องค์กรด้านแรงงาน-สิทธิมนุษยชน เล็ง ยื่นหนังสือต่อ"บัน คี มุน"ตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ26 .. 53 เครือมติชน 3 องค์กรแรงงานใหญ่นัดยื่นหนังสือต่อเลขาฯยูเอ็นวันนี้ จี้สอบละเมิดแรงงานข้ามชาติ แฉเจ้าหน้าที่ไทยร่วมมือขบวนการค้ามนุษย์ "เหิมเกริม"ซื้อ-ขายบนเรือระหว่างผลักดันกลับ ซัดรัฐบาลเมินแก้ปัญหา แนะ 6 ข้อปรับนโยบายแรงงานต่างด้าวใหม่ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการมาเยือนประเทศไทยของ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) วันที่ 26 ตุลาคมนี้ เครือ ข่ายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้ทำ หนังสือร้องเรียนเตรียมยื่นต่อนายบัน คี มุน เพื่อให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติพม่าที่ถูกผลักดัน ออกจากประเทศไทยเป็นการด่วน พร้อมกับมีข้อเสนอเเนะรัฐบาลไทยในการพัฒนานโยบายแรงงานข้ามชาติบนพื้นฐานของ การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หนังสือร้องเรียนระบุว่า มีข้อมูลจากสื่อมวลชนหลายสำนัก โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศได้รายงานข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผล จากนโยบายกวาดล้างเเละผลักดันแรงงานข้ามชาติที่ไม่แสดงความประสงค์จะพิสูจน์ สัญชาติ หรือแรงงานข้ามชาติที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างต่อเนื่อง อาทิ กรณีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไทยบางรายนำแรงงานที่ถูกจับกุมเเละผลักดันออกนอกไทย ไปยังพื้นที่กักกันภายใต้ควบคุมของกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (ดีเคบีเอ) บริเวณริมแม่น้ำเมยฝั่งตรงข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก ทั้งๆ ที่คนงานกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นไม่ได้อยู่ในเขตการดูแลของดีเคบีเอ กรณีต่อมา เจ้าหน้าที่ไทยบางกลุ่มได้ขายแรงงานบนเรือขณะลอยลำอยู่ในน่าน จ.ระนอง เเละเกาะสองให้นายหน้าค้ามนุษย์ จากนั้นนายหน้าลักลอบนำกลับมาไทยอีกครั้ง กรณีเหล่านี้องค์กรด้านสิทธิแรงงาน องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศเเละนานาชาติเคยยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายก รัฐมนตรีให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวตั้งเเต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไทยยังมิได้ดำเนินการใดๆ อย่างชัดเจน หนังสือระบุต่อไปว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 รัฐบาลไทยเริ่มนโยบายการปราบปรามแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายและแรงงาน ที่ไม่แสดงความประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 125/2553 เรื่อง "การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุม เเละดำเนินคดีแรงงานข้ามชาติที่ไม่เเสดงความประสงค์จะพิสูจน์สัญชาติ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553" กวาดล้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนเเละเเรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เเสด งความประสงค์พิสูจน์สัญชาติตามภายในเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันรัฐบาลยังประกาศโครงการหักเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับแรงงาน ข้ามชาติ จากเเรงงานข้ามชาติ ส่งผลกระทบกับแรงงานข้ามชาติที่มีรายได้น้อย สะท้อนให้เห็นว่าการปรับสถานะแรงงานข้ามชาติให้ถูกกฎหมายและการกวาดล้างเเรง งานข้ามชาติ เป็นการเปิดโอกาสให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ ทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิอันพึงได้รับ �มีข้อมูลเชื่อได้ว่าแรงงานข้ามชาติที่ถูกส่งต่อเข้าค่ายกักกันของ กองกำลังดีเคบีเอ ต้องจ่ายค่าไถ่ตัวสูงถึงคนละ 2,500 บาท เพื่อกลับสู่ไทยอีกครั้ง ส่วนแรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันกลับทางเรือไปยังเกาะสอง มีหลักฐานว่าถ้าแรงงานไม่มีเงินเเลกกับการปล่อยตัว จะถูกนำไปขายให้ขบวนการค้ามนุษย์ และมีนายหน้าลักลอบพากลับสู่ไทย� หนังสือระบุ หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่า สรส. คสรท.และ มสพ.มีข้อเสนอแนะรัฐบาลไทยผ่านเลขาธิการยูเอ็น ดังนี้ 1.รัฐบาลควรเชิญผู้รายงานพิเศษเเห่งสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ อพยพ ผู้รายงานพิเศษเเห่งสหประชาชาติด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ผู้รายงานพิเศษเเห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน มาเยือนไทยเพื่อให้คำเเนะนำต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เเละให้ข้อเสนอเเนะปรับปรุงนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติเพื่อให้เคารพ สิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติมากขึ้น 2.รัฐบาลควรระงับการผลักดันเเละจับกุมแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิด กฎหมาย ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีทันที จนกว่าจะมีการตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อยุติการค้ามนุษย์ การแสวงประโยชน์โดยมิชอบ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าวต้องถูกดำเนินคดีเเละลงโทษโดย ผ่านกระบวนการที่โปร่งใส 3.เมื่อรัฐบาลประกาศว่านโยบายเปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติครั้งใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ ดังนั้น การยกเลิกการกวาดล้างจะสร้างแรงจูงใจเเก่นายจ้างเเละเเรงงานข้ามชาติให้กล้า แสดงตัวเพื่อเข้าจดทะเบียนตามกฎหมาย 4.รัฐบาลควรจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติรอบใหม่โดยเร็วด้วยวิธีการที่ สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ยึดหลักนิติธรรมในการบริหารจัดการเเรงงานข้ามชาติ เเละหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนถึงผู้ติดตามเเละครอบครัว 5.รัฐบาลไทยควรทบทวนนโยบายการนำเข้าแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายจาก ประเทศเพื่อนบ้าน โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่แรงงานข้ามชาติพึงได้รับ เเละป้องกันการเเสวงประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานข้ามชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจเเละด้านอื่นๆ 6.รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายระยะยาว ให้มีหน่วยงานเฉพาะเพียงหน่วยงานเดียวทำหน้าที่บริหารการอพยพย้ายถิ่น เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวเเรงงานข้ามชาติเอง นายจ้าง และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย
|