เผยคดีคนงานไทยไป ตปท. ปี 52 ยังไม่จบเผยคดีคนงานไทยไป ตปท. ปี 52 ยังไม่จบ คนงานไทยสวีเดน-สเปน อยู่ในระหว่างการสอบพยานและไกล่เกลี่ย ส่วนกรณีโปแลนด์ บ.จัดหางานยังยื่นอุทธรณ์10 .. 54 ประชาไท 8 ม.ค. 54 โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เผยความคืบหน้ากรณีคนงานไทยที่ประสบปัญหาจากการไปทำงานต่างประเทศเมื่อปี 2552 ซึ่งทางคนงานได้ทำการดำเนินคดีกับบริษัทจัดหางาน (กรณีสวีเดน-สเปน) ส่วนกรณีโปแลนด์ บ.จัดหางานยังยื่นอุทธรณ์ สรุปกรณีการดำเนินการด้านกฎหมาย กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการไปทำงานที่สวีเดนและสเปน ปี 2552
กรณีคนงานไทยถูกหลอกไปสวีเดน (ปี 2552)
กลาง เดือนกรกฎาคม 2552 มีคนงานไทยเดินทางไปทำงานเก็บลูกเบอร์รี่ที่สวีเดน ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การผ่านบริษัทจัดหางาน การเดินทางไปทำงานด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้พบว่าคนงานจำนวนหนึ่งต้องพบกับปัญหาเรื่องเนื่องจากพบว่าผลไม้ป่า มีปริมาณน้อย และรายได้จากการเก็บผลไม้ป่ายังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ไม่เป็นไปตามที่บริษัทจัดหางานได้ให้ข้อมูลแก่คนงาน โดยคนงานต้องเสียค่าบริการในการจัดส่งแรงงานเหล่านี้ให้กับบริษัทต่างๆ เป็นเงิน 75,000-120,000 บาท ด้วยความเชื่อที่ได้รับจากการประชาสัมพันธ์ทั้งจากสาย จากบริษัทว่าพวกเขาจะได้รับเงินกลับบ้าน (หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าบริการแล้ว) คนละ 100,000-300,000 กว่าบาท
โดยในเดือนกันยายน 2552 คนงานที่ได้รับความเดือดร้อนประมาณ 400 คน ได้กลับมายังประเทศไทยและได้ดำเนินการเรียกร้องความเป็นธรรมดังนี้
1. คนงานบางส่วนได้ไปร้องกับพนักงานตรวจแรงงาน โดยพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง แต่นายจ้างได้ไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งและฟ้องคดีอาญากับคนงาน กล่าวหาว่าคนงานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานทำให้พนักงานตรวจแรง งานวินิจฉัยผิดพลาด แต่โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและทีมทนายความได้เข้าไปช่วยเหลือ โดยร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อมีการสอบข้อเท็จจริงไปได้ระดับหนึ่ง ฝ่ายบริษัทจึงขอไกล่เกลี่ยยอมความ ถอนฟ้องคดีอาญาคนงาน (คดีนี้สิ้นสุดไปแล้ว)
2. คนงานบางส่วนได้มาร้องเรียนกับโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย แล้วได้มีการดำเนินคดีเป็นคดีแรงงาน (ตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน) โดยในกรณีนี้พบว่าขออนุญาตพาแรงงานไปได้ขออนุญาตกับกระทรวงแรงงานว่าเป็น กรณีที่นายจ้างในประเทศไทยพาคนงานไปทำงาน มีการทำสัญญากับคนงาน (ดูระเบียบว่าด้วยการจัดส่งคนไปทำงานต่างประเทศวิธีที่ 4. นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงาน ในภาคผนวก) ซึ่ง ตามกฎหมายไม่สามารถเก็บค่านายหน้า ไม่สามารถเก็บค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจากคนงานได้ แต่การดำเนินการจริงๆ ของบริษัทกลับมีการเก็บค่าหัวคิวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
คนงานได้ฟ้องกับบริษัทจัดหางานเมื่อวัน 3 มีนาคม 2553 แบ่งออกเป็น 2 บริษัท
· คนงาน 43 คน ยื่นฟ้องคดีแรงงาน เรียกร้องให้บริษัท สยาม โรยัล เซอร์เซส กรุ๊ป จำกัดและกรรมการนายชัยยุทธ ชดใช้เงินค่าบริการในการเดินทางไปกลับประเทศสวีเดน ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าน้ำมันรถ ค่าอุปกรณ์ในการเก็บผลไม้เป็นต้น และค่าจ้างเบี้ยเลี้ยง รวม 43 คน จำนวน 8,229,090 บาท (คดีแรงงาน หมายเลขคดีดำที่1019-1061/2553 ของศาลแรงงานกลาง) · คนงาน 44 คน ยื่นฟ้องคดีแรงงาน เรียกร้องให้บริษัทสินซันชาย จำกัด และนายพรชัย กรรมการบริษัท ชดใช้เงินค่าบริการในการเดินทางไปกลับประเทศสวีเดน ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าน้ำมันรถ ค่าอุปกรณ์ในการเก็บผลไม้เป็นต้น และค่าจ้างเบี้ยเลี้ยง รวม 44 คน จำนวน 7,889,427บาท (คดีแรงงาน หมายเลขคดีดำที่ 1189-1191/2553 ของศาลแรงงานกลาง )
โดยทั้ง 2 คดีนี้ ปัจจุบัน (มกราคม 2554) กำลังอยู่ในขั้นสืบพยานฝ่ายโจทย์ (คนงาน) รวมถึงการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างฝ่ายคนง่านและบริษัทฯ ควบคู่กันไปด้วย
อ่านเพิ่มเติมกรณีสวีเดน: สหภาพคนทำงาน ตปท.ล่าชื่อสอบ ก.แรงงาน กรณีส่งคนไปนอก ลง พท.คุยผู้ได้รับผลกระทบทำงานเมืองนอก พบสูญร่วม 600 ล. คนงานถูกหลอกไปสวีเดน โร่แจ้ง DSI เอาผิดขบวนการตุ๋นแรงงาน 2 เดือนในการล่าฝันที่สวีเดนกับชะตาชีวิตที่พลิกผัน: ความล้าหลังของกลไกรัฐในการแก้ปัญหา แรงงานถูกหลอกไปเก็บผลไม้ป่านัดรับเงินชดเชยนัดแรก มึนสัญญา ดูถูก-เอาเปรียบ คืนเงิน ฉีกสัญญาทิ้ง บริษัทนายหน้ายอมจ่ายค่าเสียหายให้แรงงานที่ถูกหลอกไปสวีเดนแล้ว แรงงานเก็บผลไม้ยื่นหนังสือถึงสถานทูตสวีเดน กระทรวงแรงงานเรียก 4 บริษัทเจรจาหาข้อยุติ คนงานที่ถูกหลอกไปเก็บผลไม้ที่สวีเดน ปักหลักหน้าทำเนียบฯ ขอพบนายกฯ หลังการแก้ปัญหาไม่คืบ
กรณีคนงานไทยถูกหลอกไปสเปน (ปี 2552)
ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เครือ ข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำงานในต่างประเทศ (ภายใต้โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย) ได้รับแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์เกี่ยวกับสถานการณ์ของ คนงานไทย 19 คน ซึ่งทำงานในไร่มะเขือเทศที่สเปน หลังจากทำงานครบสัญญาจ้าง 1 ปี (สัญญาจ้างเริ่มเดือนมิถุนายน 2551 โดยสัญญาจ้างระบุว่าจะมีงานให้ทำ 5 ปี) คนงานไทยทั้ง 19 คนก็ได้อยู่ต่อในสเปนเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว โดยไม่มีงานทำ และไม่มีเงิน โดยในจดหมายที่ร้องเรียน หนึ่งในคนงานกลุ่มนี้ได้ระบุถึงวิธีการการสมัครงานมาทำงานที่สเปนดังนี้
สมัครงานที่บริษัท อุดร เอ็นที ยูเนี่ยน จำกัด โดยบริษัทบอกว่าที่ประเทศสเปนงานดี เงินเดือนดี เงินเดือนขั้นต้น 60,000 70,000 บาท ไม่รวมโอที และสัญญาจ้างมีระยะเวลา 5 ปี บริษัทฯ อธิบายว่า จะได้รับค่าแรงเป็นรายชั่วโมง โดยคนงานระบุว่าได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ เรียกรับไป 580,000 บาท โดยมีการกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่าย
