Thai / English

สัมมนาพิสูจน์สัญชาติที่เชียงใหม่ ตม.ย้ำเส้นตาย 28 ก.พ.



22 .. 53
ประชาไท

สัมมนาขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ และ การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ที่เชียงใหม่ จัดหางานย้ำแรงงานพม่าพิสูจน์สัญชาติแล้วมีสิทธิเดินทางทั่วประเทศ สอบใบขับขี่ และสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคม ตม.ย้ำมีเวลาถึง 28 ก.พ. เท่านั้น

ข้ามไป

เนื้อหาหลักของหน้านี้

เครื่องมือ

หน้าแรกประชาไท

เมนูหลัก

หมวดหมู่ข่าว

ติดต่อประชาไท

คู่มือการใช้งาน Access Key

ค้นหาข่าวประชาไทด้วยเว็บ Google

แผนผังเว็บ

วันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 | อัพเดทล่าสุดเมื่อ 4 ชั่วโมง 8 นาที ที่ผ่านมา

ค้นหาข่าวประชาไท ผ่านเว็บ Google |

หน้าแรกประชาไท

English

บล็อกกาซีน

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา

ประชาไทใส่เสียง

สมัครสมาชิกผู้สนับสนุน

เว็บบอร์ด

ปฏิทินกิจกรรม

ไทม์ไลน์

ข่าวมอนิเตอร์

การเมือง

เศรษฐกิจ

คุณภาพชีวิต

แรงงาน

สิทธิมนุษยชน

ความมั่นคง

สิ่งแวดล้อม

ต่างประเทศ

ไอซีที

ข่าว/บทความ ทั้งหมด

Tags ทั้งหมด

-A +A

Home

สัมมนาพิสูจน์สัญชาติที่เชียงใหม่ ตม.ย้ำเส้นตาย 28 ก.พ.

Mon, 2010-02-22 02:28

สัมมนาขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ และ การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ที่เชียงใหม่ จัดหางานย้ำแรงงานพม่าพิสูจน์สัญชาติแล้วมีสิทธิเดินทางทั่วประเทศ สอบใบขับขี่ และสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคม ตม.ย้ำมีเวลาถึง 28 ก.พ. เท่านั้น

เมื่อวานนี้ (21 ก.พ.)ที่สินธนารีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงใหม่มีการจัดสัมมนาเรื่อง“ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ และ การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ” จัดโดย เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM) สนับสนุนโดย หน่วยงานพัฒนาและ บรรเทาทุกข์แห่งประเทศไทย (ADDA)

โดยช่วงหนึ่งมีอภิปรายหัวข้อ “ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ และ การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ” โดยกัณฑิรา แก้วบุญเรือง สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ วิทยา สิงห์มณี ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ สุกิจจา วานิชพงษ์พันธุ์ ตัวแทนประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่

กัณฑิรา แก้วบุญเรือง สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลก็คือ แรงงานข้ามชาติต้องมีใบอนุญาต และเหตุผลคือการเข้าเมืองมาโดยหลบหนีเข้าเมือง จากการเข้ามาในอาณาจักร แต่สถานะยังอยู่ในฐานะหลบหนีเข้าเมือง ดังนั้น นโยบายคือแรงงานต้องขึ้นทะเบียน ให้แรงงานเป็นผู้เข้าเมืองถูกกฎหมาย ได้รับใบอนุญาตชั่วคราว แล้วต้องพิสูจน์สัญชาติ หลังจากพิสูจน์สัญชาติ ต่อมาก็จะมีกระบวนการนำเข้าแรงงานจากประเทศ พม่า ลาว และกัมพูชา

กัณฑิราอ้างว่า ได้รับการยืนยันจากรัฐบาลพม่าว่า ไม่ว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มไหน ก็มีสิทธิที่ได้รับสัญชาติพม่า ทั้งนี้อยู่ที่การกรอกแบบฟอร์ม ถ้ากลุ่มไหนกรอกข้อมูลตามข้อเท็จก็ได้รับสิทธิก่อน ถ้าหากไม่มีใบอนุญาตทำงานก็ไม่มีสิทธิไปพิสูจน์สัญชาติ ดังนั้น คนไหนไม่ยื่นใบอนุญาตทำงาน ก็ไม่ได้รับสิทธิพิสูจน์ แล้วแรงงานข้ามชาติ ก็ไม่ได้รับใบอนุญาต

