คสรท.เผยสำรวจแรงงาน 16 จังหวัด ชี้ มีรายได้ต่ำกว่า 300 บาทถึง 60กว่า % 1 คนจ่ายวันละ 384.39 บาท ถ้าครอบครัว 3 คน จ่ายวันละ 561.79 บาท ผลชี้ต้องใช้เงินอนาคต ทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน คุณภาพชีวิตต่ำ 5 สภาองค์การลูกจ้าง 1 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ร่วมเตรียมทวงรัฐ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเพื่อยาไส้ ส่งสัญญาณรวมพลเคลื่อนไหวใหญ่ วันที่ 7 ตุลานี้
เครือข่ายองค์กรแรงงาน โซลิดาริตี้ เซ็นเตอร์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้จัดการสัมมนานโยบายค่าจ้าง แนวคิดร่วมสมัย มุมมองและประสบการณ์ วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค ดินแดง กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้นำแรงงาน นักวิชาการ ข้าราชการ และสื่อมวลชน ราว 200 คน
เผดิมชัย เตรียมงบพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับการเปิดตลาดอาเซียน
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว. แรงงาน) ได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง นโยบายค่าจ้าง และแรงงานของรัฐบาลใหม่ ว่า เมื่อเข้ามาทำงานในกระทรวงแรงงาน นโยบายแรงงานวันนี้ ที่สำคัญ คือ เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง รวมไปถึงครอบครัวผู้ใช้แรงงานจะมีชีวิตที่ดีหรือไม่ขึ้นอยู่ที่การมีค่าจ้าง และผลผลิตของนายจ้างจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่ค่าจ้างเช่นกัน การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการกำหนดภายใต้ระบบคณะกรรมการไตรภาคี ที่สหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐจะมีการนำเสนอการปรับค่าจ้างเอง ในประเทศแถบยุโรปก็ใช้รูปแบบนี้เช่นกัน ใช้แนวคิดการปรับค่าจ้างแบบเดียวกับประเทศไทย วันนี้เป็นการที่นำแนวคิดในการปรับค่าจ้างจากต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปในการนำเสนอปรับค่าจ้าง
ในปี 2555 ประเทศไทยมีกำลังแรงงาน 38 ล้านคน มีผู้ว่างงาน 1 แสนล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขเดือนมิถุนายน 2554 สาระนโยบายด้านแรงงานของรัฐบาคือ แรงงานเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต แรงงานต้องมีการยกคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ชิ้นงานของนายจ้างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ ด้านคุณภาพผลผลิตที่ดีให้กับนายจ้าง เมื่อนายจ้างมีสินค้าที่มีคุณภาพขายได้ ลูกจ้างก็ควรได้ค่าตอบแทนมากขึ้น
การที่รัฐบาลได้ประกาศเรื่องรายได้ค่าจ้างขั้นต่ำ ความหมาย ครอบคลุมรายได้แรงงานนอกระบบด้วย การที่บอกว่า ดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททันที คือ รัฐบาลทำจริง แต่ต้องเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้างอยู่ได้ การใช้คำว่ารายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท ไม่ได้หมายถึงรวมถึงค่าล่วงเวลา การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถือว่าเป็นรายได้ รัฐบาลต้องยืนอยู่ได้ทุกภาคส่วนเข้ามาพูดคุยกัน จะไม่ให้เกิดปัญหาว่า ฝ่ายหนึ่งต้องมีค่าจ้างเพื่ออยู่รอด อีกฝ่ายต้องมีการผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ การประกาศนำร่องขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ใน 7 จังหวัด จึงเป็นการเสนอเพื่อให้มีการดำเนินการจากสถานประกอบการที่ทำได้ก่อน อย่างไรนโยบายค่าจ้างนี้ทำแน่นอน โดยมีนโยบายสร้างมาตรการฝีมือแรงงาน