Thai / English

เผยภัยพิบัติญี่ปุ่น กระทบแรงงานไทย “ออเดอร์ลด-งดโอที-ประกาศใช้มาตรา 75”


ทีมข่าวแรงงาน
25 .. 54
ประชาไท

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเผยเหตุภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นส่งผลกระทบคนงานไทย “ออเดอร์ลด-งดโอที-ประกาศใช้มาตรา 75” มีสถานประกอบการ 1,204 แห่ง ลูกจ้างกว่า 165,000 คน เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว ด้านคนงานเผยหากใช้ ม.75 ค่าชดเชยไม่พอเลี้ยงชีพ อาจต้องหางานที่อื่นทำด้วย เพราะกฎหมายไม่ห้าม แต่นายจ้างโปรดอย่าบล็อก

24 มี.ค. 54 - ญี่ปุ่น เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าวัตถุดิบตลอดจนชิ้นส่วนประกอบเพื่อการ ผลิตสินค้าหลากชนิดนับตั้งแต่เหล็กกล้า วัตถุดิบประกอบยานยนต์ไปจนถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หลังเหตุการณ์สึนามิแม้ผู้ประกอบการโรงงานหลายรายจะออกมายืนยันว่ามีสินค้า ในสต๊อกเพียงพอที่จะใช้สำหรับการผลิต หรืออย่างน้อยก็มีแหล่งซื้อสินค้าจากที่อื่นแต่ผู้ประกอบการอีกหลายรายทั่ว โลกก็เริ่มมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกี่ยว กับรถยนต์และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์

จาก ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่ตามมาด้วยคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้ธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งแปซิฟิคจำนวนมากปิด ทำการและหยุดการผลิต แต่นอกเหนือจากพื้นที่ Tohoku ที่ อยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้ว สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือเสียหายเพียงเล็กน้อย จึงเป็นการหยุดทำการเพื่อตรวจสอบสภาพความปลอดภัย ขณะที่บางส่วนไม่สามารถเดินสายการผลิตได้เนื่องจากกระแสไฟฟ้าดับ รวมทั้งอุตสาหกรรมบางส่วนปิดโรงงานเพื่อลดการใช้พลังงานในช่วงที่ญี่ปุ่น ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า

สำนักข่าว Bloomberg รายงานเมื่อวันที่ 22 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า Toyota Motor อาจต้องปิดโรงงานประกอบชิ้นส่วน 12 แห่งในญี่ปุ่น และยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้เมื่อใด ส่วน Sony บริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกระบุว่า โรงงาน 5 แห่ง ที่อยู่ในตอนกลางและตอนใต้ของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการขาดแคลน วัตถุดิบชิ้นส่วน อาจจะต้องปิดโรงงานหรือลดกำลังการผลิตจนถึงวันที่ 31 มี.ค. นอกจากนี้โรงงานอย่าง Fujitsu, Hino Motors, Hitachi, Isuzu Motors, Japan Tobacco Inc., Kikkoman, Mitsubishi Motors และ Panasonic ยังให้ข่าวว่าพวกเขายังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเปิดกำลังการผลิตเต็มที่ได้เมื่อใด หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา

สำหรับ ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้รับจ้างประกอบชิ้นส่วน (นำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบนำมาประกอบแล้วส่งออก โดยใช้จุดเด่นก็คือค่าแรงราคาถูก) มีอุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็น อุตสาหกรรมหลัก และส่วนใหญ่นำเข้าชิ้นส่วนจากประเทศญี่ปุ่น แรงงานในโรงงานที่รับจ้างผลิตให้แบรนด์ดังๆ ของญี่ปุ่นกำลังได้ผลกระทบแล้ว

นางอัมพร นิติสิริ อธิบดี อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 54 ว่า ในขณะนี้ทางกรมฯ ได้กำชับให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งให้คำแนะนำกรณีประสบปัญหา โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล่าสุดสถานประกอบการใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ และระยอง มีสถานประกอบการ 1,204 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกว่า 165,000 คน เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว เพราะส่วนใหญ่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังมีอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในข่ายการเฝ้าระวังเป็นพิเศษว่าได้รับผลกระทบในด้านใด ส่วนมาตรการแก้ปัญหาในเบื้องต้นได้แนะนำให้ใช้วิธีการลดการทำงานล่วงเวลา ลดวันทำงาน หรือใช้มาตรา 75 ในการหยุดงานแต่นายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของ อัตราเงินเดือน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว และจะไม่มีการปลดคนงาน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายในการฟื้นฟูประเทศที่ชัดเจน

บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ให้ข้อมูลว่าสถานการณ์ในภาคตะวันออกโดยเฉพาะในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางแห่งออเดอร์เข้ามาน้อย ทำให้มีการลดกำลังการผลิตและบางโรงงานประกาศใช้มาตรา 75 แล้ว

“สำหรับ โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อาจมีโยกการผลิตการส่งออกไปได้ แต่สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ถืออาจได้รับผลกระทบหนัก แต่ทั้งสองอุตสาหกรรมนี้ก็พบว่ามีการปรับตัวในช่วงนี้บ้างแล้ว งดโอที และบางแห่งต้องประกาศใช้มาตรา 75 แล้ว”

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75

ใน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หลายบริษัท ฯ อาจต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน งานไม่มี หนี้เพิ่ม คนล้นงาน แต่นายจ้างบางรายอาจไม่ต้องการลดหรือเลิกจ้างพนักงาน นายจ้างอาจใช้วิธีการลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ลดสวัสดิการ เป็นต้น

มาตรการหนึ่งที่นายจ้างสามารถนำมาใช้ก่อนถึงวิธีการเลิกจ้าง ก็คือ การหยุดกิจการหรือปิดกิจการเป็นการชั่วคราว

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 กำหนดว่า “ ใน กรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการ ประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่ง มิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างใน วันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำการ”

หลักเกณฑ์ที่ต้องนำมาใช้เกี่ยวกับการหยุดกิจการชั่วคราว คือ

- มีเหตุจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว

เหตุ จำเป็น เช่น ประสบปัญหาด้านการเงิน การตลาด คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก คำสั่งผลิตลดลง ทำให้กระบวนการผลิตได้รับผลกระทบ หรือลดลง เป็นต้น

หยุดกิจการชั่วคราว คือ การกำหนดวันหยุดปิดกิจการเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งช่วงใด หรือหลายช่วงต่อเนื่องกัน

- การหยุดกิจการนั้นมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย

คำว่า “เหตุสุดวิสัย”หมาย ความว่า เหตุใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ ทั้งจากผู้ประสบภัยเองหรือบุคคลใกล้เคียง แม้จะได้ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในสภาวะเช่นนั้น เช่น น้ำท่วม พายุเข้า แผ่นดินไหว ซึ่งนายจ้างไม่สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้าได้ ทำให้บริษัท โรงงาน หรือสถานประกอบการได้รับความเสียหายและต้องปิดปรับปรุง ซ่อมแซม ถือว่า เป็นสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างไม่อาจป้องกันได้ เหตุที่ต้องให้ลูกจ้างหยุดงานด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างจึงไม่จำต้องจ่ายค่าจ้าง เพราะถือว่าการจ่ายค่าจ้างด้งกล่าวตกเป็นเหตุพ้นวิสัยเพราะเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างในระหว่างปิดกิจการ

- หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน

หาก เข้าองค์ประกอบเหตุที่ต้องหยุด นายจ้างสามารถกำหนดให้หยุดได้ แม้บางส่วน เช่น บางฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ เฉพาะฝ่ายผลิต หรือเฉพาะในส่วนออฟฟิศ หรือ ทั้งหมด ทั้งโรงงาน ก็ได้

- จ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ปิดกิจการไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างปกติที่ลูกจ้างได้รับก่อนปิดกิจการชั่วคราว

ก่อน ปิดกิจการ ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเท่าใด ให้คำนวณจ่ายในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ตลอดเวลาที่ให้ลูกจ้างหยุด ไม่ว่าพนักงานรายวันหรือรายเดือน โดยสามารถคำนวณได้ตามประเภทของลูกจ้าง

- แจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่าสามวันทำการ

การ แจ้ง ต้องทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุจำเป็น ผลกระทบ จำนวนลูกจ้างหรือ ฝ่าย หรือทั้งหมด ที่ต้องการให้หยุด กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนชัดเจน ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด แจ้งให้ลูกจ้างทราบ อาจเป็นประกาศและส่งสำเนาให้ หรือให้ลงชื่อรับทราบก็ได้ และต้องส่งให้พนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ หรือพนักงานตรวจแรงงานจังหวัดทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวันทำการ ก่อนเริ่มหยุดหรือปิดกิจการ

มณีรัตน์ อาจวิชัย ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ ประเทศไทย ให้ ข้อมูลว่าขณะนี้ทางโรงงานเองก็มีการประเมินวันต่อวันเรื่องผลกระทบ ทั้งนี้เหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นในช่วงปิดงบพอดี (เป็นช่วงที่กำลังผลิตมีน้อยอยู่แล้ว) ทำให้ ณ ปัจจุบันผลกระทบระยะยาวยังอาจจะดูไม่ออก แต่ที่เห็นชัดแล้วก็คือไม่มีโอที และลดกำลังผลิตแรงงานชั่วคราว เช่นที่โรงงานโซนี่อยุธยาก็มีการส่งเด็กฝึกงานกลับสถาบันไปแล้ว ทั้งนี้ก็มีข่าวว่าโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่รับชิ้นส่วนมาจากเมืองเซ็นไดหลาย โรงงานในประเทศไทยเริ่มมีการประกาศใช้มาตรา 75 บ้างแล้ว

“ถ้าใช้มาตรา 75 นี่ มีผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินรายเดือนที่คนงานมี หากได้รับเงินเดือนเต็ม ก็จะเป็นปัญหาอย่างมาก แต่เรื่องผลกระทบจากสึนามินี่เป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ เพราะใครไม่อยากให้เกิด และหากมีการลดกำลังการผลิตก็หวังว่าผู้บริหารจะคงรักษาแรงงานเอาไว้ในโรงงาน ต่อ”

ทั้งนี้บุญยืนให้ความเห็นถึงผลกระทบหากมีการลดออเดอร์ และมีการประกาศใช้มาตรา 75 คนงานยังสามารถไปทำงานที่อื่นได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม แต่อาจพบปัญหาหลายอย่าง เช่น การไปรายงานตัวต่อโรงงานเดิม

“กฎหมายไม่ได้ห้ามให้คนทำงานหลายที่ แต่นายจ้างอาจจะสร้างอุปสรรคไม่ให้คนงานไปทำที่อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศใช้มาตรา 75 ซึ่ง คนงานอาจจะต้องหางานที่อื่นทำขณะที่โรงงานเดิมไม่มีงานเข้ามา แต่หลายแห่งคนงานต้องไปลงชื่อที่โรงงานทุกวันซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไปทำงาน ที่อื่นขณะที่โรงงานเดิมไม่มีงาน”

กรณีศึกษา ระหว่างประกาศใช้มาตรา 75 ลูกจ้างไปทำงานที่อื่นนายจ้างงดจ่าย-เลิกจ้างไม่ได้

กฎหมายได้ระบุว่าระหว่างที่ลูกจ้างรับเงิน 75% ตามมาตรา 75 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ นั้น กฎหมายไม่ได้ระบุห้ามไม่ให้ลูกจ้างไปทำงานที่อื่น และการไปทำงานที่อื่นนั้น ไม่ใช่เจตนาเลิกสัญญาจ้างหรือการลาออก แต่เป็นการไปแสวงหารายได้เพื่อยังชีพระหว่างที่รายได้ลดลงในขณะที่กำลัง เดือดร้อน ทั้งนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน เลขที่ 27675/2548 ระบุไว้ว่า เมื่อกฎหมายไม่ได้ห้ามไปทำงานที่อื่น ลูกจ้างยังไม่ยกเลิกสัญญาจ้าง ยังไม่ลาออก การที่นายจ้างหยุดจ่าย 75% นั้นจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด จึงให้นายจ้างค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง