Thai / English

ขึ้นค่าแรง...สุดท้ายไม่มีใครได้อะไร

การอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมติคณะกรรมการไตรภาคี คือคณะกรรมการค่าจ้างที่มีตัวแทนจากทุกฝ่ายมาเป็นกรรมการ ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นประมาณ 817 บาท แล้วแต่ภาคและจังหวัดที่จะสูงต่ำตามค่าครองชีพ แต่เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 11 บาท
ทีมข่าวการเงิน
13 .. 53
โพสต์ทูเดย์

การอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมติคณะกรรมการไตรภาคี คือคณะกรรมการค่าจ้างที่มีตัวแทนจากทุกฝ่ายมาเป็นกรรมการ ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นประมาณ 817 บาท แล้วแต่ภาคและจังหวัดที่จะสูงต่ำตามค่าครองชีพ แต่เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 11 บาท

และทำให้ค่าเฉลี่ยค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 176.3 บาท/วัน

การขึ้นค่าแรงครั้งนี้โดนภาคเอกชนโจมตีว่ารัฐบาลใช้หาเสียง เพราะภาคที่ได้ขึ้นค่าแรงมากที่สุดคือภาคใต้ ที่มีอัตราการขึ้นค่าแรงเฉลี่ยสูง ทั้งที่ค่าแรงขั้นต่ำก็ไม่ได้ต่ำกว่าภาคอื่น

เพราะแรงงานในภาคเหนือและภาคอีสานต่างหากที่มีค่าแรงขั้นต่ำถูกที่สุดในประเทศ

สำหรับค่าจ้างในเขต กทม.และปริมณฑล ปรับเพิ่มเป็น 215 บาท โดย กทม.และสมุทรปราการ เพิ่ม 9 บาท ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร เพิ่ม 10 บาท

จังหวัดที่ได้ปรับเพิ่มน้อยที่สุด 8 บาท ประกอบด้วย พะเยา ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และประจวบคีรีขันธ์

ในจำนวนนี้พะเยาเป็นจังหวัดที่มีค่าจ้างขั้นต่ำที่สุดคือ 159 บาท ถัดมาคือ ศรีสะเกษ 160 บาท น่าน 161 บาท

ขณะที่จังหวัดที่ได้ปรับเพิ่มมากที่สุดคือ ภูเก็ต ได้เพิ่ม 17 บาท และเป็นจังหวัดที่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำสูงที่สุดคือ 221 บาท

รองลงมาคือ นครศรีธรรมราชและสงขลา ได้ปรับเพิ่ม 15 บาท ส่วนพัทลุง สตูล และกระบี่ ได้ปรับเพิ่ม 14 บาท

การขึ้นค่าแรงแต่ละครั้ง คณะกรรมการค่าจ้างจะเริ่มพิจารณาจากตัวเลขของอนุกรรมการค่าจ้างของแต่ละ จังหวัดที่เสนอเข้ามา ดูตัวเลขเงินเฟ้อและความสามารถในการจ่ายค่าแรงของนายจ้าง

จากนั้นก็จะมาหาค่าเฉลี่ยรายภาค แล้วเพิ่มเรื่องของค่าคุณภาพชีวิตแรงงานเข้าไปด้วย ทำให้ปีนี้มีอัตราการปรับขึ้นสูงกว่าปีอื่นๆ ที่ปรับขึ้นเพียง 23 บาทเท่านั้น

แค่เริ่มต้นของการขึ้นค่าแรงก็โดนโจมตี นี่ขนาดยังขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ดั่งใจนายกรัฐมนตรี ที่อยากให้แรงงานทั่วประเทศมีค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันคือวันละ 250 บาท

แต่หากขึ้นไปถึง 250 บาทจริง ก็น่าสนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น

ข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมจะมีคนจำนวน 2 ล้านคน ที่ได้ปรับเพิ่มค่าจ้างคิดเป็นเงิน 6,918 ล้านบาท รวมกับแรงงานต่างด้าวอีก 2 ล้านคน คิดเป็นเงิน 7,775 ล้านบาท ทำให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอีก 14,694 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นการบริโภคและหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 แสนล้านบาท

ตัวเลขเหล่านั้นคือ การดีดลูกคิดรางแก้วของรัฐบาล

แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครรู้ว่าเงินจะหมุนกี่รอบ และแรงงานจะเจออะไรบ้าง

สิ่งแรกที่แรงงานจะเจอก็คือ คำขู่จากนายจ้างเรื่องจะปลดคน เพราะหากขึ้นค่าแรงมากและต้นทุนสูงเกินไป จะทำให้ต้องลดจำนวนคนงานลง เนื่องจากทนค่าแรงงานที่สูง หากนายจ้างขึ้นไม่ไหว ก็ต้องลดจำนวนคนงานลง โดยเฉพาะนายจ้างที่ทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ได้พูดชัดเจนแล้วว่า ปีหน้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะไม่ดี

หากขายของไม่ดี ก็จะเป็นต้องลดต้นทุนนั่นก็คือ คน

สิ่งที่จะตามมาในระยะต่อไปก็คือ การใช้แรงงานต่างด้าวทดแทน ซึ่งนายจ้างจะจ้างได้ในราคาที่ถูกกว่า และหากสอนให้ดีก็สามารถพัฒนาฝีมือแรงงานได้เช่นกัน ไม่ได้เป็นแรงงานไร้ฝีมือตลอดกาล และหากมีการใช้แรงงานต่างด้าวทดแทนเมื่อไหร่ ก็น่าเป็นห่วงว่าแรงงานไทยจะทำเช่นไร

นอกจากนี้ นายจ้างอาจจะใช้วิธีการลดต้นทุนด้วยการจ้างลูกจ้างเป็นรายวัน หรือเป็นลูกจ้างชั่วคราว เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียผลตอบแทนในรูปของสวัสดิการอื่นๆ เพิ่ม และที่แรงที่สุดก็คือการจ้างแรงงานในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นแค่เพียงตัวเลข แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใครจ้างในราคาที่รัฐบาลกำหนด และเหมือนทุกครั้งที่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คือจะมีการขึ้นราคาสินค้าไปรอก่อนล่วงหน้า ซึ่งในขณะนี้ก็มีการขึ้นราคาสินค้าไปแล้วหลายรายการ

จนถึงขนาดที่ นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ถึงกับออกปากว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้แม้จะมากกว่าที่เคยขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้แรงงานได้ประโยชน์อะไร ได้แค่ระยะสั้น ระยะยาวนั้นเหมือนไม่ได้ขึ้นค่าแรง เพราะราคาสินค้าได้ขึ้นราคาไปรออยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่าจะให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลราคาสินค้าเป็นพิเศษ ไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินจริงซ้ำเติมคนจนเป็นอันขาด

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำการศึกษาออกมาพบว่า คน กทม.และเมืองใหญ่ยังคงยังชีพได้ ควรจะมีรายได้ต่อเดือนขั้นต่ำเดือนละ 8 บาท ส่วนใหญ่จะใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าอาหาร

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า แม้ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยจะยังไม่ถึง 8,000 บาท ตามที่ ธปท.ทำการศึกษาไว้

จะคิดแต่ค่าแรงอย่างเดียวคงไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลได้มีการจัดรัฐสวัสดิการให้กับแรงงานไว้พอสมควร ทั้งในเรื่องของรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี สำหรับผู้ที่ใช้ไฟไม่ถึงข้อกำหนดขั้นต่ำก็ไม่ต้องจ่าย

ซึ่งก็จะให้ถูกต้อง ก็ต้องรวมรัฐสวัสดิการที่รัฐจัดให้ไว้เพื่อประชาชนด้วย เพราะส่วนนี้รัฐบาลรับภาระให้ ถ้ารัฐบาลไม่ให้ตรงนี้ประชาชนก็จะต้องจ่ายเอง

ดังนั้น การขึ้นค่าแรงและการช่วยค่าครองชีพที่รัฐบาลให้น่าจะทำให้ประชาชนอยู่ได้ และก็ไม่ถือว่าต่ำจนเกินไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าได้ประมาณการกันไว้ว่าจะขยายตัว 45% ก็ยังอยู่อัตราที่ไม่สูงจนเกินไปที่ประชาชนจะรับไม่ได้ โดยเงินเฟ้อปีหน้าจะมาจากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น และราคาสินค้าเกษตรที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาภัยธรรมชาติ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตรานี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี ก็คือแรงงานจะมีรายได้สูงขึ้นแน่นอน

ข้อเสีย ก็คือโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่คิดจะไปตั้งโรงงานในบางพื้นที่ เจอค่าแรงใหม่ อาจจะเปลี่ยนใจไม่ไปตั้งโรงงานในบางเขต ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอาจจะไปกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่

นอกจากนี้ กทม. แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้นายจ้างอาจจะลดเวลาการทำงานของลูกจ้างลง ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ดีว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นสูง มาก และเป็นรายจ่ายจริงที่ประชาชนต้องจ่าย

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และรัฐบาลจะต้องคิดให้ดีกับการดูแลราคาสินค้า หากไม่สามารถทำได้ก็เท่ากับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างประจำไปฟรีๆ แต่เงินเฟ้อดูดไปหมด ในที่สุดประชาชนก็ไม่มีใครได้อะไร

อัตราภาษีที่คิดว่าจะได้กลับคืน ก็อาจจะเป็นแค่ฝันหวานเท่านั้นเอง