โดยการนำตัวพี่น้องแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติมี 2 รูปแบบ ก็คือ 1. นายจ้างพาไป และ 2. ไม่สะดวก ก็ใช้บริษัทจัดหางาน ที่มีรายชื่อ 12 บริษัท คือ จดทะเบียนถูกต้องในประเทศไทยและรัฐบาลพม่ายอมรับด้วย

กัณฑิราเตือนว่า อย่าใช้บริการบริษัทจัดหางานที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลพม่า และบริษัทจัดหางานก็จะจัดการให้ตามแพ็กเกจ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปกับนายจ้างต้องช่วยเหลือตัวเอง ตัวแรงงานจะไม่ได้ไปเอง เพื่อเอาไป Screen visa สำนักงานจัดหางาน จะออกหนังสือให้ 1 ฉบับ เมื่อได้เอกสารจากสำนักจัดหางาน และเอกสารที่เตรียมไว้ คนไหนเลือกท่าขี้เหล็กให้ไปที่แม่สาย เอาหนังสือส่งตัวที่สำนักจัดหางานไปยื่นที่ศูนย์ และศูนย์ส่งใบแรงงานไปที่ตรวจคนเข้าเมือง และตรวจคนเข้าเมือง ก็ส่งเรื่องผลักดันออกนอกประเทศ และสิทธิที่อยู่อาณาจักรชั่วคราวสิ้นสุดไป

โดยแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จะมีสิทธิทำงานครบ 4 ปี แล้วกลับประเทศพม่า ถ้าใครจะกลับมาเมืองไทย ก็ต้องอยู่พม่าก่อน 3 ปี แล้วแรงงานต้องมาจากกระบวนการนำเข้าแรงงานข้ามชาติต่อไป ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์จากพาสปอร์ต คือ การเดินทางทั่วประเทศไทย มีสิทธิสอบใบขับขี่ได้ และนายจ้างสามารถพาแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคม

สุกิจจา วานิชพงษ์พันธุ์ ตัวแทนสำนักงานประกันสังคม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาแรงงานข้ามชาติไม่ได้สิทธิประโยชน์ จากประกันสังคมและเงินทดแทน เนื่องจากปัญหาไม่มีใบอนุญาตทำงาน และแรงงานข้ามชาติไม่ได้ทำงานกับนายจ้างที่จดทะเบียน ซึ่งนโยบายพิสูจน์สัญชาติ ก็เพื่อให้เป็นแรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมาย ก็จะสามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ประกันสังคมจึงจะมีสิทธิจ่ายเงินให้ลูกจ้างและทายาทได้

เมื่อแรงงานข้ามชาติ เข้าสู่ระบบประกันสังคม จะได้รับเงินทดแทนเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ตาย และสูญหาย ระหว่างทำงาน แต่ถ้าแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมาย ก็ประสบปัญหาไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การพิสูจน์สัญชาติ จะทำให้แรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

ด้านวิทยา สิงห์มณี จากกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเป็นคนทำงานด้านควบคุมคนต่างด้าว และงานบริการสำหรับให้คนต่างด้าวขอทำเรื่องอยู่ต่อในเชียงใหม่ และงานสืบสวนปราบปราม รวมทั้งงานส่งคนกลับประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทางของแรงงานข้ามชาติ ก็ทำให้มีข้อมูลอยู่ในตรวจคนเข้าเมือง เพื่อการตรวจสอบดังกล่าว ส่วนกรณีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ แล้วจะได้สิทธิการสอบใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หลังจากพิสูจน์สัญชาติ และแรงงานก็ได้หนังสือเดินทาง

เมื่อแรงงานจะติดต่อกับสถานกงสุล และสถานทูต จะต้องแสดงที่อยู่ในประเทศพม่า ก็ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในพม่า และแรงงานข้ามชาติไปแจ้งข้อมูลที่ตรวจคนเข้าเมือง ที่มีการแจ้งที่พักอาศัยไว้ และเมื่อแรงงานข้ามชาติ ไปที่ขนส่ง ก็ต้องสอบใบอนุญาตใบขับขี่รถนี้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง มาตรา 37 (2) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราว ต้องแจ้งที่พักอาศัยของตนต่อตรวจคนเข้าเมืองแต่ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีตรวจคนเข้าเมืองก็ให้นายจ้างและแรงงานข้ามชาติ เข้าแจ้งที่โรงพัก โดยวิทยา กล่าวทิ้งท้ายว่า กำหนดวันพิสูจน์สัญชาติ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ต้องทำให้ทัน