คนงานพม่า รง.ถลุงแร่ ประท้วงขึ้นค่าแรง เจรจาไม่ลงเตรียมลาออกยกชุด23 .. 55 ประชาไท ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 55 ที่ผ่านมามติชนออนไลน์รายงานว่าแรงงานต่างด้าวชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ของ บริษัท จี เอส เอ็น เนอร์จี จํากัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี หมู่ที่ 4 ตําบลเจ็ดเสมียน อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กว่า 300 คน ได้รวมตัวประท้วงบริเวณหน้าประตูภายในโรงงานถลุงแร่ควอช เพื่อใช้ทําผงเซลิก้า ประกอบเป็นชิ้นส่วนทําแผงโซลาร์เซล และทําสีนํ้าทุกชนิด ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ สภ. โพธาราม ประมาณ 30 นาย เข้ามาดูแลความสงบเรีบยร้อย ผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้ทางบริษัทยึดถือตามกฏเรื่องค่าแรงงาน เนื่องจากปัจจุบันค่าแรงงานรายวันอยู่ที่ 190 บาท ซึ่งทางแรงงานขอเพิ่มเป็น 251 บาท ตามที่กฏหมายกําหนด อีกทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานอ้างว่า เงินค่าแรงตํ่าแล้วยังลดรายเดือนจาก 1,500 บาท เหลือเพียง 1,400 บาท เงินค่าความร้อน 80 บาท ลดเหลือ 70 บาท และเงินเบื้ยขยันรายวันจากเคยได้วันละ 90 บาท เหลือเพียง 39 บาท
ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงไม่พอใจที่โรงงานดังกล่าวปรับลดค่าแรงลง จึงได้มีการรวมตัวประท้วงกันเพื่อเรียกร้องให้ทั้งบริษัท เพิ่มเงินค่าแรงดังกล่าว หลังจากกลุ่มผู้ประท้วงได้ลุกฮือขึ้นมา นายมฑเทียร สุขอร่าม กํานันตําบลเจ็ดเสมียน ได้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมชนในอยู่ในความสงบ พร้อมจัดตัวแทนเข้าเจรจากับผู้บริหารโรงงาน แต่ไม่ยอมให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปภายในโรงงาน
ต่อมานายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสวัสดิการสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปเจรจากับทางบริษัท ได้ข้อสรุปว่า ทางโรงงานยินดีรับข้อเสนอให้ค่าแรงงานตามข้อเรียกร้อง แต่ต้องรอมีการประชุมบอร์ดของโรงงานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (21 เม.ย.) ทําให้ผู้ใช้แรงงานพอใจจึงแยกย้ายกันกลับเข้าไปทํางานต่อ
เจราจาไม่ลง เตรียมออกยกชุดหากนายจ้างไม่ทำตามข้อเรียกร้อง
ในวันต่อมา (21 เม.ย.) เนชั่นทันข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 16.00 น. หลังจากที่แรงงานต่างด้าวเลิกงานต่างก็พากันมาปิดถนนทางเข้านิคมอุตสาหกรรมราชบุรี อีกครั้ง เนื่องจากข้อเสนอที่แรงงานต่างด้าวยื่นขอไปนั้นทางโรงงานไม่สามารถให้ได้ตามที่ขอได้ ทำให้ทางนายบุญช่วย ยงยุทธสุทธิการ ผู้ช่วยฝ่ายบริหารของบริษัทจี เอส เอนเนอร์จี้ จำกัด ก็ได้พยายามออกมาพุดคุยกับแรงงานต่างด้าวที่ออกมาประท้วงปิดถนนว่าไม่สามารถให้ได้ตามนั้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังทรงตัว และเงินทุนของบริษัทก็ไม่สามารถให้ได้ แต่ค่าแรงที่ทางโรงงานจ่ายนั้นก็มากกว่าโรงงานอื่นๆอยู่แล้ว ซึ่งการพูดคุยนั้นนานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงทำให้แรงงานต่างด้าวกว่า 300 คน ที่ออกมาประท้วงไม่พอใจเนื่องจากหลายคนอ้างว่างานที่ทำงานนั้นเสี่ยงกว่าโรงงานอื่นเพราะต้องอยู่กับความร้อนตลอดเวลาแต่ค่าตอบแทนที่ได้นั้นไม่ยุติธรรม และจะขอลาออกทั้งหมดในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย.) ก่อนจะสลายตัวกันไป |