สหภาพแรงงาน GM ไทย แจ้งพิพาทแรงงานสหภาพแรงงาน GM ไทย แจ้งพิพาทแรงงาน หลังเจรจาข้อเรียกร้อง 4 ครั้ง ไม่มีความคืบหน้า แต่กลับถูกนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวนบุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก 18 .. 54 ประชาไท เมื่อ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ก่อนสิ้นปีใหม่สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทฯ จำนวน ๑๕ ข้อ หลังจากทราบข้อมูลว่าบริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตในปี ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวและมีการจ้างงานพนักงานเหมาค่าแรง และแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ข้อเรียกร้อง ปี 2554ของสหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ***************************************************************************** ข้อ 1 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2554 ให้กับ สมาชิก สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์สประเทศไทยทุกคนรวมถึงเหมาค่าแรง ดังต่อไปนี้ 1.1 จ่ายเงินโบนัสแบบคงที่ จำนวน 1.5 เดือน และบวกเงินพิเศษคนละ 20,000 บาท 1.2 จ่ายเงินโบนัสแบบไม่คงที่ จำนวน 4.5 เดือน 1.3 ให้จ่าย 2 งวด คือ งวดสิ้นเดือน มีนาคม 2554 และงวดสิ้นเดือนธันวาคม 2554 ข้อ 2 ขอให้บริษัทฯ ปรับฐานเงินเดือนขึ้นประจำปี 2554 ให้กับสมาชิก สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์สประเทศไทยทุกคน เป็นดังต่อไปนี้ 2.1 เกรด A = 10 เปอร์เซ็นต์ บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท 2.2 เกรด B = 9 เปอร์เซ็นต์ บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท 2.3 เกรด C = 8.5 เปอร์เซ็นต์ บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท 2.4 เกรด D = 6 เปอร์เซ็นต์ บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท 2.5 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ข้อ 3 ขอ ให้บริษัทฯ ปรับเงินเบี้ยทำงานต่างจังหวัด (ค่าเช่าบ้าน) ให้กับ สมาชิก สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์สประเทศไทยทุกคน เป็นดังนี้ 3.1 ปรับเกณฑ์ขั้นต่ำค่าเบี้ยต่างจังหวัดให้พนักงานทุกคน = ค่าเฉลี่ยเบี้ยต่างจังหวัดของระดับผู้จัดการขึ้นไป วิธีคำนวณ ผลรวมค่าเบี้ยต่างจังหวัดของผู้จัดการขึ้นไปทุกคน = ค่าเบี้ยต่างจังหวัดของพนักงานแต่ละคน จำนวนผู้จัดการขึ้นไป ข้อ 4 ขอให้บริษัทฯเปลี่ยนแปลงการคำนวณ ค่าล่วงเวลา และ ค่าจ้างในวันหยุด เป็นดังต่อไปนี้ การคำนวณค่าล่วงเวลา จากเดิม เปลี่ยนเป็น {เงินเดือน÷22} × 2 ทุกระดับ 8 ข้อ 5 ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าทำงานกะ เป็นดังต่อไปนี้ 5.1พนักงานระดับ HOURLY กะดึก จากเดิม 190 บาท เปลี่ยนเป็น 220 บาท เท่ากันทุกคน 5.2พนักงานระดับ HOURLY กะบ่าย จากเดิม 135 บาท เปลี่ยนเป็น 150 บาท เท่ากันทุกคน ข้อ 6 ขอให้บริษัทฯ เปลี่ยนผลประโยชน์ทดแทนของประกันชีวิตกลุ่มเป็นดังต่อไปนี้ 6.1 ROOM จากเดิม 1,500 บาท เปลี่ยนเป็น 3,000 บาท 6.2 OPD จากเดิม 800 บาท เปลี่ยนเป็น 1,500 บาท 6.3 VISIT จากเดิม 700 บาท เปลี่ยนเป็น 1,500 บาท ข้อ 7 กรณี ที่บริษัทฯ ไม่มีการผลิตในฝ่ายผลิต ให้บริษัทฯ ประกาศเป็นวันหยุดที่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามปกติ และให้ยกเลิก ระเบียบข้อบังคับบริษัทฯ ดังนี้ หมวดที่ 3 วันทำงาน เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด และการบันทึกเวลาทำงาน 3.1 วัน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก 3.1.2 เวลาทำงานปกติ โรงงานระยอง เวลา 07.30 น. ถึงเวลา 17.00 น. เปลี่ยนเป็น เวลา 07.