ทางคนงานจึงได้ทำการดำเนินคดีกับบริษัทเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยคนงาน 2 คน ได้ยื่นฟ้องคนงาน บริษัท จัดหางาน อุดรเอ็นทียูเนี่ยน จำกัด กับนางนิภาพร ธนภัทรโรดม กรรมการบริษัท และ บริษัทจัดหางาน เค.เอส.แมนเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด กับ นางสุจิตราภรณ์ กรรมการบริษัท ให้คืนใช้ค่าใช้จ่ายและค่าบริการ 2 คน รวม 2,360,000 บาท (หมายเลขคดี 2071-2072/2553 ศาลแรงงานกลาง)
โดยในกรณีนี้บริษัทฯ ได้ให้คนงานแจ้งเดินทางไปเอง (ดูระเบียบว่าด้วยการจัดส่งคนไปทำงานต่างประเทศวิธีที่ 3.เดินทางไปทำงานด้วยตัวเอง ในภาคผนวก) แต่ ในทางปฏิบัติ บริษัทเป็นคนติดต่อไว้แล้วมีการเก็บค่าหัวคิวและค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน คุ้มครองคนหางาน ที่ระบุบไว้ว่ากรณีที่คนงานเดินทางไปทำงานในต่างประเทศด้วยตนเอง จะต้องไม่มีบริษัทจัดหางานมาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้
ทั้ง นี้ในการต่อสู้ของบริษัทฯ ขั้นต้นให้การปฏิเสธต่อศาลว่าไม่ได้เป็นการจัดส่งไปโดยบริษัท แต่เมื่อมีการสืบหาข้อเท็จจริงและมีการไกล่เกลี่ย บริษัทฯ จึงยอมรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าบริษัทได้จัดส่งไป แต่ไม่ยอมรับว่าได้รับเงินจากคนงานในจำนวน 580,000 บาท โดยในขณะนี้อ้างว่าได้รับเงินจากคนงานเพียง 540,000 บาท เท่านั้น โดยในขณะนี้ (กุมภาพันธ์ 2554) ยังอยู่ในช่วงการสืบพยานและเจรจาไกล่เกลี่ย (ศาลนัดครั้งต่อไป 17 ก.พ. 2554)
กรณีโปแลนด์
ต้นปี 2553 คน งานส่วนหนึ่ง (ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง) ถูกทางการโปแลนด์ยกเลิกวีซ่าทำงาน เนื่องจากบริษัทนายหน้าได้พาคนงานออกไปทำงานเขตที่กำหนดไว้ โดยได้นำไปทำงานในเขตที่ติดกับชายแดนของประเทศรัสเซีย ให้ทำงานวันละ 13 ชั่วโมงและต้องจ่ายค่าอาหารเองทำให้คนงานไม่มีเงินพอจะซื้ออาหาร โดยลักษณะงานเป็นการทำงานในฟาร์ม และได้ค่าแรงต่ำกว่าสัญญาที่ระบุไว้ 650 ดอลลาร์ต่อเดือน เพราะคนงานต้องไปทำงานตามฟาร์มต่างๆ แล้วแต่จะมีคนเหมาค่าแรงผ่านบริษัทที่โปแลนด์ ซึ่งก่อนไปทำงานที่โปแลนด์นั้นคนงานหญิงเหล่านี้ต้องไปกูเงินกับนายทุน เงินกู้นอกระบบ โดยส่วนใหญ่แล้วมีหนี้สินจากการไปทำงานที่โปแลนด์นี้มากกว่า 250,000 บาทต่อราย ทางด้านผู้บริหาร บริษัท กิตติบาร์เดอร์ กล่าวในเบื้องต้นว่าจะจ่ายเงินเดือนค้างจ่าย 2 เดือน คืนคนงาน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ต้องรอการพิจารณาอีกครั้งเมื่อแรงงานทั้งหมดกลับมา ซึ่งทำให้คนงานที่กลับมาแล้วนั้น ต้องการให้บริษัทนายหน้าที่จัดส่งพวกตนไปจ่ายคืนค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมเกือบ 400,000 บาท
เมื่อ กลับมาถึงประเทศไทยคนงานจึงได้ร้องต่อกองตรวจแรงงานเพื่อเอาผิดและให้บริษัท จัดหางาน กิตติ บราเดอร์ ชดใช้ค่าเสียหายแก่คนงาน โดยกองตรวจได้มีคำสั่งให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายแก่คนงาน แต่ในขณะนี้ (กุมภาพันธ์ 2554) บริษัทฯ กำลังยื่นอุทธรณ์ต่อศาล
อ่านเพิ่มเติมกรณีโปแลนด์: แรงงานบุกกระทรวงแรงงาน จี้ รมว.เร่งสั่งจ่ายค่าเสียหายถูกหลอกทำงานต่างประเทศ สหภาพคนทำงาน ตปท. ร้องสถานทูตโปแลนด์หลังคนงานไทยถูกเอาเปรียบ คนงานไทยในโปแลนด์เดินทางกลับแล้ว ร้องนายหน้าจ่ายค่าเสียหาย ญาติคนงานไทยในโปแลนด์ เตรียมเข้าพบนายก เรียกร้องช่วยคนงานถูกจับในโปแลนด์ โปแลนด์จับคนงานไทยเพิ่มเติม เตรียมผลักดันกลับ 7 มี.ค. นี้ ญาติคนทำงานโปแลนด์วอนสหภาพคนทำงาน ตปท. ช่วยเหลือหลังโดนจับ
กระบวนการทางกฎหมายจะสิ้นสุดตรงไหน
คน งานสามารถเจรจายอมความได้ค่าเสียหายที่พึงพอใจ หรือไปจนสุดให้มีคำพิพากษา เมื่อนายจ้างยอมจ่ายหรือศาลสั่งให้จ่ายแล้ว อยู่ที่เงื่อนไขการตกลงของทั้งสองฝ่ายว่าจะมีการจ่ายค่าเสียหายทันทีหรือตาม ระยะเวลาที่ตกลงกันได้ หากบริษัทไม่ยอมจ่ายก็จะมีการยึดทรัพย์เพื่อมาจ่ายคนงาน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้บางทีต้องใช้ระยะเวลายาวในการที่คนงานจะได้รับการชด เชย
อุปสรรค
· ประเด็น ความเข้าใจเรื่องการจัดส่งคนไปทำงานต่างประเทศ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง (ประชาชนทั่วไป, แรงงาน หรือแม้แต่ศาลแรงงาน )โดย ตัวแรงงานเองไม่เข้าใจเรื่องระบบการจัดหางาน รู้แต่ว่าการจะไปทำงานต่างประเทศต้องเสียค่าหัวเท่านั้น โดยไม่รู้ว่าวีการที่บริษัทนำคนงานไปสวีเดนนี้ตามกฎหมายไม่สามารถเสียค่าหัว ได้ แต่คนงานจ่ายไปด้วยความเคยชิน ทำให้บริษัทสามารถปกปิดข้อเท็จจริงและหลอกลวงแรงงาน ทั้งนี้ประเด็นนี้ทำให้ทีมทนายมีความยากลำบากในการปรับทัศนะคติกับผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง (สาธารณะชน, ตัวแรงงานเอง หรือแม้แต่ศาล) · ปัญหาความร่วมมือจากแรงงาน เนื่องจากแรงงานมีฐานะยากจน มีหนี้สินจากการถูกหลอกลวง ทำให้ไม่มีเวลามาดำเนินการเรื่องการฟ้องร้อง · ขาด หน่วยงานให้ความเข้าใจเรื่องสิทธิของคนงานและอำนวยความสะดวกแก่คนงานในการ ดำเนินการทางด้านกฎหมาย (ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง, การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นศาล, การเตรียมพยาน เป็นต้น) ซึ่งส่งผลทำให้คนงานไม่สามารถได้รับค่าชดเชยจากความเสียหายที่เกิด หรือได้รับค่าชดเชยน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ · ไม่ สามารถฟ้องร้องในกรณีค้ามนุษย์ได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายขององค์ประกอบในการเรื่องการบังคับใช้แรงงาน เมื่อถึงประเทศปลายทางเพราะลักษณะการทำงานเป็นตามความสมัครใจ (ต้องมีการบังคับใช้แรงงานถึงจะเข้าข้อกฎหมายการค้ามนุษย์ของไทย)
ภาคผนวก
ระเบียบว่าด้วยการจัดส่งคนไปทำงานต่างประเทศ
ตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน นั้นมันมี 5 ช่องทาง (1. กรมการจัดหางานส่งไป (ไม่เสียค่านายหน้า) 2.เดินทางไปกับบริษัทจัดหางาน (เสียค่านายหน้า) 3. เดินทางไปทำงานด้วยตัวเอง (ไม่เสียค่านายหน้า) 4.นายจ้างในประเทศไทยพาคนงานไปทำงาน (ไม่เสียค่านายหน้า) 5.นายจ้างในประเทศไทยพาคนงานไปฝึกงาน (ไม่เสียค่านายหน้า) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ..
1. กรมการจัดหางานจัดส่ง
เป็น บริการของรัฐที่ส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าบริการ นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าภาษี สนามบิน ค่าสมาชิกกองทุนฯ ค่าที่พักสำหรับเตรียมตัวก่อนเดินทาง กรมการจัดหางานจะคัดเลือกคนหางานจาก ศูนย์ทะเบียนคนหางาน เว้นแต่ไม่มีผู้ลงทะเบียน ตามที่นายจ้างต้องการ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ จึงจะประกาศรับสมัครเป็นการทั่วไป
2. บริษัทจัดหางานจัดส่ง
- ต้องแสดงใบอนุญาตการจดทะเบียนต่อกรมการจัดหางาน ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นชัด ณ สำนักงานที่ได้รับอนุญาต - ต้องจดทะเบียนลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานที่ทำงานให้บริษัทไม่ใช้สายหรือเป็นนายหน้าเถื่อน - เรียกเก็บค่าหัวตามกฎหมายและออกใบเสร็จรับเงินให้คนหางานไว้เป็นหลักฐาน - เรียกเก็บเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 30 วันก่อนเดินทาง ถ้าไม่ส่งไปทำงานตามกำหนด ต้องคืนเงินให้ทันที - ต้องส่งคนงานไปตรวจโรค ณ สถานพยาบาลตามที่กรมการจักหางานประกาศรายชื่อไว้ - ต้องส่งคนหางานไปทดสอบฝีมือ ณ สถานทดสอบฝีมือตามที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานอนุญาต - ต้องพาคนงานเข้ารับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางานก่อนเดินทาง - ต้องพาคนหางานเดินทางออกไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางาน
3. เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง
คน หางานติดต่อนายจ้างต่างประเทศด้วยตนเองหรือคนงานที่ทำงานครบสัญญาจ้างแล้ว ได้ต่อสัญญาจ้าง เมื่อเดินทางกลับมาพักผ่อน ในประเทศไทยและจะเดินทางกลับไปทำงานอีก ต้องแจ้งต่อกรมการจัดหางานก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยจะต้องมี สำเนาหลักฐานการติดต่อกับนายจ้างในต่างประเทศ, สำเนา สัญญาจ้าง (ผ่านการรับรองของสำนักงานแรงงานหรือสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ) และต้องมีหลักฐานอื่นๆ ไว้ยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ กรณีที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นการแจ้งการเดินทางของคนหางานอาจมีบริษัทจัดหา งานหรือเรื่องการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมีการเก็บค่าบริการมาเกี่ยวข้อง
4. นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงาน
นาย จ้างในประเทศไทยที่มีบริษัทในเครืออยู่ในต่างประเทศ หรือประมูลงานในต่างประเทศได้ ส่งลูกจ้างที่อยู่ในประเทศไทย ไปทำงานต้องขออนุญาตต่อกรมการจัดหางาน ซึ่งนายจ้างที่จะพาไปนั้นต้องมี
1. คำขออนุญาต (แบบ จง.23) ซึ่งกรอกข้อความให้ครบถ้วน และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามครบตามหนังสือรับรองนิติบุคคล 2. หนังสือรับรองนิติบุคคลของบริษัทฯ รับรองไม่เกิน 6 เดือน 3. รายละเอียดผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) รับรองไม่เกิน 6 เดือน 4. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 5. สัญญาหรือเอกสารแสดงการได้งาน เช่น สัญญาที่นายจ้างประมูลงานในต่างประเทศ ฯลฯ 6. หลักฐานแสดงว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ใช้ ภงด.1 หรือหลักฐานการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม 7. หลักฐานแสดงการอนุญาตให้นำคนงานเข้าประเทศ เช่น วีซ่า เอ็น โอ ซี ฯลฯ 8. สัญญาจ้างงาน ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุเงื่อนไขดังนี้ (5 ชุด) 8.1 ระยะเวลาการทำงาน 8.2 สวัสดิการอาหาร ที่พัก 8.3 ค่าโดยสารเครื่องบิน 8.4 ค่ารักษาพยาบาล 8.5 ค่าจ้าง (ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กรมการจัดหางานกำหนด) 8.6 การประกันชีวิตให้ลูกจ้างขณะส่งไปทำงานในต่างประเทศ 9. บัญชีรายชื่อลูกจ้างที่ไปทำงาน ระบุตำแหน่ง/สาขาที่ไปทำงาน 10. บัญชีรายชื่อลูกจ้างที่ได้รับอนุญาตให้นายจ้างพาไปทำงาน ( 5 ชุด ) 11. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้างมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้ดำเนินการยื่นคำขอแทน (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท) 12. หนังสือขอส่งพนักงานเข้ารับการปฐมนิเทศ
5. นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงาน
กรณีฝึกงานไม่เกิน 45 วัน นายจ้างต้องแจ้งการเดินทางต่อกรมการจัดหางาน โดยยื่นแบบแจ้งการส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศไม่เกิน 45 วัน (แบบ จง.46)
|