Thai / English

ครม.อนุมัติ จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ



27 .. 52
ประชาไท

25 พ.ย. 52 - คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ที่เห็นชอบให้จ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินในอัตราเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างต้องได้รับไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน และให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป โดยให้ใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจและให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งในการพิจารณาภายใต้กรอบมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวดังกล่าวมีลักษณะการจ่ายเป็นการชั่วคราว ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และไม่เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่พนักงานและลูกจ้าง ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

ทั้งนี้กระทรวงแรงงานรายงานว่า

1. รัฐวิสาหกิจจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ขอจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่

2. คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ได้พิจารณาข้อเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ให้จ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ได้รับในอัตราเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องได้รับเงินเดือนไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน และให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เป็นต้นไป โดยให้ใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจและให้เป็นอำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งในการพิจารณาภายใต้กรอบดังกล่าวที่กำหนดมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ การจ่ายเงินเพิ่มครองชีพชั่วคราวดังกล่าวมีลักษณะการจ่ายเป็นการชั่วคราวไม่ถือเป็นค่าจ้าง และไม่เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่พนักงานและลูกจ้าง สำหรับรัฐวิสาหกิจจำนวน 7 แห่ง ที่เสนอขอมาเมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดเป็นกรอบมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 แล้ว ให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

3. กรณีดังกล่าวเป็นการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่ รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543