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. 3.1.3 เวลาพัก โรงงานระยอง ช่วงแรก เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 12.40 น. เปลี่ยนเป็น เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 13.00 น. ช่วงที่สอง เวลา 16.40 น. ถึงเวลา 17.00 น. เปลี่ยนเป็น เลิกงาน เวลา 16.30 น. 3.2 วันหยุด และหลักเกณฑ์การลาหยุด 3.2.3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี (6) บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้พนักงานพร้อมกันทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ตามความจำเป็นหรือความเหมาะสม โดยบริษัทฯจะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทฯกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานพร้อมกันนี้ พนักงานที่ยังไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้า หมวดที่ 6 ค่าจ้าง วัน และสถานที่จ่ายค่าจ้าง 6.7 กรณีที่บริษัทฯ มีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของ บริษัทฯจนทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้ง หมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่พนักงานในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่พนักงานได้รับก่อนบริษัทฯ หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่บริษัทฯ ต้องหยุดกิจการ ข้อ 8 ใน กรณีที่บริษัทฯ จะประกาศ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีผลกระทบต่อพนักงาน บริษัทฯ ต้องปรึกษาหารือ และ ต้องได้รับความยินยอม จากทาง คณะกรรมการลูกจ้าง และคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรก่อน จึงจะสามารถประกาศเปลี่ยนแปลงได้ ข้อ 9 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในส่วนของบริษัท เป็นดังต่อไปนี้ 9.1 พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนครบ 5 ปี ได้เงินสมทบส่วนของบริษัทฯ 100 % 9.2 พนักงานที่ลาออกจากสมาชิกกองทุน และยังทำงานอยู่บริษัทฯ ต้องได้รับเงินสมทบในส่วนของบริษัทฯตามสัดส่วน ข้อ 10 ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าชำนาญการให้กับพนักงาน เป็นดังต่อไปนี้ 10.1 พนักงานที่ทำงาน 1 ถึง 3 ปี ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ 300 บาท / เดือน 10.2 พนักงานที่ทำงาน 4 ถึง 6 ปี ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ 600 บาท / เดือน 10.3 พนักงานที่ทำงาน 7 ถึง 9 ปี ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ 900 บาท / เดือน 10.4 พนักงานที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ 1, 200 บาท / เดือน ข้อ 11 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานเป็นดังต่อไปนี้ 11.1 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ BODY SHOP, M/T,WFG จำนวน 200 บาท/ เดือน 11.2 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ PAINT SHOP, M/T,WFG จำนวน 200 บาท/ เดือน 11.3 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ GA SHOP , M/T,WFG จำนวน 200 บาท/ เดือน 11.4 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ GCA จำนวน 500 บาท/ เดือน (ที่ออกไป Test รถข้างนอก) ข้อ 12 ขอให้บริษัทฯ สนับสนุนกิจกรรมสหภาพฯเป็นดังนี้ 12.1 ขอให้บริษัทฯ เพิ่มกรรมการทำงานสหภาพฯ เต็มเวลาอีกจำนวน 5 คน 12.2 ขอให้บริษัทฯ อนุญาตให้กรรมการเต็มเวลาเข้ากะตามการผลิตของบริษัทฯ 12.3 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินสนับสนุน งบประมาณการอบรมสัมมนาของสหภาพฯ เป็นครั้งๆไป ข้อ 13 ขอให้บริษัทฯ ปรับพนักงานชั่วคราวทุกประเภทเป็นพนักงานประจำ ปีละ 200 คน ข้อ 14 ขอให้บริษัทฯ สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับกรรมการลูกจ้าง เป็นดังต่อไปนี้ 14.1 เพื่อดูแลพนักงานในกรณี บิดา มารดา ภรรยา สามี และบุตรเสียชีวิต 14.2 เพื่อดูแลพนักงานในกรณี พนักงานประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วยอื่น ข้อ 15 ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าฝึกซ้อม เบี้ยเลี้ยง และ โอที ให้กับ นักกีฬาที่เป็นตัวแทนบริษัทฯ ทุกคน
ต่อ มาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจากันเป็นครั้งที่ ๔ แต่ไม่มีความคืบหน้า ก่อนจบการเจรจานายจ้างได้มีการยื่นข้อเรียกร้องสวนต่อสหภาพแรงงานจำนวน ๒ ข้อ ดังนี้
(1.) ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่มีการเจรจาและตกลงระหว่างบริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ ภายหลังข้อตกลงฯ ฉบับเดิมสิ้นสุดลง มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่มีข้อตกลงร่วมกัน (2.) เพื่อ ให้เกิดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิตตามความต้องการของลูกค้าและให้ เกิดความสอดคล้องกับการผลิตตามความต้องการทางธุรกิจ บริษัทฯ สามารถปรับเปลี่ยนวันและเวลาการทำงานรวมถึงเวลาพักของกะการผลิต โดยอาจเพิ่มหรือลดกะการผลิตรวมถึงการโอนย้ายพนักงานระหว่างกะ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อบรรลุเรื่องความปลอดภัย คุณภาพและเป้าหมายการผลิต ด้วยการพิจารณาด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียม
หลัง จากนั้นในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ สหภาพแรงงานจึงได้แจ้งเป็นข้อพิพาทแรงงานไปที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จังหวัดระยอง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 54 ที่ ผ่านมา พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยองได้นัดทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยที่ สำนักงานของการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถกำหนดทิศทางในการเจรจาได้ ฝ่ายนายจ้างต้องการทำสัญญาข้อตกลงสภาพการจ้างสองปี โดยที่ระหว่างสองปีห้ามลุกจ้างยื่นข้อเรียกร้องใดๆ แต่ฝ่ายลูกจ้างยังคงยืนยันที่จะคงสภาพการจ้างเดิมไว้คือให้ทำเป็นข้อตกลง สภาพการจ้างปีต่อปี เพราะเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองมีการผันผวนตลอดเวลา ในขณะเดียวกันยอดการผลิดของรถคลูตและรถกระบะที่เพิ่มขึ้นต้องผลิตถึง 2 กะและการผลิตของรถเก๋งเพิ่มการผลิตจาก 13 jph เป็น 15 jph และรถกระบะตัวใหม่แผนการผลิตจากปลายปี 54 เลื่อนการผลิตขึ้นมาประมาณมีนาต้นปี 54 และจะผลิตงานเพิ่มจากสองกะเป็น3กะ รวมทั้งการเพิ่มโรงงานประกอบเครื่องยนต์เองที่จะเริ่มผลิตในปลายปี 54 ยอดการผลิตจะสูงขึ้น จึงควรที่จะรอดูผลประกอบการก่อน จึงทำให้การเจรจาทั้งสองฝ่ายอาจถึงทางตัน
ขณะ เดียวกันนายจ้างได้มีการเตรียมรับมือโดยการใช้สิทธิ์ปิดงาน สังเกตได้จากตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา มีการรับพนักงานในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็น จำนวนมาก รวมกันแล้วน่าจะมากกว่าพนักงานประจำในฝ่ายผลิต ถ้านายจ้างปิดงานเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงานหรือสหภาพแรงงานใช้สิทธิ์นัดหยุดงาน นายจ้างก็สามารถที่จะนำแรงงานเหล่านี้เข้าทำงานทดแทนได้เลย
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานอีกครั้งในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป |