Thai / English

เล็งเปลี่ยนสูตรปรับค่าแรงขั้นตํ่าใหม่

กระทรวงแรงงานจะปรับเปลี่ยนกรอบกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่ผูกกับอัตราเงินเฟ้อ แต่ปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพปัจจุบัน

12 .. 53
โพสต์ทูเดย์

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ว่า ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปี 2554 โดยจะเป็นเพียงการหารือถึงแนวทางและกรอบความคิดการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของแรงงานและต้นทุนของผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ ที่ประชุมต้องการล้างกรอบความคิดเดิมที่มีปัญหาว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับ ขึ้นแต่ละปีมักจะต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นจึงวางกรอบการพิจารณาใหม่ให้การปรับค่าจ้างสอดคล้องกับค่าครองชีพและ สภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน โดยพูดถึง 4 ประเด็นคือ

1.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องยกระดับชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้สูงขึ้นแต่ต้องไม่ส่งผลกระทบกับความสามารถในการจ่ายเงินของนายจ้าง

2.มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ซึ่งมีนายสุนันท์ โพธิ์ทอง รองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ศึกษาข้อมูลการปรับค่าจ้างขั้นต่ำย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (25402553) ว่ามีส่วนต่างกับอัตราเงินเฟ้อมากน้อยเพียงใดเพื่อให้การพิจารณาค่าจ้างสอด คล้องกับค่าครองชีพที่เป็นจริง

3.หาแนวทางกำหนดมาตรการลดต้นทุนการผลิตของสถานประกอบการ และ 4.การวางมาตรการเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้กับแรงงานกลุ่มใหม่ที่จะเข้า สู่สถานประกอบการ

“อนุกรรมการวิชาการต้องไปดูช่องว่างสะสมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาว่ามีช่องว่างเท่าไหร่ สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ ปัญหาเป็นอย่างไร ถ้ามีส่วนต่างไม่มากก็อาจปรับขึ้นเลยทีเดียว แต่ถ้าต่างกันมากและปรับขึ้นครั้งเดียวอาจกระทบต่อผู้ประกอบการ คณะกรรมการค่าจ้างอาจทยอยปรับตามความเหมาะสม” นายสมเกียรติ กล่าว

ทั้งนี้ คาดว่าการศึกษาข้อมูลจะได้ข้อสรุปปลายเดือน พ.ย. เพื่อให้ทันต่อการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในวันที่ 1 ม.ค. 2554 นายสมเกียรติเพิ่มเติมว่าคณะกรรมการค่าจ้างกลางไม่ได้พูดถึงหลักเกณฑ์การ ขึ้นค่าจ้าง 250 บาท/วันตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางว่าวันนี้จะยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับ ขึ้นค่าจ้างประจำปี 54 โดยจะเป็นเพียงการหารือถึงแนวทางและกรอบความคิดการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของแรงงานและต้นทุนของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ยังต้องรอการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการค่าจ้างกลางอย่างเป็นทางการภายใน สัปดาห์หน้า เพราะคณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นชุดรักษาการซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี จึงทำให้ไม่สามารถมีมติการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีได้

ขณะเดียวกันต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลสรุปตัวเลขอัตราค่าจ้างที่คณะ อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดได้ส่งมาให้เมื่อวันที่ 30 ก.ย.53 ซึ่งจะทราบข้อมูลการปรับขึ้นค่าจ้างได้ในช่วงเดือนต.ค.พ.ย.นี้ โดยมีเวลาเพียงพอในการประกาศขึ้นค่าจ้างอย่างเป็นทางการตั้งแต่ต้นปี 54 เพื่อให้ผู้ประกอบการและแรงงานได้มีเวลาปรับตัวทัน

ส่วนแนวทางการแบ่งค่าจ้างเป็นโซนตามพื้นที่นั้น จะนำมาหารือถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบตามพื้นที่อย่างรอบคอบเพราะหากปรับ ขึ้นเป็นโซนจะส่งผลต่อพื้นที่ใกล้เคียงที่มีอัตราค่าจ้างไม่เท่ากัน และจะทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในอนาคต

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมฯ ว่า ที่ประชุมวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่จะมีการปรับ ขึ้น โดยที่ประชุมได้มอบกรอบแนวคิดไว้ 4 ประการ เพื่อให้คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการเร่งไปศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ย.53

ประกอบด้วย 1.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ให้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตแรงงานขั้นพื้นฐาน แต่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่จ่ายค่าจ้าง 2.ข้อเสนอการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในปัจจุบันยังต่ำกว่าอัตราเงิน เฟ้อ ซึ่งที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการกลับไปคำนวณฐานค่าจ้างแรง งานขั้นต่ำ โดยให้เทียบกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

3.ให้ไปศึกษามาตรการที่จะให้นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างได้สูงขึ้น โดยให้คำนึงถึงว่าจะสามารถปรับประสิทธิภาพของแรงงานให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร และ 4.ให้ศึกษามาตรการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มากขึ้น

สำหรับการเสนอกรอบการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดดมาเป็น 250 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเพียงกรอบที่ต้องการให้คุณภาพชีวิตแรงงานไทยดีขึ้น

อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างครั้งนี้คณะกรรมการจะศึกษาจากค่าครองชีพของแรง งาน ต้นทุนของผู้ประกอบการ และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นไปตามกรอบที่นายกรัฐมนตรีให้ไว้หรือ ไม่

“นายกฯ ได้ให้ตัวเลขมา ท่านก็มีกรอบความคิดที่เราต้องนำมาพิจารณาว่ามีจุดอ่อนอะไรบ้าง แต่เราไม่ได้ไปลบล้างกรอบความคิดเดิม” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

ในเบื้องต้นอนุกรรมการค่าจ้าง 76 จังหวัด ได้ส่งอัตราค่าจ้างที่ขอปรับให้บอร์ดพิจารณาแล้ว โดยขั้นต่ำอยู่ที่ 2 บาท สูงสุดอยู่ที่ 10 บาท สำหรับ กทม.เสนอขอปรับเพิ่ม 7 บาท จาก 206 บาท เป็น 213 บาทต่อวัน ซึ่งจะปรับขึ้นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการไตรภาคีที่ประกอบด้วยคณะ กรรมการฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล