เสียงคนงาน: เส้นทางคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าสวีเดน 255314 .. 53 ประชาไท 13 ต.ค. 53 นางพรพรรณ สุขล้ำ แรงงานไทยที่ไปเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดนที่ได้เดินทางกลับมาเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 53 ได้เข้าร้องเรียนกับโครงการณรงค์เพื่อแรงงานไทย เรื่องการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดนแล้วถูกนายจ้างลอยแพ พร พรรณเล่าว่าก่อนเดินทางไปสวีเดนนั้น ได้ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์เรื่องการไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน จากรายการวิทยุท้องถิ่น ว่าหากใครสนใจไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน รายได้ดี ให้ติดต่อกับนายหน้าซึ่งอยู่ที่บ้านหนองคอนไท อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยทางนายหน้าระบุว่ามีงานที่ประเทศสวีเดน รายได้มีเงินการรันตีไม่มีการขาดทุน (16,372 kronor ต่อเดือน) และยังระบุอีกว่าผลไม้ปีนี้ดกมาก ซึ่งทางบริษัทจะมีเงินออกให้ 50,000 บาท ให้คนงานวางคนละ 25,000 บาท จากนั้นในวันที่ 30 เม.ย 53 ตนได้นำเงินมาให้กับนายหน้า 25,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจ้าง ต่อมานายหน้าได้เรียกเงินอีกเป็นจำนวน 2,300 บาท โดยอ้างเป็นค่าประกันอุบัติเหตุ
ค่าใช้จ่ายของพรพรรณในการไปทำงานที่สวีเดน จ่ายค่าวีซ่า 25,000 บาท ค่าเดินทาง+ค่าประกันอุบัติเหตุ 3,000 บาท ค่าพาสปอร์ต 1,050 บาท ค่าเครื่องบินไปกลับ 50,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 79,050 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่สวีเดน)
ในวันที่ 19 ก.ค. 53 ตนได้เข้าอบรมที่กระทรวงแรงงาน นายหน้าได้นัดคนหางานประชุม และได้แจ้งกับคนงานว่าทางบริษัทนายจ้างที่สวีเดนคือบริษัท ลุมเคอร์แบร์ (Lömsjö Bär AB) ไม่สามารถหาเงิน 50,000 บาทได้ และให้คนงานจ่ายเองและต้องจ่ายเป็นสดเท่านั้น ซึ่งพรพรรณได้นำโฉนดที่ดินไปวางกับนายทุนเงินกู้เพื่อนำเงินมาเป้นค่าใช้ จ่ายดังกล่าว และได้นำเงินไปจ่ายให้กับนายหน้าก่อนเดินทาง 3 วันโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน จากนั้นในวันที่ 29 ก.ค. 53 จึงได้เดินไปที่ประเทศสวีเดน พร้อมกันกับคนงานทั้งหมด 39 คน ถึงสวีเดนวันที่ 30 ก.ค. 53 โดยมีนายอารี ฮาลิคาเน่น (Ari Hallikanen) ซึ่งเป็นนายจ้างได้เดินทางมารับที่สนามบิน โดย ทางบริษัทได้พาคนงานไปรอเพื่อทำงานอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นบ้านนายจ้างก่อน จากนั้นถัดมาอีก 2 วัน จึงได้พาคนงานเดินทางไปที่แคมป์ซึ่งอยู่ที่เมืองโอสเลอ (Åsele) ซึ่งอยู่ภาคกลางของประเทศสวีเดน ซึ่งคนงานต้องรอถึงวันที่ 7 ส.ค. จึงได้เริ่มทำงาน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายที่สวีเดน คนงานต้องเสียค่าที่พัก, ค่าอาหาร, ค่าเช่ารถ, ค่าน้ำมัน รวมเป็นเงิน 190 kronor ต่อวัน ซึ่ง ทางบริษัทจะหักค่าจากเงินเดือน (ออกทุกวันที่ 25 ของเดือน) และคนงานต้องจ่ายค่าภาษีร้อยละ 25 รวมถึงคนงานต้องซื้ออุปกรณ์การเก็บผลไม้ซึ่งประกอบด้วย ที่ตักผลไม้และถังสำหรับใส่ผลไม้อีก 150 kronor ที่ พักที่นายจ้างจัดคนงานทั้งหมดนั้นเป็นโรงเรียน ส่วนอาหารทางบริษัทจะเป็นผู้จัดทำให้คนงาน ทั้งนี้พรพรรณระบุว่าในส่วนของห้องพักไม่ค่อยสะอาดเท่าไรนัก คนงานต้องตื่นตอนตี 3 เพื่อไปทำงาน โดยจะเดินทางโดยรถที่เช่ามา โดยมีคนงาน 10 คน ต่อรถหนึ่งคันและคนงานเป็นคนขับกันเอง ทั้งนี้คนงานเก็บผลไม้ต้องเดินทางประมาณวันละ 300 400 กิโลเมตร โดยในการทำสัญญากับนายจ้าง มีการระบุว่าบริษัทกำหนดขั้นต่ำในการเก็บผลไม้ไว้ที่ 24 กิโลกรัม ซึ่งถ้าเกินกว่านั้นก็จะเป็นรายได้ของคนงานโดยตรง ทั้งนี้คนงานเก็บได้วัน 30-40 กิโลกรัม (กิโลกรัมละ 23 kronor) โดยในแต่วันคนงานจะกลับจากการทำงานเวลา 3 ทุ่ม สร้าง ความเหนื่อยล้าให้กับคนงานเป็นอย่างมาก กับชั่วโมงการทำงาน และสภาพการทำงานที่ต้องแบกผลไม้กว่าคนละ 30 กิโลกรัม เกินทางไกลถึง 3 - 4 กิโลเมตร รวมถึงได้พักผ่อนวันละ 5 ชั่วโมงเท่านั้น บริษัทตกลงจะจ่ายเงินคนงานทุกวันที่ 25 ของเดือน แต่พอถึงกำหนดบริษัทไม่ได้จ่ายเงินเดือนแต่กลับให้เบิกค่าใช้จ่ายคนละ 6,000 kronor (จากที่เคยตกลงไว้ว่าจะได้รับเงินเดือน 16,372 kronor ต่อเดือน) และได้รับเพียงเดือนแรกเท่านั้น ซึ่งคนงานจะต้องนำเงินเหล่านี้ไปเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยนายจ้างได้สัญญาว่าจะจ่ายรวมทั้งหมด 2 เดือน ในวันที่ 25 ก.ย. 53 แต่พอถึงวันครบกำหนด ทางบริษัทได้แจ้งกับคนงานว่าขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 28 ก.ย. 53 แต่นายจ้างก็หายตัวไปพร้อมเงินเดือนที่ต้องจ่ายให้คนงานในวันที่ 29 ก.ย. 53 หลังจากนั้นคนงานทั้งหมด 155 คน ในแคมป์ก็ได้รู้ว่าถูกนายจ้างโกงแล้วจึงตัดสินใจไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ โดย ทางทางการท้องถิ่นของสวีเดนแจ้งว่าจะเข้าไปเจรจากับลูกชายของนายจ้างให้ และคนงานก็ได้ติดต่อไปยังสถานทูตไทย ซึ่งทางสถานทูตได้เดินทางมาไกล่เกลี่ยกับทางลูกชายของนายจ้างแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากลูกชายของนายจ้างระบุว่าเงินทั้งหมดอยู่ที่นายจ้าง ไม่มีเงินจ่ายให้กับคนงาน จากนั้นคนงานทั้งหมด 155 คน ได้ตัดสินรวมตัวกันเรียกร้องกับทางคอมมูนและสถานทูตไทย ใน การดำเนินคดีกับนายจ้างเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าแรงให้คนงาน แต่คนงานกลับได้รับการแนะนำจากสถานทูตไทยว่าจะดำเนินการฟ้องร้องให้ และขอให้คนงานเดินทางกลับประเทศไทยก่อน จากนั้นคนงานบางส่วนจึงได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยในวันที่ 3 ต.ค. 53 และถึงประเทศไทย ในวันที่ 4 ต.ค. 53 แต่ทั้งนี้ยังมีคนงานไทยอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ยอมกลับ เพราะต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมที่สวีเดนต่อ
|