เมื่อบ่ายนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 คนงานบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)จำกัด บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย จำกัด และคนงานบริษัท พีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด ได้เริ่มเดินจากโรงงานไม้อัดไทย มุ่งหน้าสู่ถนนสุขุมวิท เพชรบุรี ราชประสงค์ ราชปารภ ดินแดง ถึงกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือทวงถามความช่วยเหลือจากนายเฉลิมชัย ศีรอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามที่คนงานทั้ง 3 บริษัทได้ยื่นไว้แล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องการละเมิดสิทธิแรงงาน และการละเลยการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นายชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทยกล่าวว่า ตามที่สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทแม็กซีส อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์)จำกัด ตั้งอยู่ที่ 300/1หมู่ 1 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ผลิตยางรถยนต์แบรนด์แม็กซีส นายจ้างเป็นชาวไต้หวันโดยมีนาย Lin Yu Yu เป็นรองผู้จัดการใหญ่ และมีนายวิชา ปันดี เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ตั้งมาได้ 7 ปี ส่งขายในประเทศและต่างประเทศ มีพนักงานประจำทั้งหมดประมาณ 2,500 คน พนักงานเหมาค่าแรงประมาณ 1,000 คนและแรงงานต่างด้าวประมาณ 300 คน
ได้มีการยื่นหนังสือถึงองค์กรภาครัฐทั้งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 กรณีปัญหาของบริษัทแม็กซิสฯ ปิดงานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทั้งหมด 2,000 คนเป็นระยะเวลา 2 เดือนกว่าแล้ว จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องดัง กล่าวประมาณ 1,200 คนรวมตัวกันเดินเท้าจากนิคมอุตสาหกรรมอีสเทอร์นซีบอร์ด จ.ระยองมุ่งหน้ามาสู่กรุงเทพฯตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 จนถึงขณะนี้(14 กุมภาพันธ์54) ซึ่งการเดินเท้ามาในครั้งนี้ส่วนมากเป็นพนักงานหญิงรวมทั้งคนท้องด้วย ต้องการทวงถามและติดตามผลที่ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไป ว่าในขณะนี้ได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และเพื่อขอข้อสรุปให้กับพนักงานทุกคนเนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็น ปัญหาในเรื่องของทางบริษัทฯต้องการที่จะลดสวัสดิการพนักงานและเปลี่ยนแปลง สภาพการจ้างซึ่งขัดต่อกฎหมายดังนี้ 1.ขอเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานจาก 2 กะเป็น 3กะ 2.ขอยกเลิกเบี้ยการผลิตซึ่งเป็นรายได้ที่เป็นปัจจัยหลักของพนักงาน 3.ขอให้ข้อเรียกร้องมีอายุ 3 ปี 4.ขอยกเลิกค่าเดินทาง 5.ขอลดค่าบ้านจาก 800 มาเป็น 600 บาทต่อเดือน
ทั้งที่เศรษฐกิจในปี 2553 บริษัทฯมียอดการผลิตเพิ่มขึ้น มีผลกำไรที่สูงจากปีก่อน(2552)ถึง 9 พันล้านบาท แต่ในปีที่ยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้บริษัทฯมีผลกำไรถึง 1,564 ล้านบาท ซึ่งสูงจากเดิมมากอีกทั้งยังมีการขยายโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 3 โรง ซึ่งการที่บริษัทฯขอปรับลดสวัสดิการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานของลูกจ้างนั้น ทำให้ลูกจ้างมีรายได้ลดลงจากเดิมที่เคยได้รับ หลังจากปิดงานแล้วบริษัทฯก็นำแรงงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงาน แทนคนงานไทย ในส่วนข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นลูกจ้างก็ยอมรับในส่วนที่บริษัทฯเสนอ ข้อเรียกร้องในส่วนของลูกจ้างนั้นสามารถตกลงกันได้เหลืออยู่ในส่วนข้อเรียก ร้องของบริษัทฯ ซึ่งเจตนาของบริษัทฯที่ปิดงานในครั้งนี้เพื่อต้องการที่จะทำลายสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นองค์กรของลูกจ้าง และลอยแพลูกจ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทยจึงขอเรียกร้องดังนี้ 1.ให้บริษัทฯส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมาเจรจาเพื่อหาข้อยุติ 2.ให้ถอนข้อเรียกร้องของบริษัทฯเพราะไม่เป็นคุณกับพนักงานและไม่เป็นผลดีต่อ การเจรจากัน 3.ให้บริษัทฯปฏิบัติกับพนักงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องตาม กฎหมาย 4. ให้บริษัทฯยุติการกดดันและแทรกแซงการทำงานของสหภาพแรงงาน 5. ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด พวกเรายังต้องการกลับเข้าทำงานจึงขอให้รัฐมนตรีฯดำเนินการเพื่อให้ลูกจ้าง ที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดได้รับกลับเข้าไปทำงานและหาข้อยุติในเรื่อง ของข้อเรียกร้องที่ยังตกลงกันไม่ได้ให้จบลงโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับสหภาพแรงงานฯและพนักงานทุกคน
นายจตุพร หมู่เพ็ชร พี่ชายนางปรียา กล่าวว่า เรียนจบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์มา แต่ใช้วุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ สมัครเพราะเขาไม่รับปริญญาตรีทำงาน ขณะนี้ก็อยู่ในตำแหน่งรองหัวหน้างาน ที่มาชุมนุมด้วยก็ทนต่อประเด็นปัญหาที่นายจ้างละเมิดไม่ไหวเช่นกัน มันไม่เป็นธรรมที่คนทำงานต้องถูกหักเงิน และการทำงานของพวกเราเป็นการทำงานที่ถูกกำหนดเป้าการผลิต เช่น ต้องผลิต 900 เส้นต่อวัน หากผลิต 901 เส้นจะได้เบี้ยพิเศษ การที่นายจ้างปรับสภาพการทำงานก็จะทำให้ถูกลดเบี้ยลงรายได้ก็จะต่ำไปด้วย การทำงานพวกเราทุ้มเทกับบริษัทมาโดยตลอดดูได้บริษัทเปิดกิจการมาประมาณ 8 ปี พวกเราทำงานมา 7-8 ปีเป็นคนงานที่ร่วมสร้างโรงงานมาด้วยกัน อดทนต่อการที่นายจ้างสั่งให้ตัดผมสั้น ห้ามมีหนวดเคราถูกปรับเงิน วันนี้นายจ้างบอกลดสวัสดิการคนงานอย่างเราจะเอาที่ไหนให้ลด
ขณะนี้นายจ้างได้นำแรงงานกัมพูชามาทำงานหลายร้อยคนนะ แค่แผนกตนก็มี 100 คนแล้ว โรงงานมี 2 โรง และกำลังสร้างใหม่อีก อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีคนงานกัมพูชาเท่าไร รู้ว่าเขาได้ค่าจ้างวันละ 185 บาท ไม่มีสวัสดิการอะไร มีหอพักกับรถรับส่งให้เท่านั้น ซึ่งพวกเราเคยขอปรึกษานายจ้างให้จ่ายเบี้ยพิเศษให้กับพวกเขาด้วย เพราะคิดว่าคนงานเหมือนกันก็ควรได้สวัสดิการเหมือนกัน ซึ่งนายจ้างได้ตกลงจ่ายเบี้ยพิเศษให้ร้อยละ 70 โดยให้ความเห็นว่า เขาเป็นแรงงานข้ามชาติให้ได้แค่เท่านี้ แต่วันนี้เขาให้แรงงานข้ามชาติทำงานแทนเรา ส่วนพวกเราต้องมาเดินเท้าเพื่อขอกลับเข้าทำงานกันนายจตุพรกล่าว
ทั้งนี้ยังมีปัญหาคนงานบริษัท พีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ เลขที่ 684-685 ถ.สุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีนายจ้างเป็นคนไทย ผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2553 เวลา 21.30 น.ได้เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างแรง เนื่องจากอุณหภูมิเครื่อง hot press มีความร้อนสูงถึง 400 องศา เครื่องระเบิดทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บจำนวนมากต่อมา เสียชีวิต 3 คนและมีผู้บาดเจ็บสาหัสอีก 3 คนขณะนี้อยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟู จ.ระยองหลังจากไฟไหม้บริษัทฯ ก็ได้ประกาศจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน75%จนกว่าบริษัทฯจะปรับปรุงโรงงานให้แล้ว เสร็จ และเปิดทำการใหม่ภายในเดือน ธ.ค. 2553 แต่การจ่ายค่าจ้างกับผิดนัดมาตลอด และวันที่ 21 ม.ค.2554 บริษัทฯก็ประกาศปิดกิจการเลิกจ้างพนักงานทุกคนแต่ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แรงงานลูกจ้าง 500 กว่าคนถูกลอยแพ
นางประสบ กันหาป้อง พนักงานพีซีบี อายุ 37 ปีทำงานมากว่า 16ปี เล่าว่า ในเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ตนได้สูญเสียสามีไปในกองไฟ หลังจากที่ได้ลูกคนที่ 2 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2554 พ่อเขาเสียชีวิตวันที่ 23 มิถุนายน 2554 เมื่อนึกถึงตรงนี้แล้วน้ำตาเธอไหลออกมา ลูกคนเล็กไม่มีโอกาสเห็นหน้าพ่อด้วยซ้ำไป ตอนนี้เหมือนบ้านแตก ลูกคนโตอายุ 1 ขวบอยู่บ้านย่า ที่จังหวัดอุดร ส่วนคนเล็กขณะนี้อยู่กับพี่สะใภ้ดูแลให้ อยากถามว่าทำไมนายจ้างที่เราทุ้มเททำงานให้จึงไม่ดูแลพวกเรา ไม่เหลียวแลเลยทั้งที่เราทำงานให้กว่า 10 ปี ต้องการให้เขาปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานจ่ายค่าชดเชยให้พวกเรา แม้ว่าไม่มากแต่เป็นสิทธิ หลายคนอายุมากแล้วจะไปหางานทำได้ที่ไหน แล้วตนเองก็มีภาระมากตอนนี้อยากเห็นหน้าลูก เราอยากอยู่ด้วยกัน ต้องการมีครอบครัวที่มีความสุขไม่ใช่ต้องแตกแยกไปคนละทาง หากเลือกได้อยากให้สามีอยู่ด้วยช่วยกันคิด เวลาเห็นเพื่อนที่เขามาชุมนุมที่มากันทั้งครอบครัวพ่อแม่ลูก แม้จะทุกข์เพราะตกงานทั้งคู่แต่เขายังมีครอบครัว นางประสบกล่าว
ส่วนนายวิสิทธิ์ อุดมพล อายุ 42 ปี พนักงานพีซีบี พูดถึงการทำงานในบริษัทว่า การทำงานทุกคนที่มาร่วมกันไม่มีใครคิดว่าบริษัทจะปิดกิจการ เพราะเจ้าของเป็นคนใหญ่โตที่สังคมรู้จัก อยากให้เขาคิดถึงว่า คนงานอย่างพวกเราร่วมสร้างบริษัทมากับเขาเช่นกัน ให้เราหยุดงานชั่วคราวจ่ายค่าจ้างบ้างไม่จ่ายล่าช้าบ้างเราก็ไม่เคยว่า ออเดอร์มีมากให้ทำงานล่วงเวลาช่วยกันตลอด และออเอดร์เยอะมาก ใครจะคิดว่าวันนี้ไฟไหม้ประกาศปิดกิจการบอกว่าไม่มีเงินจ่ายค่าชดเชยจะล้ม ละลายแล้วที่ทำงานร่วมกันมา 20 ปี ไม่มีกำไรเลยจริงหรือเครือสหพัฒน์ไม่มีเงินใครเชื่อ ค่าชดเชยพวกเราแค่คนละ 7-8 หมืนบาท 500 คน ไม่มากหรอกสำหรับคนที่ทำงานทุ้มเทให้มาโดยตลอด คนที่เขาสูญเสียสามีไปกับการทำงานให้โรงงานควรจ่ายให้เขา ตนเองก็ตกงานทั้ง 2 คน จะไปหางานที่ไหนยังไม่รู้ ก็ไปขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างได้วันละ 200 บาท วันนี้ต้องการสิทธิของพวกเรา
ส่วนของคนงาน บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่เขตส่งออกเลขที่ 92/9 ม.2 เขตแหลมฉบัง นายจ้างเป็นชาวญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วนและประกอบเครื่องปรับอากาศยื่นขอเปลี่ยน แปลงสภาพการจ้างครั้งแรกเมื่อวันที่ 15พ.ย.53 และปิดงานพนักงานผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตั้งแต่วันที่25พ.ย.53ได้ มีการชุมนุมที่หน้าบริษัทฯเรื่อยมาในช่วงการเจรจาเหมือนว่าจะสามารถตกลงกัน ได้ด้วยดีแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะยุติได้เนื่องจากนายจ้างอ้างบรรยากาศในการ เจรจาไม่ดี บริษัทฯบอกให้ลดบทบาทในการชุมนุมเพื่อให้มีบรรยากาศที่ดีในการเจรจา ทางตัวแทนก็รับนโยบายไปปฏิบัติเช่นเข้าวัดเพื่อรวมสติปรับอารมณ์ ไปทำสาธารณกุศลบริจาคโลหิต แต่เมื่อมีการเจรจาก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติลงได้ทางนายจ้างเองก็ไม่ยอมมา เจรจาตามที่แรงงานนัดหมาย แต่เมื่อวันที่ 9 ก.พ.54 ได้มีหมายศาลให้ตัวแทนทั้ง 15 คนไปขึ้นศาล และมีคำสั่งตัดสินจำคุกตัวแทนทั้ง15 คน ตั้งแต่วันที่9-16ก.พ.54 ในขณะนี้ได้ประกันตัวแค่2 คนที่เป็นผู้หญิงหลังจากโดนกักขังแล้วถึง 2 วัน แต่ชายอีก14 คนยังไม่ได้รับการประกันตัวและยังอยู่ในชั้นอุทธรณ์
นางนิภาวรรณ พวงศรี หนึ่งในจำเลยที่ 15 ได้พูดถึงวันที่ศาลได้ตัดสินจำคุก 2วัน หลังที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ตัดสินกักขัง 7 วัน ข้อหาขัดคำสั่งศาล กรณีที่นายจ้างร้องขอให้ความคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากสหภาพแรงงาน ฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย โดยนายโสนรินทร์ โสนรินทร์ และพวกได้มีการละเมิดปิดกั้น กีดขวาง ทำให้นาย ซาโตชิ โอโนะ กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัทฟูจิต เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด (นายจ้าง) และพนักงานของนายจ้าง(โจทก์)เข้าออกประตูโรงงานได้ตามปกติ ได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน และศาลได้ออกหมายถึงจำเลย มีคำสั่งให้จำเลย (สหภาพแรงงาน)เปิดทางเข้าออกโรงงาน โดยศาลได้มีการนำคำสั่งไปแจ้งให้สหภาพแรงงาน โดยนายสมควร เป็นคนรับ แต่ไม่มีการเปิดทางเข้าออกตามหมายคำสั่งดังกล่าวสหภาพแรงงาน (จำเลย) ยังชุมนุมอยู่บริเวณประตูทางเข้าออกโรงงาน ยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล โดยจำเลยที่ 2 ถึง 16 ซึ่งเป็นผู้นำการชุมนุม และยังมีคดีเรื่องการทำร้ายร่างกาย ยุยงส่งเสริมให้มีการปิดกั้นประตู ด้วยการตั้งแถวเดินปั่นป่วนโห่ร้อง
นางนิภาวรรณ ตอนนี้ยังมึนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การชุมนุมทางบริษัทมีการล้อมรั้วสังกะสีปิดรอบบริษัท บางครั้งก็นำรถบัสมาปิดกั้นหน้าบริษัท นายจ้างปิดงานเราชุมนุมรอการเจรจามีการทำกิจกรรมคลายเครียดให้กับสมาชิกบ้าง ไม่คิดว่าจะมีการขออำนาจศาลคุ้มครองชั่วคราว ขณะนี้พี่น้องที่เป็นผู้ชายถูกขังอยู่ในแดนพิเศษ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีร้ายแรง ญาติพี่น้องครอบครัว เพื่อนก็เป็นห่วงอย่างมากขอเยี่ยมก็ไม่ได้ ให้เยี่ยมวันเว้นวัน ซึ่งน่าแปลกที่ว่า ผู้ต้องหาคดีอุกฉะกันเยี่ยมได้ทุกวัน ส่วนเรื่องประกันตัว ถามว่ามีเงินไหมคนละ 50,000 บาทต่อคน รวม 700,000 บาท คงไม่มีเงินประกันขณะนี้อุทธรณ์อยู่
การที่เข้าร่วมเดินเท้ากับอีก 2 บริษัท เพื่อให้กระทรวงแรงงานเข้ามาแก้ไขปัญหาให้นายจ้างมาเจรจาหาข้อยุติร่วมกัน เพราะว่าเดิมที่เคยมีการเจรจาก็ไปด้วยดีแล้ว แต่ไม่รู้ทำไมนายจ้างเปลี่ยนใจ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นลูกจ้างทั้ง 3 โรงงาน ที่ได้ไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงทำให้พนักงานทั้งหมดต้องร่วมกันที่จะเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เพื่อให้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. กรณีของบริษัทแม็กซิสฯและฟูจิตสึฯ ให้หาข้อยุติในข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นเพื่อให้พนักงานได้กลับไปทำงานทุก คน และให้นายจ้างยอมรับการรวมตัวของลูกจ้างในสถานประกอบการ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างจริงจัง
2. กรณีบริษัทพีซีบีฯให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน2541กรณี ปิดกิจการเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างกรณีเกิดเพลิงไหม้มีผู้เสียชีวิตและกรณีนายจ้างค้าง จ่ายค่าจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชย
3. ให้รัฐบาลทบทวนนโยบายส่งเสริมการลงทุนกรณีที่นายทุนต่างชาติมาลงทุนแต่ไม่ ให้ความเป็นธรรมกับแรงงานและนำแรงงานข้ามชาติมาทำงานอย่างผิดกฎหมายทั้งๆที่ แรงงานไทยก็ไม่ได้ขาดแคลนตามที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้นายทุนรับแรงงานข้ามชาติ มาทำงานแทนแรงงานไทย เพราะรัฐบาลมี นโยบายส่งเสริมการลงทุนและต้องการเห็นคุณภาพชีวิตของคนทำงานมีคุณภาพชีวิต ที่ดี แต่ไม่ดูแลลูกจ้างที่ถูกละเมิดสิทธิอย่าปล่อยให้นายทุนข้ามชาติที่ไม่มี คุณธรรมและจริยธรรมมาเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างแรงงานไทย ซึ่งขัดกับนโยบายที่รัฐให้ไว้กับประชาชน
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาไทย กล่าวว่า ในส่วนประเด็นปัญหาทั้ง 3 บริษัทฯ เกิดจากการที่รัฐไม่ยอมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงทำให้เกิดความบานปลายจนคนงานต้องเดินเท้าเข้ามาถึงส่วนกลางให้ทำการแก้ไข ปัญหา วันพรุ่งนี้ (15 ก.พ. 54)ได้นัดทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไว้ เพื่อยื่นหนังสือให้ทำการแก้ไขปัญหา โดยทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จะเสนอให้ดังนี้
1. ทางBOI (สำนักงานส่งเสริมการลงทุน) ที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยไม่มีระบบการป้องกัน ให้มีการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง สำหรับนำเงินมาแก้ไขปัญหาหากนายจ้างปิดกิจการหนี หรือไม่มี ไม่หนีไม่จ่าย สามารถนำเงินกองทุนนี้มาจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างได้
2. ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนการลงทุนว่า ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่นกรณีของบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์)จำกัด ตั้งอยู่ที่ 300/1หมู่ 1 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ผลิตยางรถยนต์แบรนด์แม็กซีส นายจ้างเป็นชาวไต้หวันโดยมีนาย Lin Yu Yu เป็นรองผู้จัดการใหญ่ และมีนายวิชา ปันดี เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ตั้งมาได้ 7 ปี และได้มีการขอทางBOI สนับสนุนการลงทุนเมื่อปี 2550 ว่าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ประกาศที่กำหนดเรื่อง การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลง ทุน ไว้ว่า เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมในโครงการที่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หลักเกณฑ์การใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นบริษัทที่ลงทุนในประเทศไทยมามากกว่า 20 ปี มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท และจ้างงานรวมมากกว่า 10,000 คนเป็นต้น ถามว่าวันนี้นายจ้างแม็กซิสมีการนำแรงงานข้ามชาติจากกัมพูชามาทำงาน และคนงานไทยขาดแคนจริงหรือ หรือว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานไทยอย่างไม่เป็นธรรมต้องมีการร่วมกันตรวจสอบ