Thai / English

ภาคอุตสาหกรรมเซ็งแรงงานขาดล้านคน

ภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานซับคอนแทรกต์ 1 ล้านคน รับการผลิตสินค้าส่งลูกค้าช่วงคริสต์มาสปีใหม่

09 .. 53
โพสต์ทูเดย์

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานภาคอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องการแรงงานแบบเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) มากถึง 1 ล้านคน ในการรองรับการผลิตสินค้าในเดือนก.ย.–ต.ค. 2553 ที่มีคำสั่งซื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการสินค้าของผู้บริโภคทั่วโลกในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ส่งผลให้บริษัทผู้รับเหมาช่วงต่างเร่งประกาศหาแรงงานป้อนให้โรงงานผลิตสินค้า

สำหรับกลุ่มที่ต้องการแรงงานซับคอนแทรกต์ในปริมาณมาก เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ อาหาร โดยเฉพาะผู้ผลิตส่งออกกุ้งและไก่ เนื่องจากก่อนทำสัญญารับคำสั่งซื้อ ผู้ผลิตไทยต้องสัญญาว่าจะส่งสินค้าให้ทันตามกำหนด เพราะหากไม่มั่นใจว่าจะส่งได้ ผู้ซื้อก็จะไปติดต่อผู้ผลิตรายอื่นแทน ซึ่งทำให้โรงงานหลายแห่งต้องปฏิเสธคำสั่งซื้อจำนวนมาก

“ช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเพิ่มกำลังการผลิตมี 3 ช่วง คือ เดือน ม.ค.ก.พ. ช่วงเดือน พ.ค.–มิ.ย. และ ก.ย.ต.ค. โดยปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานประจำที่ 89 ล้านคน ที่เหลือก็จะจ้างซับคอนแทรค 12 ล้านคน แต่ปีนี้มีปัญหาการขาดแคลนทั้งแรงงานประจำระดับช่างฝีมือและซับคอนแทรกต์ที่ส่วนใหญ่กลับไปทำงานในภาคเกษตรหรือไม่ก็ทำธุรกิจส่วนตัว และไม่กลับเข้ามาทำงานในโรงงาน เพราะนายจ้างไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร” นายวีรศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ สศอ.เตรียมหารือกับภาคเอกชนหาแนวทางช่วยเหลือลูกจ้างซับคอนแทรกต์ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนช่วงไม่มีงานทำ เช่น เช่น พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อผลักดันให้เป็นแรงงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจนสามารถเป็นพนักงานประจำได้นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีกว่า 1 แสนราย ที่ไม่เป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรม เช่น ด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิเทศน์ศาสตร์ เป็นต้น เพราะแม้ว่านายจ้างจะขาดแคลนแรงงานแต่ก็ไม่อยากจ่ายค่าตอบแทนในระดับที่สูงตามวุฒิการศึกษา เนื่องจากใช้งานไม่คุ้มค่า ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือกว่า 1 แสนตำแหน่ง โดยเฉพาะในกลุ่มสาขา ปวช. และ ปวส. นั้น ส่วนหนึ่งนายจ้างให้ค่าตอบแทนที่ระดับที่ต่ำทำให้แรงงานจำเป็นต้องเลือกบริษัทที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ

สำหรับอุตสาหกรรมที่แรงงานให้ความสนใจมากสุดคือกลุ่มยานยนต์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะให้ค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท ทำให้หลายกลุ่มอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อปรับขึ้นค่าจ้างตาม ไม่เช่นนั้นแรงงานก็จะย้ายไปอยู่ในภาคอื่นหมด

ขณะเดียวกันค่ายรถยนต์หลายประเทศที่มีฐานการผลิตในไทยเริ่มกังวลปัญหาแรงงานในอนาคตที่จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยต์อันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่นเตรียมที่จะนำงบประมาณ 1,000 ล้านบาท ในการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้ามาทำงานให้กลุ่มยานยนต์ต่อไป