เป็นการเพิ่มรายๆได้ ต้องเสริมทักษะให้แรงงานเพื่อให้มีฝีมือมากขึ้น เพื่อไม่ให้บริษัทมองการปรับค่าจ้างเป็นการเสียเปล่า ถ้าแรงงานมีฝีมือทำงานที่มีคุณภาพให้กับนายจ้าง การปรับขึ้นค่าจ้างทำให้นายจ้างมีสินค้าดีๆขาย ฉะนั้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำเป็นที่ต้องมีงบประมาณในการพัฒนาฝีมือแรงงาน นำเงินไปส่งเสริมสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน พื้นที่ไหนมีศักยภาพด้านใด มุ่งเน้นการพัฒนาแรงงาน เป็นการยกระดับการใช้แรงงานที่มีฝีมือ
การที่แรงงานทำงานมีการทำสำรวจเรื่องรายได้ รายจ่ายของผู้ใช้แรงงาน สถานประกอบการ ทางรัฐจะมีการสนับสนุนการลงทุน เพราะธุรกิจที่มีปัญหาคือ ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก ให้นายจ้างคิดว่า หากปรับขึ้นค่าจ้าง จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในตลาดมีการบริโภคมากขึ้นนายจ้างก็ค้าขายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานให้สูงขึ้น การพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศไทยให้สูงขึ้น เพื่อดึงประเทศต่างๆที่ต้องการแรงงานฝีมือมาลงทุนมากขึ้น
กระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีการพัฒนา ต้องการแรงงานที่มีคุณภาพฝีมือ การที่จะใช้ฐานแรงงานราคาถูกในการพัฒนาการส่งออกไม่เป็นการดีอีกต่อไป นายจ้างต้องมีการปรับตัวตามตลาดโลกที่เปลี่ยนไปด้วย การที่จะเปิดตลาดอาเซียน การเคลื่อนย้ายทุน ตลาด แรงงานเสรี จากการที่ประเทศในแถบอาเซียนรวมตลาดกัน มีการลงทุนในประเภทแรงงานฝีมือ เช่น รถยนต์ อะไหล่ การไหลเข้ามาของแรงงานข้ามชาติที่จะเข้ามาทั้งแรงงานฝีมือ และไร้ฝีมือ รัฐบาลต้องดูแล เช่นแรงงานข้ามชาติที่เข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นแรงงานไร้ฝีมือมีจำนวนมาก ต้องมีการจัดระเบียบ มีการควบคุมเข้มงวด เพราะผลกระทบคือความมั่นคงของชาติ
การจัดเพิ่มระบบสวัสดิการสังคมที่ดีให้กับแรงงานไทย มีการคุ้มครองแรงงานให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ให้มีการจัดระบบสวัสดิการที่เข้มแข็ง มีความเป็นธรรมในการที่จะรวมตัว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต้องมีการแก้ไขให้เกิดความสอดคล้อง กับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับ87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม ขณะนี้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ด้วย
นักวิชาการเยอรมัน หนุนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เสนองานวิจัยทุนโลกกดค่าจ้างแรงงาน
Prof. Dr Hans-Joerg Herr,Berlin School of Ecoonomics ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมนี นำเสนอเรื่อง นโยบายค่าจ้าง และค่าจ้างขั้นต่ำ-เครื่องมือเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลกสร้างผลกระทบ เนื่องจากมีการผ่อนคลายกฎระเบียบ เปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้ที่มีสัดส่วน เกิดช่องว่างทางรายได้มากขึ้น ทำให้ค่าจ้างแรงงานลดลง มีโครงสร้างค่าจ้าง เพราะการกระจายปรับค่าจ้างให้แต่ละรัฐเป็นผู้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ช่องว่างทางค่าจ้างมากขึ้น นโยบายการเก็บภาษี เป็นการให้ผลประโยชน์กับภาคธุรกิจมากกว่า มีนยาบายส่งเสริมกระตุ่นการใช้จ่ายจากผู้คน การปล่อยเงินกู้ เพื่อสร้างกำลังซื้อ ทำให้เกิดหนี้สินมากขึ้น
นโยบายส่งออกเกิดปัญหาขาดดุลทางการค้า มีการแก้ไขกฎระเบียบที่เปลี่ยนไป คือการดูแลตลาดแรงงาน การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นฐานค่าจ้างที่กำหนดในแต่ละประเทศ มีการกระจายด้านค่าจ้าง แบ่งเป็นชั้นๆ คนงานจะมีค่าจ้างที่ต่างกันมากขึ้น ทำให้การกระจายรายได้ของคนทั้งประเทศเปลี่ยนไป ทำให้ผลในการใช้จ่ายมีความต่างไป ทำให้เกิดการกระจายแนวคิดนี้ไปทั่วโลก แต่มีแนวคิดของนายจ้างบริษัทฟอร์ด ในยุค 1960 ที่มีแนวคิดในการปรับค่าจ้างให้กับคนงานฟอร์ด ด้วยเชื่อว่าหากคนงานมีเงินเดือนที่เพียงพอก็สามารถที่จะซื้อรถยนต์ฟอร์ดของนายจ้างได้ หากค่าจ้างคนงานต่ำจะมีกำลังซื้อในตลาดได้อย่างไร
การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้คนงานที่ทำงานมีค่าจ้างขั้นต่ำ หากมีการเปลี่ยนอัตราค่าจ้างเป็นระบบโครงสร้างค่าจ้างมีการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ จะทำให้เกิดการว่างงาน ของแรงงานมากขึ้น แต่ที่ประเทศนอร์เวย์ ขบวนการสหภาพแรงงานเข้มแข็งมาก ทำให้การมีค่าจ้างไม่ต่างกันมาก มีค่าจ้างสูง ราคาอาหารจ่ายแพง แต่ก็สามารถอยู่ได้ ส่วนที่ประเทศสเปนคนงานมีค่าจ้างขั้นต่ำจำนวนมาก อัตราผู้ว่างงานมีมากเช่นกัน
การที่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ผลการกระจายรายได้คนงานมีความห่างกันมาก ข้ออ้างว่า การเพิ่มอัตราค่าจ้างจะทำให้เกิดปัญหาว่างงานมากขึ้น ตลาดสินค้าแพงขึ้น การจับจ่ายน้อยลง ตนคิดว่า คิดแบบนี้ไม่ถูก คนที่จะคิดแบบนี้ไม่ได้ เพราะค่าจ้างไม่ใช่การเพิ่มต้นทุนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นแรงในการจับจ่ายในตลาดด้วย การที่จะบอกว่าหากเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้น หากเป็นเช่นนั้นทำไม การเพิ่มค่าจ้างในร้านแม็กโดโน ที่ถือว่าเป็นคนงานที่ไร้ฝีมือ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้นเลย
ค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อการพัฒนาทางหมดของเศรษฐกิจ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างของค่าจ้างที่เป็นไปทั่วโลก คือ คนงานไร้ฝีมือส่วนใหญ่ต่างได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนคนงานที่มีฝีมือจะได้รับค่าจ้างสูงขึ้น การเพิ่มค่าจ้างต้องโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ในการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน
ในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำว่า อย่าโยงกับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การเจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างทั่วไปต้องประสานกันในระดับเศรษฐกิจ การเจรจาต้องโยงผลิตภาพแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ และมีการกำหนดอัตราค่าจ้าง เพื่อปกป้องคนงานที่ยากจนที่ไม่มี่อำนาจต่อรอง และไม่มีตัวแทนในการเจรจาต่อรอง คนกลุ่มนี้มีความจำเป็นที่ต้องมีการปรับค่าจ้าง และกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการปรับเพิ่มค่าจ้างต้องทำทั้งสองแนวทาง คือ เจรจาต่อรอง และพัฒนาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นทุกปี ในอังกฤษ มีการตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง นักวิชาการอิสระ เข้ามาร่วมในการพิจารณาปรับค่าจ้าง การมีนักวิชาการเข้ามา จะได้มีข้อเสนอแนะในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกปี
อัตราค่าแรงขั้นต่ำไม่ควรเข้ามาทดแทนการเจรจาต่อรอง คนงานต้องมีระบบสวัสดิการที่เพียงพอ ที่อุดช่องว่างด้วย ประเทศไทยควรเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อทำให้เกิดการกระจายรายได้ในทุกพื้นที่ให้ดีขึ้น การออกรูปแบบค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลดีกับคนงานที่มีรายได้ต่ำ แต่จะทำให้คนงานรอการปรับขึ้นค่าจ้าง ไม่ใช้การเจรจาต่อรองร่วม
