สร. แม็กซิสฯ,สร.ฟูจึซึและพนักงงาน บริษัท พีซีบีฯ ลั่น ! หากผลเจรจาวันที่ 31 ม.ค.นี้ ข้อพิพาทไร้ความคืบหน้าพร้อมเดินเท้าเข้ากรุงฯ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทยร่วมกันระดมทุนเกือบแสนหวังหนุนช่วยคนงานเต็มที คนงานชี้อำนาจรัฐพื้นที่แก้ปัญหาไม่ได้ ต้องลุยกรุงหวังรัฐส่วนกลางแก้ปัญหาข้อเรียกร้องของนายจ้างที่หวังเปลี่ยน สภาพการจ้าง และจ้างงานราคาถูก
สร. แม็กซิสฯ,สร.ฟูจึซึและพนักงงาน บริษัท พีซีบีฯ ซึ่งมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดงานเนื่องจากผลการเจรจาข้อ เรียกร้องที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้และพนักงานของ บริษัท พีซีบีฯ กว่า 2,000 คน ร้องลั่นหากผลการเจรจาไม่ยุติพร้อมจับมือกันเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯเพื่อกดดัน ผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหา
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2554 ในการประชุมสรุปงานประจำปี ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีกรณีปัญหาของคนงาน แม็กซิส คนงานฟูจิสึ และคนงานพีซีบี ที่อยู่ในส่วนของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก และสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าฯเข้าขอความช่วยเหลือเนื่องจากสภาพปัญหา รัฐพื้นที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพื่อให้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยในฐานะองค์กรแม่ช่วยเหลือ โดยที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ณ สำนักงานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย จัดประชุมวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทางและการแก้ไขปัญหาของ สร. แม็กซิสฯ,สร.ฟูจึซึและพนักงงาน บริษัท พีซีบีฯ ที่ยืดเยื้อมายาวนานโดยมีตัวแทนจากหลายองค์กรเข้าร่วมปรึกษาหารือร่วมกัน ซึ่งทุกองค์กรต่างแสดงห่วงใยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นาย ชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่ง ประเทศไทย กล่าวระหว่างการประชุมตอนหนึ่งว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนงานทั้ง 3 แห่งนั้นล้านหน้าเป็นห่วง เราถูกต้อน ถูกบีบในหลายๆด้านเพื่อให้รับกับสิ่งที่นายทุนต้องการ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราต้องต่อสู้เรื่องของนโยบายต่างๆที่กดทับเรามาอย่าง ช้านานให้หลุดพ้นไป เราต้องตีแผ่ให้สังคมรับรู้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง และให้คำมั่นว่า เราคนงานนั้นไม่เคยทิ้งกัน พี่น้องสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ก็ดี สมานฉันท์แรงงานไทย สหพันธ์แรงงานยานยนต์ แห่งประเทศไทย และพี่น้องแรงงานองค์กรต่างๆ พร้อมที่จะขับเคลื่อนการต่อสู้ไปด้วยกัน และที่ประชุมเสนอแนวทางการต่อสู้ต่อที่ประชุมว่า การขับเคลื่อนครั้งนี้จะต้องถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์แรงงานไทยและจะ เป็นประวัติศาสตร์ที่ทำให้แรงงานไทยถูกปลดปล่อยจากโซ่ตรวนที่ตราตรึงมาช้า นาน แรงงานมีแค่สองมือสองเท้าของเราเท่านั้นที่จะต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับพวกเรา แม้จะต้องเดินจากระยองไปถึงกรุงเทพก็ต้องเดิน เดินไปไกลกว่านั้นก็ต้องเดิน
พนักงานบริษัท บริษัท พีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 500 กว่าคน ถูกนายจ้างประกาศปิดงาน ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากและ เสียชีวิต 3 ราย เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทำให้นายจ้างอ้างประกาศปิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและเงินเดือนค้างจ่าย
