Thai / English

เจรจาเหลว นายจ้างพลิ้ว คนงานบุกพรรคปชป.จี้นายกฯช่วยเหลือ

คนงาน 3 บริษัท เคลื่อนขบวนทวงถามนายกฯ ปักหลักรอหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เจรจาเหลวนายจ้างแม็กซิสฯพลิ้วพร้อมยื่นข้อเสนอเพิ่มหวังกล่อมคนงานให้รับ ข้อเสนอ คนงานลุ้นวันนี้รัฐมนตรีแรงงานช่วยอีกครั้ง
อัยยลักษณ์ เหล็กสุข นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ชลบุรี – ระยองรายงาน
24 .. 54
http://voicelabour.org/?p=2851

วันนี้(22 ก.พ. 54) คนงานทั้ง 3 บริษัท เคลื่อนขบวนออกจากหน้ากระทรวงแรงงานด้วยรถยนต์ โดยมีเป้าหมายที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อยื่นหนังสือต่อนายกฯ อภิสิทธ์ ทวงถามความคืบหน้าหลังจากเคยยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกฯเมื่อกลางเดือน มกราคมที่ผ่านมา และมีคนงานกลุ่มหนึ่งยังคงปักหลักรอผลเจราจาที่หน้ากระทรวงแรงงาน

เมื่อขบวนคนงานทั้ง 3 บริษัท เดินทางถึงพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อรอพบนายกรัฐมนตรี ทวงถามแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีของบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ 300/1 ม.1 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ผลิตยางรถยนต์แบรนด์แม็กซิส นายจ้างเป็นชาวไต้หวั่น ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 13 มกราคม 2554 และร้องเรียนเรื่องที่บริษัทฯทำผิดระเบียบของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเรื่องการนำแรงงานต่างชาติมาทำงาน ว่าถูกต้องหรือไม่

กรณีบริษัทพยามยามขอลดสวัสดิการคนงานทั้งที่เศรษฐกิจในปี 53 นั้นไม่ได้มีผลกระทบ มีการขยายโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 3 โรง และหลังจากมีปัญหาข้อพิพาทแรงงาน บริษัทฯได้นำแรงงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานแทนคนงานไทย โดยมีข้อร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ดังนี้

สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทยมีข้อเรียกร้องดังนี้

1. ให้บริษัทฯส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมาเจรจาเพื่อหาข้อยุติ

2. ให้ถอนข้อเรียกร้องของบริษัทฯเพราะไม่เป็นคุณกับพนักงานและไม่เป็นผลดีต่อการเจรจา

3. ให้บริษัทฯปฏิบัติกับพนักงานและแรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

4. ให้บริษัทฯยุติการกดดันและแทรกแซงการทำงานของสหภาพ

5. ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด

ในระหว่างที่คนงานนั่งรออยู่ที่หน้าตึกพรรคประชาธิปัตย์ นายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษากระทรวงแรงงานได้นำตัวแทนคนงานเข้าไปเจรจาด้านในตึกของพรรคประชาธิ ปัตย์ โดยการประสานงานกับเลขาพรรคประชาธิปัตย์

คนงานหญิงที่เดินทางมากับขบวนคนงานทั้ง 3 บริษัท รายหนึ่งกล่าวว่า “อนาคตไม่รู้จะเป็นอย่างไร หนูไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับหนูบ้างเพราะหนูเดินเท้ามากับขบวนด้วย ตอนนี้ยังไม่ได้ไปหาหมอเลย ไม่รู้ว่าท้องหนูเป็นยังไง ที่หนูเดินมากับขบวนหนูเดินด้วยใจ เดินด้วยพลังที่จะช่วยเป็นกำลังให้กันและกัน หนูขอความเมตตาอีกครั้งให้กับผู้ใช้แรงงาน พวกเราไม่ได้เรียกร้องอะไรมากมาย ถ้าไม่มีคนงานอย่างพวกเรา ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร พวกเราโดนกดขี่ข่มเหง ถ้าท่านดูแลเราดีเราก็ไม่เดินมาที่นี่ ถ้าเราไม่เดือดร้อนเราก็ไม่เดิน หนูขอวิงวอนท่านนายกให้ช่วยพวกหนูด้วยค่ะ”

หลังจากนั้นคนงานก็นั่งรอฟังผลเจรจาจากที่กระทรวงแรงงานกับตัวแทนเจรจา ที่พรรคประชาธิปัตย์โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง กับผู้อำนวยการศูนย์พรรคประชาธิปัตย์

เวลา 10.00-23.10 น. นายธานินทร์ ใจสมุทร นายพงศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักงานแรงงานสัมพันธ์กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน และสำนักสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน ระหว่างผู้แทนสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย กับผู้แทนบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผลไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ และบริษัทฯได้มีข้อเสนอใหม่ ให้คนงานพิจารรา ดังนี้ 1. บริษัทฯเสนอสภาพการทำงาน 3 กะ พร้อมรูปแบบสิทธิประโยชน์ให้สหภาพแรงงานให้สหภาพแรงงานฯพิจารณาเลือก Package จำนวน 7 รูปแบบ ดังนี้

ชุดที่ 1

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 2 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ (ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 700 800 และ 900 บาท

ชุดที่ 1.2

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 2 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ(ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 700 และ 800 บาท

3. ให้ค่ากะเป็น กะบ่าย 30 บาท กะดึก 55 บาท

ชุดที่ 1.3

1.เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 2 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ(ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2.ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 และ 700 บาท

3.ให้ค่ากะเป็น กะบ่าย 30 บาท กะดึก 55 บาท

4.ให้ค่าอาหารการทำงานล่วงเวลา เมื่อทำงานล่วงเวลาไม่น้อย 4 ชั่วโมง 30 บาท

ชุดที่ 2

ชุ่ดที่ 2.1

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 3 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ(ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 700 และ 800 บาท

3. ให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีกับพนักงานที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 1 วัน ทุกๆอายุงานเพิ่ม 2 ปี โดยหยุดพักผ่อนประจำปีสูงสุด 9 วัน (1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปีได้ 6 วัน , 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 ปีได้ 7 วัน , 5 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 7 ปีได้ 8 วัน,7 ปีขึ้นไปได้ 9 วัน)

4. ให้สิทธิพนักงานชายที่มีอายุงานเกิน 2 ปี ให้ลาบวชโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 18 วันทำงาน (ครั้งเดียวตลอดอายุงาน)

5. ให้สิทธิพนักงานหญิงที่สมรสตามกฎหมาย เมื่อแสดงหลักฐานการคลอดบุตร รับเงินช่วยเหลือ 4.000 บาท(ให้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2)

ชุดที่ 2.2

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 3 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ (ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 600 และ 700 บาท

3. ให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีกับพนักงานที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 1 วัน ทุกๆอายุงานเพิ่ม 2 ปี โดยหยุดพักผ่อนประจำปีสูงสุด 9 วัน (1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปีได้ 6 วัน, 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 ปีได้ 7 วัน, 5 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 7 ปีได้ 8 วัน, 7 ปีขึ้นไปได้ 9 วัน)

4. ให้สิทธิพนักงานชายที่มีอายุงานเกิน 2 ปี ให้ลาบวชโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 18 วันทำงาน (ครั้งเดียวตลอดอายุงาน)

5. ให้สิทธิพนักงานหญิงที่สมรสตามกฎหมาย เมื่อแสดงหลักฐานการสมรส บริษัทฯให้เงินช่วยเหลือ 3.000 บาท(เป็นการสมรสครั้งแรก)

ชุดที่ 2.3

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 3 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ (ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 700 800 และ 900 บาท

3. ให้สิทธิพนักงานชายที่มีอายุงานเกิน 2 ปี ให้ลาบวชโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 18 วันทำงาน (ครั้ง เดียวตลอดอายุงาน)

4. ให้สิทธิพนักงานหญิงที่สมรสตามกฎหมาย เมื่อแสดงหลักฐานการคลอดบุตร รับเงินช่วยเหลือ 4.000 บาท(ให้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2)

ชุดที่ 2.4

1. เปลี่ยนเป็น 3 กะ + ให้ลูกจ้างเลือกเองเพื่อคงไว้ 3 ข้อใน 4 ข้อที่เหลือ(ข้อเรียกร้องนายจ้าง)

2. ให้เบี้ยขยันแบบขั้นบันได 500 600 700 และ 800 บาท

3. ให้สิทธิพนักงานชายที่มีอายุงานเกิน 2 ปี ให้ลาบวชโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 18 วันทำงาน (ครั้งเดียวตลอดอายุงาน)

4. ให้สิทธิพนักงานหญิงที่สมรสตามกฎหมาย เมื่อแสดงหลักฐานการคลอดบุตร รับเงินช่วยเหลือ 4.000 บาท(ให้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2)

5. ให้สิทธิพนักงานหญิงที่สมรสตามกฎหมาย เมื่อแสดงหลักฐานการสมรส บริษัทฯให้เงินช่วยเหลือ 3.000 บาท(เป็นการสมรสครั้งแรก)

สหภาพแรงงานฯไม่รับพิจารณาตามข้อเสนอของบริษัทฯทั้ง 7 รูปแบบ

สหภาพแรงงานฯยังคงยืนยันตามผลการเจรจา ครั้งที่8 วันที่ 24 มกราคม 2554 และไม่สามารถรับพิจารณาตามข้อเสนอของบริษัทฯได้ เพราะข้อเสนอของบริษัทฯไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจการเจริญเติบโตและผล ประกอบการของบริษัทฯ

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เห็นสมควรนำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้พิจารณาใช้มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อยุติปัญหาข้อพิพาทแรงงานต่อไป

ในส่วนของบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ทางที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะไปที่ ธ.กรุงเทพฯ สาขาใหญ่ เพื่อตรวจสอบว่าเงินจำนวน 6.5 ล้านบาท ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ และจะนำออกมาจ่ายเป็นค่าชดเชยพนักงานได้หรือไม่อย่างไร ส่วนการช่วยเหลือด้านอื่นไม่มีความคืบหน้า

ส่วนบริษัท ฟูจิตสึนั้นเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานได้ทำหนังสือถึงนายจ้าง เพื่อเรียกเข้ามาเจรจาเพื่อหาข้อยุติแต่ไม่ได้ผล อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานใช้บังคับให้นายจ้างมาคุยกับลูกจ้างไม่ ได้ มันเกิดอะไรขึ้นถึงใช้อำนาจไม่ได้ และในวันที่ 23 ก.พ. นี้แกนนำทั้ง 15 คนต้องไปขึ้นศาลที่ชลบุรี

นายสมศักดิ์ สุขยอด ประธานสหภาพแรงงานภาคตะวันออกแสดงความคิดเห็นว่า “บริษัท ฟูจิตสึฯ ปิดงานมาระยะเวลามากกว่า 2 เดือนแล้ว ข้อพิพาทการปิดงานนานๆ มีผลกระทบต่อคนงาน ความจริงนายจ้างต้องอ่อนลงแล้ว แต่กลับมีท่าทีแข็งกร้าว กลับพยายามสร้างเงื่อนไข พยายามจะไม่รับคนงานกลับเข้าทำงาน พยายามสร้างเงื่อนไขที่สหภาพแรงงานยอมรับไม่ได้ เพื่อลดอำนาจในการต่อรอง เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้อำนาจ รัฐต้องคลี่คลายปัญหา ในฐานะเจ้าของกระทรวง ซึ่งจะต้องชี้ขาดและรับกลับเข้าทำงานโดยใช้มาตรา 35 ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจากันได้”

วันที่ 23 ก.พ. 54 เวลา 14.00 น.จะมีการเจรจาข้อพิพาทของคนงานทั้ง 3 บริษัทและอาจมีชี้ขาดข้อพิพาท ณ รัฐสภา โดยมีตัวแทนทั้ง 3 บริษัทเข้าร่วมเจรจาด้วย