เปิดจดหมายคนงานโฮยาร้องทูตญี่ปุ่น ชี้เลิกจ้างขัดต่อ ILO และ OECD23 .. 55 ประชาไท 22 ม.ค. 55 สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สออส.) ได้ส่งจดหมายร้องเรียนต่อเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 55 ให้ทางประชาไทเผยแพร่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ที่ สออส. 014-1 / 2555
วันที่ 16 กุมพาพันธ์ 2555 เรื่อง การเลิกจ้างพนักงานบริษัท โฮยากลาสดิสค์ อย่างไม่เป็นธรรม เรียน เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสารขอเท็จจริงกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เนื่องจากบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการเลิกจ้างพนักงานโรงงาน 2 ประมาณ1600 คน โดยให้เหตุผลว่า บริษัทฯประสบสภาวะขาดทุน และ สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯต้องดำเนินการเลิกจ้างดังกล่าว จากการเลิกจ้างพนักงานดังกล่าว สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์( สออส.) เห็นว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ดังนี้ 1) เป็นการเลิกจ้างโดยเลือกทำการเลิกจ้างเฉพาะพนักงานโรงงานที่ 2 ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีสมาชิกสหภาพแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก 2) ตัวเลขผลกำไรของบริษัทฯที่ผ่านมาล่าสุดปี 2553 มีกำไรที่ 591 ล้านบาท จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ แต่บริษัทฯอ้างว่าดำเนินการขาดทุน นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียตนาม 3) สหภาพแรงงานเห็นว่าเป็นการจงใจทำลายสหภาพแรงงาน เนื่องจากก่อนหน้าไม่กี่เดือนที่จะมีการเลิกจ้างพนักงานครั้งนี้ ได้มีการย้ายกรรมการสหภาพแรงงาน 4 คนไปรวมกันที่โรงงานที่ 2 ทำให้มีจำนวนกรรมการสหภาพแรงงาน 19 คน จาก ทั้งหมด 28 ถูกเลิกจ้างไปด้วย ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ได้มีการเลือกพนักงานที่ทำงานไม่นานจากโรงงานที่ 2 ไปทำงานในโรงงานที่ 1 4) หลังจากที่มีการเจรจา บริษัทฯ ได้ประกาศให้พนักงานในโรงงานที่ 1 ได้สมัครเข้าโครงการสมัครใจเลิกจ้าง ซึ่งมีพนักงานโรงงานที่ 1 เกือบ 300 คนเข้ามาสมัครเข้าร่วมโครงการ แต่บริษัทมีเงื่อนไขว่าพนักงานโรงที่ 1 ที่เข้าร่วมโครงการได้ ต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องเป็นสามี หรือภรรยาของพนักงานโรงงานที่ 2 เท่านั้น ทำให้มีพนักงานในโรงงานที่ 1 ประมาณ 20 กว่าคนเท่าที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวบริษัทได้ส่งรายชื่อกลับไปที่ฝ่ายบุคคลให้ตรวจสอบอีกครั้ง และยืนยันที่จะเลิกจ้างพนักงในในโรงงานที่ 2 ทั้งหมด โดยที่ไม่ได้เอาพนักงานจากโรงงานที่ 1 ที่สมัครใจมาทดแทน พนักงานในโรงงานที่ 2 กว่า 200 คน ที่มีต้องการถูกเลิกจ้าง 5) การเลิกจ้างครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย ซึ่งไม่สนับสนุนให้มีการเลิกจ้างพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม อีกทั้งการเลิกจ้างในครั้งนี้ สหภาพแรงงานเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่มของคนงาน ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาไอแอลโอ และ OECD ไกด์ไลน์ 6) สหภาพแรงงานมีข้อกังวลในกรณีที่บริษัทไม่เคารพในสิทธิสตรี ตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 11 (2) โดยปัจจุบันบริษัทได้ใช้มาตรา 75 ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ให้พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์หยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ 75 % และมีแนวโน้มที่จะถูกเลิกจ้างหลังจากที่คลอดบุตรและกลับเข้ามาทำงานตามเดิม ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงขอให้เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่น ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบ และแก้ไขปัญหา เรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทโฮยา กลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (นาย อัครเดช ชอบดี ) ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์
At TUEEER 0014-1 / 2555
February 16, 2012
Re: Unfair dismissal at Hoya Glass Disc
To: The Ambassador of Japan in Thailand
Attached: Chronology of the unfair dismissals
Hoya Glass Disc (Thailand) have dismissed 1600 workers at Building 2 of the company referring that the company had operated at a loss since April 2011, and in addition had been affected by the flooding in Thailand.
Regarding the dismissals, the Trade Union in Electronics and Electronical Equipment Relation (TUEEER) finds the following issues constitute unfair treatment:
1) Hoya Glass Disc (Thailand) has targeted only Building2,where the union has many members;
2) The profit of the company was 591 million baht (or 19.7 million USD) in 2010 according to the information provided to the Ministry of Commerce, but the company claim that it is operating at loss. In addition the company has recently expanded the factories in the Philippines and Vietnam.
3) Hoya Glass Disc appears intent on destroying the union as a few months before announcing the closure of Building 2, the company had transferred four union committee members to this building. Thus amongst the dismissed workers are 19 out of the 28 committee members. At the same time the company transferred recently employed workers to Building 1. The company has refused to offer the workers in building 1 the option of early retirement.
4) After negotiation the company announced that the workers at Building 1 would be able to apply for early retirement. Almost 300 workers applied, but the company had put as condition for applying that the applicant was restricted to spouses of workers that would be dismissed from Building 2. Only around 20 workers has qualified and the company has asked the human resource dept to check them. The company continue to insist to dismiss all workers at Building 2 instead of replacing the workers from Building 1 who applied with the 200 plus workers from Building 2 who have clearly indicated they do not want to be dismissed.
5) The announced layoffs are not in accordance with the Thai government's policies, which does not support the dismissal of workers due to the floods. In our opinion the dismissals are unfair and infringe the freedom of association contrary to the ILO Conventions and the OECD guidelines.
6) The unions is furthermore concerned that the company fails to respect womens rights as laid out in the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW), article 11 (2), as the company is suspending pregnant workers paying them only 75% of their wages by referring to article 75 in the Labor Protection Act, with a high likelihood that the company will dismiss these workers after they have given birth.
Based on these reasons, the TUEEER would respectfully ask the Japanese Ambassador to proceed by requesting relevant agencies to urgently assist in correcting these violations in a comprehensive manner, to solve the issues relating to unfair dismissals at Hoya Glass Disc (Thailand),
Thank you for your attention to this urgent matter
Sincerely
(Mr. Akradet Chobdee)
President of the Trade Union in Electronics and Electronical Equipment Relation (TUEEER)
อนึ่งก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 55 ที่ผ่านมา voicelabour รายงานว่าเวลา 09.30 น. พนักงานบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน และพนักงานบริษัท ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ที่นิคมอมตะซิตี้ จ.ระยอง ประมาณ 30 คน นำโดยนายชาลี ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ไปร่วมยื่นหนังสือต่อเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อขอให้เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบแก้ไขปัญหา เนื่องจากบริษัททั้ง 2 แห่งได้เลิกจ้างคนงานอย่างไม่เป็นธรรม หนังสือร้องเรียนของสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สออส.) ระบุว่าบริษัทโฮยากลาสดิสค์ ได้มีการเลิกจ้างพนักงานโรงงาน 2 ประมาณ 1,600 คน โดยจ่ายค่าจ้าง 75% ก่อน แล้วมีหนังสือเลิกจ้างตามไปที่บ้าน ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการย้ายกรรมการสหภาพแรงงานจำนวน 4 คน ไปรวมกันที่โรงงาน 2 ทำให้มีกรรมการ 19 คนจากทั้งหมด 28 คน ถูกเลิกจ้างไปด้วย โดยบริษัทฯให้เหตุผลว่า ประสบสภาวะขาดทุนและได้รับผลกระทบจากวิกฤติอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง ก่อนหน้านี้ทางบริษัทมีแผนการปรับลดพนักงานอยู่แล้ว และน้ำก็ไม่ได้ท่วมโรงงานโฮยากลาสดิสค์ จ.ลำพูน แต่อย่างใด ทางบริษัทฯมีโครงการให้พนักงานสมัครใจลาออกและจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่การเลิกจ้างครั้งนี้ สหภาพเห็นว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ให้มีการเลิกจ้างพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม อีกทั้งการเลิกจ้างในครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิในการรวมตัวของคนงาน ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO 87-98 และ แนวปฏิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ซึ่งทางสหภาพฯ จะดำเนินการต่อสู้ต่อไป ส่วนบริษัท ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง มีการเลิกจ้างพนักงานที่เป็นตัวแทนเจรจาข้อเรียกร้องและผู้ที่ลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้อง รวมทั้งผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงาน ตามข่าวที่ voicelabour นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว ภายหลังจากยื่นหนังสือที่สถานทูตญี่ปุ่น พนักงานทั้ง 2 แห่งก็ได้มีการประชุมกันที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยโดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1.ให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างไปยื่น ครส. และแจกเอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น 2.ขอการสนับสนุนจาก เครือข่ายกู๊ดอิเลคทรอนิคส์ ทั้งสากลและในประเทศไทยรวมทั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย 3.ต้องสร้างแรงกดดันในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้สื่อกระแสหลักมาทำข่าว อาจมีการเดินขบวนไปที่กระทรวงแรงงาน 4.ต้องมีจุดยืนของตนเองและต้องไม่ทิ้งให้กรรมการและสมาชิกที่ทำงานข้างในอยู่อย่างเงียบๆ ต้องส่งข่าวและกระตุ้นให้เขามาร่วมกับคนข้างนอก |