เอ็นจีโอ ชี้แรงงานต่างด้าวถูกเอาเปรียบ หลัง วอน ก.แรงงาน ช่วยเหลือเอ็นจีโอ ชี้ ต้างด้าวถูกเอาเปรียบมากกว่าแรงงานไทย หลังวิกฤตน้ำท่วมทำโรงงานปิดหลายแห่ง วอน ก.แรงงาน ต้องทำงานเชิงรุก ดูแลทั้งลูกจ้างไทย-ต้างด้าว แก้ปัญหาถูกเบี้ยวค่าจ้าง-ยึดพาสปอร์ต แนะ ต้องมีล่ามประจำแรงงานจังหวัด ช่วยสื่อสาร11 .. 55 ผู้จัดการ วันนี้ (10 ม.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาที่สงผลกระทบต่อแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง คสรท.ได้เรียกร้องให้ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เข้าช่วยเจรจากับทางนายจ้างที่ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างในช่วงหยุดงาน และหลังจากน้ำลดแล้วก็ไม่มีความคืบหน้าจากนายจ้างว่าจะจ้างงานต่อหรือไม่ โดยได้มอบรายชื่อสถานประกอบการดังกล่าวให้กับทาง นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.)แล้ว อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าวด้วย จึงอยากเรียกร้องให้ทางกระทรวงแรงงาน (รง.) เข้าช่วยเหลือแรงงานกลุ่มนี้ด้วย นายชาลี กล่าวว่า อยากให้ทาง ก.แรงงาน ทำงานเชิงรุก ด้วยการเข้าไปตรวจสอบทุกสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งทางสำนักงานแรงงานจังหวัดนั้น ทราบดีอยู่แล้วว่าโรงงานไหนจ้างคนงานต่างด้าว เพราะขณะนี้แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ที่เดินทางกลับมาจากประเทศบ้านเกิดนั้น ยังไม่ได้รับข้อร้องเรียนอะไร แต่แรงงานต่างด้าวที่ไม่กล้าออกนอกพื้นที่ในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมากลับมีปัญหา เพราะแรงงานส่วนหนึ่งขึ้นทะเบียนผ่อนผันให้ทำงาน ซึ่งถูกบังคับให้ไม่สามารถออกนอกพื้นที่ที่ลงทะเบียนได้ ส่วนแรงงานอีกกลุ่มหนึ่งที่มีหนังสือเดินทางก็ไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้เหมือนกัน เพราะนายจ้างยึดหนังสือเดินทางไว้ ขณะนี้แรงงานไทยยังถูกเอาเปรียบ ซึ่งเป็นไปได้สูงมากที่แรงงานต่างด้าวจะถูกเอาเปรียบมากกว่า ทั้งเรื่องที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างที่ได้ทำงานไปแล้ว ไม่จ่ายค่าจ้างชดเชยช่วงน้ำท่วม จึงอยากให้ทางกระทรวง รง.มีนโยบายเชิงรุกเข้าไปตรวจสอบ เพราะมีแรงงานต่างด้าวได้ร้องเรียนเข้ามา ซึ่งเชื่อว่ายังมีแรงงานต่างด้าวอีกมากที่ถูกเอาเปรียบแต่ไม่รู้จะร้องเรียน ที่ไหน อีกทั้งยังไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยบได้ นายชาลี กล่าว
นายชาลี กล่าวต่ออีกว่า ส่วนเรื่องการสื่อสารยังคงเป็นปัญหา จึงอยากให้ทางกระทรวง รง.จัดหาล่ามประจำสำนักงานแรงงานจังหวัด เช่น สมุทรสาคร ระนอง อยุธยา เป็นต้น เพราะเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวเยอะ เพราะส่วนใหญ่พอแรงงานต่างด้าวมีปัญหาก็จะไม่สามารถสื่อสารกับทางเจ้าหน้าที่ได้ ต้องให้ทางเอ็นจีโอเป็นผู้ช่วยแปลให้ จึงอยากให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าแก้ไขเรื่องนี้ด้วย เพราะจะเป็นการรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ด้วย
ด้าน นายบุญลือ ศาตรเพ็ชร นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ กสร.จังหวัดนครปฐม กล่าวว่า ปัญหาการช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่คือไม่สามารถสื่อสารกับแรงงานต่างด้าวได้ เพราะบางครั้งแรงงานไม่รู้ว่าตัวเองทำงานอยู่ที่ไหน บริษัทชื่ออะไร อีกทั้งบางครั้งแรงงานเหล่านี้เปลี่ยนที่อยู่ หรือเปลี่ยนนายจ้าง ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้เพราะไม่รู้ที่อยู่ที่ชัดเจน
ในส่วนของ จ.นครปฐม มีแรงงานต่างด้าวไม่มากเท่ากับอยุธยา หรือสมุทรสาคร ซึ่งก็ยังมีปัญหาในการติดต่อประสานงานกับแรงงานต่างด้าว ดังนั้น คิดว่า ทางสำนักงานแรงงานจังหวัดในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวหนาแน่น ควรจะมีล่ามประจำ เพราะที่ผ่านมาจะมีล่ามที่ถูกจ้างมาชั่วคราวเพียงไม่กี่เดือนในช่วงเปิดลง ทะเบียนแรงงานต่างด้าว จึงคิดว่า ควรจะมีล่ามที่เป็นข้าราชการประจำเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานง่ายขึ้น และช่วยเหลือแรงงานเหล่านี้ได้สะดวกขึ้น นายบุญลือ กล่าว |