไหนที่มีองค์กรสหภาพแรงงานก็จะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองเรื่องการปรับผลต่างค่าจ้าง ทั้งพนักงาน ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน และสมาชิกสหภาพแรงงานก็จะได้ปรับผลต่างค่าจ้างตามอายุงาน หรือไม่ก็เป็นสูตรคิดคำนวณที่นายจ้างนำไปใช้ตามกันไป ซึ่งผลต่างค่าจ้างจะเป็นขั้นบันได แต่ทุกคนได้ปรับ แต่ถ้าบริษัทไหนไม่มีองค์กรสหภาพแรงงาน คนงานไม่รู้สิทธิก็จะถูกนายจ้างรุกด้วยการข่มขู่ให้เซนต์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยการนำสวัสดิการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพ มารวมเข้ากับฐานเงินเดือนเพื่อหนีค่าจ้างขั้นต่ำ และนายจ้างก็ไม่ต้องปรับค่าจ้างให้กับลูกจ้างเพราะเกินค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้ว ลูกจ้างที่ไม่รู้สิทธิก็จะถูกลดสวัสดิการโดยรู้ไม่เท่าทันนายจ้าง

ปัญหาที่ลูกจ้างได้รับไม่ได้มีแค่เรื่องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอย่างเดียว แต่ลูกจ้างยังต้องเจอกับปัญหาการละเมิดสิทธิ การถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านอื่นๆเช่น การลาพักร้อนโดนหักเบี้ยขยัน การค้างเงินตกเบิกกับลูกจ้างเหมาค่าแรง การจ้างงานซ้ำซ้อน (ลูกจ้าง 1 คนแต่มีนายจ้างที่เป็นบริษัทรับเหมา 3 บริษัท) การให้ลูกจ้างทำงานภายใต้ความกดดัน ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน มาตรา11/1 ที่ประกาศใช้เป็นกฎหมาย แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ลูกจ้างที่ไม่มีองค์กรสหภาพแรงงานจะได้รับ

ลูกจ้างที่อยู่ในบริษัทที่ไม่มีองค์กรสหภาพแรงงาน เริ่มที่จะมองเห็นว่าบริษัทไหนที่มีสหภาพแรงงานการละเมิดสิทธิจะลดน้อยลง มีสวัสดิการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และยังมีความมั่นคงในการทำงานมากขึ้น ลูกจ้างก็จะเข้ามาจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อแสวงหาสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต และเพื่อไม่ให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน ค่าจ้างที่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตที่มั่นคง หน้าที่การงานที่มั่นคงจนเกษียณอายุการทำงาน