Thai / English

นายจ้างฉวยวิกฤติเศรษฐกิจ "เลิกจ้าง"



29 .. 52
กรุงเทพธุรกิจ

ศูนย์ร้องทุกข์แรงงาน แฉนายจ้างฉวยโอกาสวิกฤติเศรษฐกิจเลิกจ้างคนงาน ลดต้นทุน ย้ายฐานการผลิต ขณะที่รัฐเมินไม่ดูแลลูกจ้างจี้ตั้ง คณะกรรมการสอบสถานประกอบการ ตรวจสอบนายจ้างเจ้าเล่ห์ พร้อมตั้งกองทุนช่วยเหลือคนที่ไม่ได้รับค่าชดเชย

วานนี้ (28 เม.ย.) กลุ่มองค์กรด้านแรงงานนำโดย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)และนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวเรื่อง "ปฏิบัติการขบวนการแรงงานไทย ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ" โดย น.ส.วิไลวรรณ เปิดเผยว่า คสรท.ได้ร่วมกับเครือข่ายแรงงานจัดตั้ง 20 ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.2551 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปใน 3 เดือนแรกพบว่ามีจำนวนแรงงาน ที่มีการเลิกจ้างไปแล้วอย่างน้อย 50,000 คน และแนวโน้มจะถูกเลิกจ้างอีกกว่า 2 ล้านคน

มีแรงงานมาร้องเรียนกับศูนย์ทั้งสิ้น 13,270 คน ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่อง

1. นายจ้างได้ดำเนินการชะลอการเลิกจ้างโดยกานใช้กฎหมายมาตรา 75 (หยุดงานชั่วคราว) แต่ไม่ได้จ่ายค่าแรงในจำนวนเต็ม รวมถึงการขอร้องให้ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจเพราะต้องการจ่ายเงินค่าชดเชยน้อย

2. นายจ้างไม่ชี้แจงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างไดรับการเลิกจ้าง พยายามจ้างงานแบบเหมาช่วง

3. แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีสหภาพ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง

4. กระทรวงแรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องละเลยไม่ดูแลลูกจ้าง

5. กระทรวงแรงงานไม่เข้าช่วยเหลือเฉพาะรายเฉพาะโรงงานบางโรงงาน

6. การแก้ไขปัญหาเป็นเพียงการเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยแต่ละครั้งผ่านไปเท่านั้นกฎหมายที่มีอยู่เอื้อประโยชน์กับนายจ้างมากกว่าลูกจ้าง

ดังนั้น องค์กรแรงงานขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบสถานประกอบการที่จะมีการเลิกจ้างว่าประสบปัญหาวิกฤติจริง หรือว่าเป็นเพียงวิธีการลดต้นทุนการผลิตหรือย้านฐานการผลิตแก้ไขกฎหมายประกันสังคมครอบคลุมแรงงานผู้สูงอายุ ตั้งกองทุนช่วยเหลือให้กับแรงงานที่เลิกจ้าง แต่ไม่ได้รับเงินค่าชดเชย เป็นต้น

ด้านนายยงยุทธ กล่าวว่า ศุนย์ข้อร้องเรียน ผุ้ใช้แรงงานด้านยานยนต์ มีเรื่องร้องเรียนประมาณ 200 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบริษัทเหมาค่าแรง ประมาณ 160 เรื่อง และได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเรื่องไม่จ่ายค่าชดเชย จ่ายไม่ครบ และเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเจอกับปัญหาในลักษณะสัญญาจ้าง ที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เพราะเกรงว่าลูกจ้างจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานเต็มประสิทธิภาพ

รวมทั้งมีการกดดันให้ลูกจ้างเซ็นต์ใบลาออก อาทิเช่น บริษัท จีเอ็ม จ.ระยอง นายจ้างพยายามทำทุกอย่างในการกดดัน ลดจาก 1,600 คน ให้เหลือ 800 คน มีการคัดคนออกหลายวิธี และมีการใช้ให้พนักงานรับโครงการสมัครใจลาออก โดยเอาเงินสมัครใจพิเศษ 3 เดือนเข้ามาชชี้ชวน ซึ่งนายจ้างบอกว่าหากไม่ลาออกตอนนี้ อนาคตก็ต้องไล่ออกอยู่ดี รวมถึงมาตรฐานการใช้ มาตรา 75 ที่ลุกจ้างไม่ยอมรับสภาพการทำงานที่กำหนดขึ้นใหม่ร่วมกัน แต่มักได้รับการเพิกเฉยต่อการแสดงจุดยืนของสหภาพฯ หลายแห่งมาโดยตลอด

"ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมบนท้องถนนซึ่งเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของ คสรท.จำเป็นต้องมีการทบทวน เพราะส่วนใหญ่เมื่อมีการเรียกร้องขึ้นมา ก็มีเพียงแค่การประวิงเวลา ประสิทธิภาพการบริหารงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น แค่ควรทำให้ลูกจ้างละเมิดต่อผู้ใช้แรงงานให้ยาวนานกว่านี้" นายยงยุทธ กล่าว

นายยงยุทธ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงแรงงานผลักดัน "เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง" เพื่อใช้ในการต่อสู้ กรณีที่แรงงานต้องมีการใช้เวลานาน หากมีเงินกองทุน ก็สามารถมอบอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการแทนช่วงที่ลูกจ้างเพราะการต่อสู้ต้องใช้เงินแรงงานมีปัญหาเงินวางศาล และกระบวนการลูกจ้างเป็นกระบวนการที่ล้มเหลว

วานนี้ (28 เม.ย.) กลุ่มองค์กรด้านแรงงานนำโดย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)และนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวเรื่อง "ปฏิบัติการขบวนการแรงงานไทย ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ" โดย น.ส.วิไลวรรณ เปิดเผยว่า คสรท.ได้ร่วมกับเครือข่ายแรงงานจัดตั้ง 20 ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.2551 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปใน 3 เดือนแรกพบว่ามีจำนวนแรงงาน ที่มีการเลิกจ้างไปแล้วอย่างน้อย 50,000 คน และแนวโน้มจะถูกเลิกจ้างอีกกว่า 2 ล้านคน

มีแรงงานมาร้องเรียนกับศูนย์ทั้งสิ้น 13,270 คน ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่อง

1. นายจ้างได้ดำเนินการชะลอการเลิกจ้างโดยกานใช้กฎหมายมาตรา 75 (หยุดงานชั่วคราว) แต่ไม่ได้จ่ายค่าแรงในจำนวนเต็ม รวมถึงการขอร้องให้ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจเพราะต้องการจ่ายเงินค่าชดเชยน้อย

2. นายจ้างไม่ชี้แจงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างไดรับการเลิกจ้าง พยายามจ้างงานแบบเหมาช่วง

3. แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีสหภาพ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง

4. กระทรวงแรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องละเลยไม่ดูแลลูกจ้าง

5. กระทรวงแรงงานไม่เข้าช่วยเหลือเฉพาะรายเฉพาะโรงงานบางโรงงาน

6. การแก้ไขปัญหาเป็นเพียงการเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยแต่ละครั้งผ่านไปเท่านั้นกฎหมายที่มีอยู่เอื้อประโยชน์กับนายจ้างมากกว่าลูกจ้าง

ดังนั้น องค์กรแรงงานขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบสถานประกอบการที่จะมีการเลิกจ้างว่าประสบปัญหาวิกฤติจริง หรือว่าเป็นเพียงวิธีการลดต้นทุนการผลิตหรือย้านฐานการผลิตแก้ไขกฎหมายประกันสังคมครอบคลุมแรงงานผู้สูงอายุ ตั้งกองทุนช่วยเหลือให้กับแรงงานที่เลิกจ้าง แต่ไม่ได้รับเงินค่าชดเชย เป็นต้น

ด้านนายยงยุทธ กล่าวว่า ศุนย์ข้อร้องเรียน ผุ้ใช้แรงงานด้านยานยนต์ มีเรื่องร้องเรียนประมาณ 200 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบริษัทเหมาค่าแรง ประมาณ 160 เรื่อง และได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเรื่องไม่จ่ายค่าชดเชย จ่ายไม่ครบ และเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเจอกับปัญหาในลักษณะสัญญาจ้าง ที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เพราะเกรงว่าลูกจ้างจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานเต็มประสิทธิภาพ

รวมทั้งมีการกดดันให้ลูกจ้างเซ็นต์ใบลาออก อาทิเช่น บริษัท จีเอ็ม จ.ระยอง นายจ้างพยายามทำทุกอย่างในการกดดัน ลดจาก 1,600 คน ให้เหลือ 800 คน มีการคัดคนออกหลายวิธี และมีการใช้ให้พนักงานรับโครงการสมัครใจลาออก โดยเอาเงินสมัครใจพิเศษ 3 เดือนเข้ามาชชี้ชวน ซึ่งนายจ้างบอกว่าหากไม่ลาออกตอนนี้ อนาคตก็ต้องไล่ออกอยู่ดี รวมถึงมาตรฐานการใช้ มาตรา 75 ที่ลุกจ้างไม่ยอมรับสภาพการทำงานที่กำหนดขึ้นใหม่ร่วมกัน แต่มักได้รับการเพิกเฉยต่อการแสดงจุดยืนของสหภาพฯ หลายแห่งมาโดยตลอด

"ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมบนท้องถนนซึ่งเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของ คสรท.จำเป็นต้องมีการทบทวน เพราะส่วนใหญ่เมื่อมีการเรียกร้องขึ้นมา ก็มีเพียงแค่การประวิงเวลา ประสิทธิภาพการบริหารงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น แค่ควรทำให้ลูกจ้างละเมิดต่อผู้ใช้แรงงานให้ยาวนานกว่านี้" นายยงยุทธ กล่าว

นายยงยุทธ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงแรงงานผลักดัน "เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง" เพื่อใช้ในการต่อสู้ กรณีที่แรงงานต้องมีการใช้เวลานาน หากมีเงินกองทุน ก็สามารถมอบอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการแทนช่วงที่ลูกจ้างเพราะการต่อสู้ต้องใช้เงินแรงงานมีปัญหาเงินวางศาล และกระบวนการลูกจ้างเป็นกระบวนการที่ล้มเหลว