ตัวแทนพนักงานให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่เกิดเหตุขึ้นพนักงานทุกคนต่างได้รับความเดือดร้อน บริษัทก็ใช้ มาตรา 75 ช่วงแรกก็จ่ายเงินตรงแต่ช่วงหลังก็มีการเลื่อนการจ่ายเงินเดือนตลลอด จนกระทั่งมีการประกาศปิดกิจการในวันที่ วันที่ 21 มกราคม 2554 โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยใดๆและอ้างบริษัทขาดทุนไม่มีเงินจ่าย มีเพียงเงินจำนวนหนึ่งให้โดยให้พวกเราแบ่งกันเองแต่ต้องเซ็นหนังสือจะไม่ เรียกร้องเอาอะไรอีก พวกเราจึงไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เขาหวังจะใช้เศษเงินเพียงน้อยนิด ปิดปากพวกเรา เราจึงต้องออกมาบอกให้สาธารณะชนรับรู้ปัญหาของพวกเราตัวแทนพนักงานระบุ
สหภาพแรงงาน ฟูจึซึ เจอร์เนอร์รัล ประเทศไทย ถูกนายจ้างประกาศปิดงานไม่จ่ายค่าจ้างเนื่องข้อเรียกร้องไม่สามารถตกลงกัน ได้ ตั้งแต่ 24 ธันวาคม 2553 จนถึงปัจจุบันโดยสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน 13 ข้อ
นาย สมควร โสรริณทร์ ประธานสหภาพแรงงานกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของเราล่าสุด สามารถตกลงกันได้ 2 ข้อ ไม่สามารถตกลงกันได้ 6 ข้อ และสหภาพแรงงาน ถอนข้อเรียกร้องจำนวน 5 ข้อ แต่นายจ้างมีที่ท่าที่ไม่ยอมเจรากับเรา ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 หากผลการเจราจาไม่คืบจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่แน่นอน ประธานสหภาพแรงงานกล่าว
สหภาพแรงงาน แม็กซิส ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 20 ข้อ โดยมีการนัดเจรจาครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 และเช้าตรู่วันเดียวกันบริษัทประกาศปิดงาน 7 วัน โดยอ้างสาเหตุเครื่องจักรเสียจำเป็นต้องหยุดการผลิตชั่วคราวและมีการประกาศ ปิดงานเนื่องจากข้อเรียกร้องไม่สามารถตกลงกันได้ ในวันที่ 25 มกราคม 2554 แต่เบื้องหลังยังคงมีการผลิต โดยเปิดรับพนังงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติมาทำงานแทนพนักงานประจำเป็น จำนวนมาก
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 นายจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานจำนวน 3 ข้อ และวันที่ 18 มกราคม 2554เวลาประมาณ 14.00 น. ตัวแทนนายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องฉบับใหม่แทนฉบับเก่าที่ถอนข้อเรียกร้องให้ กับสหภาพแรงงาน โดยยื่นข้อเรียกร้องเพิ่มเป็น 5 ข้อ
ขณะที่พื้นที่การชุมนุมของสหภาพแรงงานแม็กซิสฯที่เริ่มชุมนุมตั้งแต่ เช้าของวันที่ 22 มกราคม 2554 จนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมชุมนุมหมุนเวียนมาที่พื้นที่การชุมนุมเป็นจำนวน มาก และมีหลายๆสหภาพแรงงานแวะเวียนมาให้กำลังใจและบริจาคเงินและสิ่งของรวมทั้ง ผู้สัญจรไปมาอย่างไม่ขาดสาย
นาย มณตรี อุตสาหพันธ์ ทำงานที่บริษัทแม็กซิสฯมา 4 ปี ได้ค่าแรงเดือนละ6,000 กว่าบาท ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานแม็กซิสฯที่อาสามาเป็นกาดร์รักษาความปลอดภัย ให้เพื่อน กล่าวว่า ผมมีลูกที่ต้องดูแล 1 คนค่าจ้างก็ไม่มากหากต้องการให้ลูกอยู่ดีกินดีต้องทำโอทีเพื่อเพิ่มรายได้ แต่ต้องแลกกับเวลาที่ต้องอยู่กับลูกนั้นน้อยลง บางวันกลับถึงบ้านลูกก็หลับแล้วทำไงด้ายก็รายได้เรามันไม่พอนักสื่อสารแรง งานถามต่อว่าหากผลการเจรจาในวันที่ 28 มกราคม 2554 ไม่มีข้อยุติพร้อมหรือไม่ที่จะต้องมีขับเคลื่อนตามที่แกนนำชี้แจง ผมพร้อมเสมอหากต้องเดินด้วยเท้าเข้ากรุงเทพฯเพื่อให้ปัญหาต่างๆได้ข้อยุติ ผมก็พร้อมที่จะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนๆของผม นาย มณตรี ระบุ
นาย ชัชวาล สมเพชร ประธารสหภาพแรงงานไทยคูน ประเทศไทย กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อบริบทการจ้างงานในอนาคตอย่างน่าสนใจตอนหนึ่งว่า รู้สึงหนักใจกับอนาคตแรงงานไทย หากนโยบายของรัฐเปิดให้แรงงานต่างชาติเข้ามาอย่างไร้การควบคุม แรงงานไทยคงตกตกงานเป็นจำนวนมาก เพราะแรงงานต่างชาตินั้นค่าจ้างต่ำกว่าและนายจ้างควบคุมได้ง่ายกว่าแรงงาน ไทย ในโรงงานอุตสาหกรรมในอนาคตคงจะมีพนักงานประจำที่เป็นคนไทยน้อยมาก คงจะมีแต่แรงงานต่างชาติและคนงานเหมาค่าแรงที่เป็นคนไทยที่ถูกกดขี่ทั้งค่า จ้างและสวัสดิการ เราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้นาย ชัชวาล กล่าว
นาย สราวุธ ขันอาสา นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์แรงงานระยอง-ชลบุรี