Thai / English

ผู้นำแรงงานไทยร้ององค์การแรงงาน ไทยละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ผู้นำแรงงานไทยร้ององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในเจนีวาไทยละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดสิทธิเเรงงานข้ามชาติพม่าอย่างเป็นระบบ

22 .. 54
http://voicelabour.org/?p=6633

โดย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) แถลงการณ์ในวันที่ 21 กันยายน 2554

วันที่ 1 กันยายน 2554 เป็นวันครบรอบ 43 ปี ที่ไทยได้อนุวัติอนุสัญญาองค์การเเรงงานระหว่างประเทศ อ. ที่ 19 เรื่องการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (การทดแทนกรณีอุบัติเหตุ) ในโอกาสนี้ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ยื่นหนังสือต่อองค์การเเรงงานระหว่างประเทศเพื่อร้องเรียนกรณีที่รัฐบาลไทยไม่สามารถบังคับใช้นโยบายที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ ในการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน หลังจากรัฐบาลไทยเสนอนโยบายประกันอุบัติเหตุเอกชนสำหรับแรงงานข้ามชาติเเทนการให้เเรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน

ในเช้าวันนี้ (21 กันยายน 2554) นายสาวิทย์ แก้วหวาน ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมธิการผู้เชี่ยวชาญในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเเสดงถึงการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย ดังปรากฏหลักฐานจากการที่รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายที่ไปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน การยื่นหนังสือครั้งนี้เป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติมจากการยื่นหนังสือครั้งล่าสุดของ สรส. ณ ที่ประชุมเเรงงานระหว่างประเทศ ที่ นครเจนีวา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554

การยื่นหนังสือครั้งนี้ สรส. ต้องการนำเสนอข้อมูลการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบล่าสุดแก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การเเรงงานระหว่างประเทศ โดยเน้นนโยบาย “โครงการประกันอุบัติเหตุเอกชนสำหรับแรงงานข้ามชาติ” อันเป็นนโยบายที่เพิ่งประกาศ นโยบายนี้ปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้กำกับดูแล เเม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงเป็นการ “เเจ้ง” ให้นายจ้างซื้อประกันของเอกชนให้แรงงานข้ามชาติ ในราคา 500 บาท จากบริษัทประกันภัยเอกชน เพื่อให้ความคุ้มครองกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ทดเเทนการรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนของรัฐ แต่ประกาศดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เเละรัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งเเตกต่างจากระบบกองทุนเงินทดแทน ที่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานให้บังคับใช้กฎหมายเเละลงโทษนายจ้างที่ไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทน ระบบประกันภัยเอกชนจึงเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ เเละไม่สามารถประกันการเข้าถึงการได้รับการชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุ

นโยบายใหม่นี้ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศ และยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อแรงงานข้ามชาติประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่าที่ทำงานในประเทศไทย แรงงานเหล่านี้เผชิญความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยและได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เพราะไม่ได้รับการคุ้มครองเพียงพอ แม้องค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การสหประชาชาติจะทักท้วงนโยบายของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด แต่ปัจจุบัน นโยบายของรัฐบาลไทยก็ยังคงเลือกปฏิบัติต่อแรงงานพม่าอย่างเป็นระบบและปล่อยให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยังดำเนินต่อไป

ในการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลไทยครั้งที่เเล้ว คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญองค์การเเรงงานระหว่างประเทศ เเละผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติด้านการย้ายถิ่นเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนนโยบายตามหนังสือเวียนที่ รส 0711/ ว751 ซึ่งปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงได้ ขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งกองทุนประกันภัยเอกชนเเยกต่างหากสำหรับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเหยื่ออุบัติเหตุเเละการเจ็บป่วยจากการทำงาน โดยเเยกต่างหากจากกองทุนเงินทดแทน ภายใต้นโยบายปัจจุบัน แรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับความคุ้มครองเเละยังเป็นกลุ่มเปราะบางต่อเเนวปฏิบตัิที่ละเมิดสิทธิเเละการเลือกปฏิบัติกับเเรงงานข้ามชาติ สรส. ได้รับรายงานมาว่าในหลายกรณี ไม่อาจเชื่อมั่นว่ านายจ้างจะสมัครใจให้ความคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติด้วยตนเอง นายจ้างยังหลบเลี่ยงความรับผิด หรือเเจ้งตำรวจให้มาจับลูกจ้าง โดยเฉพาะกรณีลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ระบบการประกันภัยภาคเอกชนที่เเยกการคุ้มครองเเละให้สิทธิประโยชน์กับแรงงานข้ามชาติน้อยกว่าเเรงงานไทยเป็นระบบที่ไม่สามารถยอมรับได้เเละเป็นระบบที่เลือกปฏิบัติโดยธรรมชาติ เเรงงานในประเทศไทยทุกคน ไม่ว่าจะมาจากเเห่งหนหรือสัญชาติใดต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้สิทธิเเรงงานเเละการคุ้มครองเเรงงานภายใต้กองทุนเงินทดแทนเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ สรส. ขอเรียกร้องให้องค์การเเรงงานระหว่างประเทศและประชาคมนานาชาติ สนับสนุนข้อเรียกร้องนี้เเละดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เเรงงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ได้รับสิทธิเเละการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าเเละเท่าเทียมกัน

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ:

• นายสาวิทย์ แก้วหวาน (เลขาธิการ สรส.): +41 7676 57807 (เจนีวา) (ภาษาไทย)

• นายสมบุญ ทรัพย์สาน (ที่ปรึกษา สรส.): +66 813 520035 (กรุงเทพฯ) (ภาษาอังกฤษ/ไทย)