Thai / English

กระทรวงแรงงานเปิดโผ 5 กลุ่มธุรกิจเสี่ยงเลิกจ้าง



12 .. 52
กรุงเทพธุรกิจ

5 กลุ่มธุรกิจที่เสี่ยงเลิกจ้างสูง ได้แก่ ผลิตสิ่งทอ ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์,บำรุงรักษาคอมฯ,บริการรับทำบัญชีและผลิตเเครื่องเรือ

สถานการณ์เลิกจ้าง ในช่วงต้นปียังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการรวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังการเลิกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2551 - 6 ก.พ. 2552 มีสถานประกอบการที่มีการเลิกจ้าง 808 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 68,073 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 77,283 คน ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ 223,483 คน

แบ่งออกเป็นการเลิกจ้างในปี 2551 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2551 สถานประกอบการที่มีการเลิกจ้าง 698 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 55,549 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มการเลิกจ้าง 357 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 205,177 คน มีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้าง 43,747 คน ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 161,430 คน

สถานการณ์เลิกจ้างในช่วงระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.พ. 2552 มีสถานประกอบการที่มีการเลิกจ้างลูกจ้าง 110 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 12,524 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 207 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 95,589 คน มีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้าง 33,536 คน ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 62,053คน

5จังหวัดเลิกจ้างมากที่สุด

ข้อมูลสถานการณ์ การเลิกจ้างที่สำคัญ 5 ลำดับจังหวัด สรุปดังนี้ 1. การเลิกจ้าง แยกตามลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้ คือ 1.1 พื้นที่การเลิกจ้าง -ที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 5 จังหวัดแรก คือ 1.จังหวัดสมุทรปราการ ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 12,163 คน สถานประกอบการ เลิกจ้าง 91 แห่ง 2.จังหวัดปทุมธานี ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 10,829 คน สถานประกอบการที่ถูกเลิกจ้าง 47 แห่ง 3.กรุงเทพฯ ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง 8,187 คน สถานประกอบการที่เลิกจ้าง 127 แห่ง 4. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 7,425 คน สถานประกอบการที่ถูกเลิกจ้าง 40 แห่ง 5.จังหวัดตาก ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 3,342 คน สถานประกอบการที่เลิกจ้าง 26 แห่ง

ขนาดสถานประกอบการที่เลิกจ้าง และลักษณะการเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น 1.สถานประกอบการขนาด 50-299 คน จำนวน 260 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 17,691 คน 2. สถานประกอบการขนาด 10-49 คน จำนวน 199 แห่ง ถูกเลิกจ้าง 3,431 คน 3.สถานประกอบการขนาด 1-9 คน จำนวน 175 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 516 แห่ง 4.สถานประกอบการขนาด 300-900 คนจำนวน 117 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 19,963 คน 5.สถานประกอบการขนาด 1,000 คนขึ้นไป จำนวน 57 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 26,472 คน

อย่างไรก็ตามในจำนวนดังกล่าว มีสถานประกอบการที่ปิดกิจการจำนวน 380 แห่ง เลิกจ้าง 23,937 คน และเลิกจ้างลูกจ้างเพียงบางส่วน 428 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 44,136 คน

ส่วนประเภทกิจการที่เลิกจ้าง แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ดังนี้คือ 1.ผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์ มีกิจการเลิกจ้าง 76 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 13,420 คน 2.การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีการเลิกจ้างทั้งหมด 76 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 13,730 คน 3. การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ 4.บริการรับทำบัญชี มีการเลิกจ้าง 75 แห่ง ลูกจ้างเลิกจ้าง 4,136 คน 5.การผลิตเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ มีการเลิกจ้าง 68 แห่ง ลูกจ้างเลิกจ้าง 2,804 คน

สาเหตุการเลิกจ้าง

เมื่อพิจารณาสาเหตุการเลิกจ้าง ใน 5อันดับแรก พบว่า ส่วนใหญ่ประสบภาวะขาดทุน ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จำนวน 484 แห่ง เลิกจ้างลูกจ้าง 31,862 คน การสั่งซื้อลดลง จำนวน 157 แห่ง เลิกจ้างลูกจ้าง 25,633 คน -หมดฤดูกาลผลิต สินค้าไม่ได้คุณภาพจำนวน 53 แห่ง เลิกจ้าง 881 คน -ลดขนาดองค์กร/ลดวันทำงานจำนวน 37 แห่ง เลิกจ้าง 2,774 คน -หมดสัญญา ยกเลิกสัมปทาน จำนวน 27แห่ง เลิกจ้างลูกจ้าง 3,169 คน

แนวโน้มเลิกจ้าง

จากการเฝ้าระวังของกรมสวัสดิการ กรณีสถานประกอบการที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้างลูกจ้าง โดยการพิจารณาจากสถานประกอบการที่บ่งชี้ ซึ่งทำให้คาดหมายว่าอาจจะมีการเลิกจ้างถ้าปัญหาดังกล่าว ยังคงดำรงอยู่ และนายจ้างไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พบว่าสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551-6 ก.พ. 2552 จำนวน 564 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 300,766 คน มีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้าง 77,283 คน ได้รับผลกระทบ 223,483 คน เป็นแนวโน้มการเลิกจ้าง ที่ต่อเนื่องมาจากปี 2551 จำนวน 357 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 205,177 คนแนวโน้มจะถูกเลิกจ้างทั้งหมด 43,747 คน ได้รับผลกระทบ 161,430 คน

แนวโน้มการเลิกจ้างระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.พ. 2552 จำนวน 207 แห่งลูกจ้างทั้งหมด 95,589 คน มีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้าง 33,536 คน ได้รับผลกระทบ 62,053 คน

ส่วนข้อบ่งชี้ ที่มีการเลิกจ้างใน 5 อันดับแรก คือ 1. การหยุดกิจการชั่วคราว และ การจ่ายค่าจ้าง บางส่วนจำนวน 309 แห่ง ลูกจ้างที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 60,310 คนและลูกจ้างที่คาดว่า ได้รับผลกระทบในอนาคต 128,235 คน

2. ลดการผลิต ลดวันทำงาน 173 แห่ง ลูกจ้างมีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 6,500 คน และลูกจ้างที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในอนาคต 9,949 คน

3. ค้างจ่าย/ผิดนัดการจ่ายค่าจ้าง 21 แห่ง ลูกจ้างที่มีแนวโน้มถูกเลิกจ้าง 9,080 คน และลูกจ้างที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในอนาคต 72,682 คน

4. อื่นๆ แจ้งปิดกิจการ หมดสัญญาเช่าที่ดิน 37 แห่ง ลูกจ้างที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 1,049 คน และลูกจ้างที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในอนาคต 9,082 คน

5. ขาดแคลนวัตถุดิบ 6 แห่ง ลูกจ้ามีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 221 คนและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบในอนาคต 715 คน

ส่วนแนวโน้มจังหวัดที่เลิกจ้างในอนาคต 5 จังหวัดแรก ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 28,183 คน สถานประกอบการเลิกจ้าง 91 แห่ง 2.จังหวัดนครราชสีมา ลูกจ้างที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 10,918 คน สถานประกอบการ 16 แห่ง 3.จังหวัดสมุทรปราการ ลูกจ้างมีแนวโน้มเลิกจ้าง 10,081 คน สถานประกอบการมีแนวโน้มเลิกจ้าง 40 แห่ง 4.จังหวัดปราจีนบุรี ลูกจ้างที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 9,612 คน สถานประกอบการ 21 แห่ง 5.จ.ประจวบคีรีขันธ์ เลิกจ้าง 5647 คน สถานประกอบการ 19 แห่ง

กลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะถูกเลิกจ้างใน 5อันดับแรก คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 144 แห่ง ลูกจ้างมีแนวโน้มเลิกจ้าง 50,819 แห่ง 2.ผลิตรถยนต์ อุปกรณ์ขนส่ง 84 แห่ง แนวโน้มเลิกจ้าง 10,748 คน 3.ผลิตเครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ 51 แห่ง แนวโน้มเลิกจ้าง 3,646 คน 4. ผลิตเครื่องจักร 45 แห่ง ลูกจ้างที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 3,676 คน 5.ผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์และรองเท้า 37 แห่ง ลูกจ้างเลิกจ้าง 2,786 คน