สภาทนายฯชี้ส่งกลับแรงงานต่างด้าวหญิงตั้งท้อง ละเมิดสิทธิฯขั้นรุนแรง กระตุ้นทำแท้ง15 .. 53 เครือมติชน วันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ ที่ให้ส่งกลับประเทศโดยทันที ปรากฏว่าถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลากหลายส่วนว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ มีความเห็นว่านโยบายดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและละเมิดศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ขั้นรุนแรง โดยนายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติฯ กล่าวว่า การส่งกลับแรงงานต่างด้าวที่ตั้งท้องโดยให้เหตุผลว่าเด็กที่เป็นลูกหลานของ แรงงานต่างด้าวจะตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานดำเนินการผิดพลาด เพราะการประกาศส่งกลับแรงงานต่างด้าวที่ตั้งท้องจะทำให้เกิดปัญหาการทำแท้ง ของแรงงานต่างด้าวที่นำไปสู่การเจ็บป่วยของแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น เพราะช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาพบปัญหาแรงงานต่างด้าวเจ็บป่วยจากการทำแท้งจำนวนมาก มีเด็กหลายคนที่แม่ทำแท้งไม่สำเร็จต้องกลายเป็นเด็กพิการ การส่งกลับแรงงานต่างด้าวที่ท้องไม่ใช่เป็นการป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก แต่จะกลายเป็นกระบวนการฆ่ามนุษย์มากกว่า หากรัฐบาลดำเนินนโยบายนี้จริงจะขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญา และรัฐธรรมนูญ จะทำให้ประเทศเราถูกมองแง่ลบในสายตาชาวโลกมากยิ่งขึ้น นายสุรพงษ์กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติฯ ทำจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้ทบทวนนโยบายดังกล่าว ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้สัมภาษณ์ว่าหากแรงงานต่างด้าวไม่คุม กำเนิดและตั้งครรภ์ จะถูกส่งตัวกลับ ทางคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติฯ มีความเห็นว่า แนวความคิดนี้ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมือง พ.ศ.2509 ข้อ 13 ที่บัญญัติว่า คนต่างด้าวผู้อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีแห่งกติกานี้โดยชอบด้วยกฎหมายอาจถูกไล่ ออกจากรัฐนั้นได้โดยคำวินิจฉัยอันได้มาตามกฎหมายเท่านั้น ... เมื่อหญิงแรงงานต่างด้าวไม่คุมกำเนิดและตั้งครรภ์ ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายไทยแล้ว แนวความคิดของกระทรวงแรงงานที่จะส่งตัวกลับจึงขัดต่อหลักกฎหมายระหว่าง ประเทศข้างต้น |