ต้องทำให้รัฐบาลรู้ว่า การที่ประเทศไทยเสนอเรื่องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เพราะประเทศต่างๆตอนนี้มีการเสนอให้มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นต่ำเช่นกัน เพราะประเทศต่างๆก็ถูกกดค่าจ้างมานาน การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการที่จะมีการนำคนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช้จะเกิดการว่างงาน เช่นประเทศนอร์เวย์ และประเทศที่ขบวนการแรงงานอ่อนแอ มีค่าจ้างที่ต่ำมาก
ตนมีการทำงานวิจัยร่วมกับทางILO เรื่องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำสามารถดูแลครอบครัวได้ ค่าจ้างขั้นต่ำนั้นสำหรับคนงานหนึ่งคนเท่านั้น ประเทศที่กำลังพัฒนาอาจใช้วิธีการแก้ปัญหา โดยการให้สวัสดิการดูแลครอบครัวคนงาน บางประเทศที่มีสหภาพแรงงานเข้มแข็ง ก็จะไม่มีการกำหนดค่าจ้างโดยการสร้างอำนาจต่อรองกับนายจ้าง มีการรวมตัวกันต่อรองกับสมาคมนายจ้าง ไม่ต้องพึ่งค่าจ้างขั้นต่ำ
ประเทศเยอร์มันไม่มีค่าจ้างขั้นต่ำ สหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งจะดูคนงานในอุตสาหกรรมต่างๆได้ ค่าจ้างที่ปรับขึ้นต้องดูผลิตภาพมวลรวม และค่าเงินเฟ้อมาดูด้วย โดยดูทั้งประเทศไม่ได้ดูเฉพาะอุตสาหกรรม ต้องมีความชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แล้วมีคนงานที่ไม่มีทักษะฝีมือมารองรับ อะไรจะเกิดขึ้น จะเกิดการว่างงาน มากขึ้นหากไม่มีการเพิ่มขึ้นค่าจ้าง ประเทศไทยต้องดูเรื่องโครงสร้างราคาสินค้า หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างแล้วบริษัทที่อยู่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เจ๊งไป เพื่อเป็นโอกาสให้กับบริษัทที่มีกำลังได้เพิ่มการผลิตมากขึ้น การกำหนดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำต้องไม่มีการกำหนดแตกต่างกัน หากมองว่าแต่ละพื้นที่มีการปรับต่างกัน แต่ควรมีการปรับขึ้นค่าจ้างให้ส่วนกลางเลยไม่ควรมีการให้การปรับค่าจ้างเป็นรายจังหวัด
แรงงานโอด หลังผลสำรวจค่าใช้จ่ายยังสูงลิ้วแค่ชีวิตคนเดียว 300 กว่าบาท เลี้ยงครอบครัว 3 คน กว่า 500 บาทต่อวัน แค่กินอยู่แบบธรรมดา ต้องทำงานหนักมากว่า 8 ชั่วโมง คุณภาพชีวิตเสื่อม หนี้อื้อ
นายชาลี ลอยสูง ได้นำเสนอผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงานในย่านอุตสาหกรรม ในระหว่างวันที่ 8 31 สิงหาคม 2554 โดยมี เครือข่ายองค์กรแรงงาน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ, สภาแรงงาน, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน ,แรงงานนอกระบบ ,ได้มีการออกแบบสำรวจตัวอย่างเพื่อประกอบการผลักดันค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยเป็นแบบสำรวจที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจริงในการดำรงชีพของลูกจ้าง 1 คน ต่อวัน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคอื่นๆที่ต้องจ่ายจริงต่อเดือน และข้อมูลค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันที่ควรจะเป็น ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของแบบสำรวจดังกล่าว 3,660 ชุด จากคนงานกลุ่มต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้มีดังนี้ ได้มีการทำแบบสำรวจในพื้นที่
จังหวัดภูเก็ต,สมุทรปราการ,ระยอง,นครปฐม,สมุทรสาคร,ชลบุรี,กรุงเทพฯ,สงขลา,นครราชสีมา,พระนครศรีอยุธยา,นนทบุรี,สระบุรี,ฉะเชิงเทรา, อ่างทอง,ปราจีน, ปทุมธานี รวม 16 จังหวัด มีผู้ตอบแบบสำรวจ 3,660 คน ผู้ตอบมีค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาทร้อยละ 68.61 ค่าจ้างมากว่า 300 บาท ร้อยละ 19.86 และมีผู้ไม่ตอบว่ามีค่าจ้างมากหรือน้อยกว่า 300 บาทร้อยละ 11.53
เรื่อง ค่าใช้จ่ายรายวันของผู้ใช้แรงงานคนเดียว ไม่รวมค่าใช้จ่ายบุตร ค่าผ่อนบ้าน รถ ค่ารักษาพยาบาล โดยมีรายการดังนี้ 1. ค่าอาหารเช้าวันละ 35 บาท ตกเดือนละ 1,050 บาท อาหารกลางวันๆละ 40 บาท ตกเดือนละ 1,200 บาท อาหารเย็นวันละ 50 บาทเดือนละ 1500 บาท ค่าเดินทางวันละ 50 บาทโดยเฉลี่ย เนื่องจากบ้างพื้นที่ก็สูงถึง 100 กว่าบาทด้วย อยู่ที่เดือนละ 1500 บาท ค่าน้ำเฉลี่ยที่ 6.50 บาท เดือนละ 201 บาท ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 16.67บาท ตกเดือนละ 500 บาท ค่าเช่าบ้านเฉลี่ยที่ 58.35 บาท รวมเดือนละ 1750.50 บาท ค่าโทรศัพท์เฉลี่ยอยู่ที่ 10 บาท รวมเป็นเดือนละ 300 บาท ค่าใช้จ่ายสินค้าจำเป็น เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เสื้อผ้าเฉลี่ยที่ 50 บาทรวมเดือนละ 1,500 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 31.67 บาท รวมเดือนละ 950 บาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายรายวันต่อ1 คน อยู่ที่ 348.39 บาท รวมเป็นเดือนละ 10451.50 บาท การที่คนงานอยู่ได้เพราะการทำงานล่วงเวลา และมีการเอาเงินอนาคตมาใช้ ฉะนั้นค่าจ้างที่สามารถเลี้ยงคนงานเพียงคนเดียวแบบไม่ต้องมีอะไรเลยอยู่ที่วันละ 348.39 บาท ส่วนผลสำรวจค่าใช้จ่ายรายวันของผู้ใช้แรงงานและครอบครัวรวม 3 คน ที่อยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควรอยู่ที่วันละ 561.79 บาท ซึ่งเดิมคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานได้สำรวจไว้เมื่อปี 2552 คือค่าจ้างขั้นต่ำ 421 บาท วันนี้การที่ผลสำรวจออกมาที่ 561.79 บาท จึงเป็นการเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ค่าใช้จ่ายที่สำรวจนี้ยังไม่รวมที่คนงานต้อง ส่งเงินไปให้ พ่อ,แม่, ค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนบุตร, ค่าเครื่องสำอาง, ผ่อนบัตรเครดิต,ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน,เสื้อผ้า รองเท้า,ค่าทำบุญ, ค่าใช้จ่ายกิจกรรมบันเทิง ดูหนังฟังเพลง หนังสือพิมพ์ หาความรู้เพิ่มเติม, เงินออมสำหรับอนาคต และค่าจ้างที่เป็นธรรม ต้องปรับเป็นโครงสร้างค่าจ้างกล่าวคือ เมื่อคนงานทำงานมาแล้ว 1ปี ต้องปรับค่าจ้างประจำปีให้กับคนงาน นักศึกษาจบ ปริญญาตรีต้องเริ่มต้นที่ 15,000 บาท และอย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จึงเป็นเพียงเบื้องต้นสำหรับคนงานที่แรกเข้าทำงานเท่านั้น
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาพัฒนาแรงงานแห่งชาติการทำงานเชิงข้อมูลวันนี้ ที่มีการนำเสนอ เป็นการทำงานร่วมกันของสภาด้วย การนำเสนอของรมว. แรงงานวันนี้ยังเสนอว่ารายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท การที่นโยบายเสนอคือปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ การที่ค่าจ้างขั้นต่ำ ภูเก็ต 221 บาท ยังไงค่าจ้าง 300 บาท ไม่ได้แน่นอน วันนี้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขึ้นโดยระบบไตรภาคี หากแรงงานไม่มีการเสนอข้อเรียกร้องไป รัฐบาลไม่มีการปรับค่าจ้าง ก็จะไม่มีการปรับค่าจ้างเด็ดขาด การที่มีกลุ่มแรงงานไปพรรคการเมืองเสนอให้มีการปรับค่าจ้างเป็นการนำร่องแต่ละพื้นที่ได้ ทำให้เกิดปีญหาแน่นอนเพราะค่าใช้จ่ายทุกวันนี้ราคาสินค้าเท่ากันหมดแล้ว เพราะห้างต่างๆขยายสาขาไปทั่วประเทศแล้ว วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่มีการร่วมกันทำงานและลงความต้องการของผู้ใช้แรงงานในเวทีเดียวกัน
นายบรรจง บุญยรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแห่งประเทศไทย การที่ลูกจ้างสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในทุกวันนี้ ว่าลูกจ้างอยู่ได้ เพราะต้องทำงานล่วงเวลา ระบบการทำงาน 3 แปดได้ถูกทำลายไปเนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำ การประชุมของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีการประชุมหากไม่มีการเรียกร้อง นโยบายที่เสนอต่อสาธารณะหากรัฐบาลไม่ทำสามารถฟ้องร้องได้
นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล สภาองค์การลูกจ้างยานยนต์แห่งประเทศไทย รัฐบาลได้หาเสียงด้วยนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทำให้เป็นที่ไว้วางใจจากผู้ใช้แรงงานจนได้ชัยชนะ แรงงานทุกวันนี้จะทำงานจนลูกจนหลานก็ยังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตลอดชีวิต หากอยากได้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต้องออกไปเดินขบวน รณรงค์ ต้องมีคนมาร่วมมากๆถึงจะได้ ทำไมนโยบายที่เสนอมาเป็นการนหลอกลวงแรงงานหรือ เพื่อให้ชนะการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน ถึงได้ต้องบอกให้ออกไปเดินขบวน หากทำไม่ได้นายกต้องออก ต้องแสดงสปริตลาออกไป
นายอุดมศักดิ์ บุพนมิตร ประธานสภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย รัฐบาลเมื่อเข้ามาเป็นผู้นำรับบาลก็พลิวแล้วไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว รมว.นำเสนอว่าเป็นรายได้ 300 บาท ทุกคนที่อยู่ตรงนี้ส่วนใหญ่ได้ค่าจ้าง บวกสวัสดิการเกินค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การที่นำเสนอค่าจ้างผลการสำรวจของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นการประกาศให้รู้ว่า ความเป็นอยู่ของแรงงานต้องการมีค่าจ้างที่อยู่ได้ ซึ่งการเสนอผลสำรวจนี้ เป็นการ
การที่รัฐบาลได้โยนการปรับค่าจ้าง 300 บาทก็เป็นคำตอบที่สอดคล้องกับความต้องการของคนงาน แต่วันนี้ที่รัฐบาลบอก 300 บาทค่าสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นไม่หยุด พอคนงานได้ปรับค่าจ้างสินค้าอาจแพงจนอยู่ไม่ได้อีกเช่นกัน การนำเสนอปรับค่าจ้างหากไม่ทำทันที และไม่มี่การกำหนด
สินค้าอุปโภคบริโภค จะทำหึความอยู่ของคนงานไม่ได้ดีไปกว่าเดิม แบบสำรวจที่ออกมาไปไกลกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่คนงานจะอยู่ได้ เพราะสินค้าทั่วประเทศปรับขึ้นเท่ากัน
สรุป ค่าใช้จ่ายของแรงงานเพิ่มขึ้นมากมาย เมื่อรัฐบาลกำหนดปรับค่าจ้าง 300 บาทก็ได้ แต่ต้องเท่ากันทั่วประเทศ ผุ้นำแรงงานต้องการสร้างความเป็นเอกภาพ เพื่อการเคลื่อนไหว การที่กำหนดเป็นนโยบายแล้วไม่ปฏิบัติ แรงงานทุกคนวสามารถฟ้องร้องๆได้ การไม่กำกับดูแลการปรับสินค่าอุปโภคบริโภค อาจทำให้การปรับค่าจ้างไม่ได้ประโยชน์อะไร
จากนั้น นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้ร่วมกับทางสภาองค์การลูกจ้าง แถลงการณ์การเคลื่อนไหวผลักดัน ต่อประเด็นการเสนอนโยบายค่าจ้าง นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน
ต้องเท่าเทียมกันทั่วประเทศ พร้อมร่วมกันร่วมรวมลายชื่อคนงานที่กินค่าแรงขั้นต่ำ ยื่นฟ้อง หากรับบาลไม่ทำตามสัญญา นัดเคลื่อนไหวใหญ่ในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ เป็นการชิมราง
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน