Thai / English

1 ม.ค. 52 นี้ยังไม่มีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ



13 .. 51
ประชาไท

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 51 - ที่กระทรวงแรงงาน นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า ในวันที่ 1 ม.ค. 52 ที่จะถึงยังไม่มีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนเช่นทุกปีที่จะประกาศปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีในวันที่ 1 ม.ค. เนื่องจากมติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ชะลอพิจารณาปรับเพิ่มโดยเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้อยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงนายจ้างสถานประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างไรก็ตามจะเริ่มมีการพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงไตรมาส 2 ของปี 52 (เม.ย.-มิ.ย.) เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

ด้าน นายสุนันท์ โพธิ์ทอง ที่ปรึกษาวิชา การแรงงานระดับ 10 กระทรวงแรงงาน กล่าวในการสัมมนาเรื่องแนวคิด ทิศทางการรับมือและป้องกันปัญหาจากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจโลก จัดโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานล่าสุด เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 51 พบว่ามีจำนวนสถานประกอบการเลิกจ้างแรงงานแล้วจำนวน 546 แห่ง มีจำนวนแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง 45,707 คน ซึ่งสูงกว่าปี 50 ทั้งปีที่มีสถานประกอบการเลิกจ้างเพียง 153 แห่ง ที่มีปัญหาจากราคาน้ำมันแพงและค่าเงินบาทแข็งค่า และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีสถานประกอบการเลิกจ้างแรงงานอีก 223 แห่ง และมีแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง 104,500 คน เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก

จ้างได้ดีเช่นเดียวกับปี 2540 แต่จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานล่าสุดเมื่อเดือน ต.ค. 51 เพียง 200 กลุ่มตัวอย่างพบว่าแรงงานทั้งหมดไม่ต้องการกลับเข้าไปสู่ภาคการเกษตรอีก แม้ว่าจะเป็นกลุ่มตัวอย่างเล็ก ๆ แต่เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่ากำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญว่าในปัจจุบันภาคเกษตรจะรองรับแรงงานได้อีกหรือไม่

ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้จัดเตรียมมาตร การต่าง ๆ ไว้รองรับ ทั้งการรวบรวมตำแหน่งงานที่มีกว่า 118,000 ตำแหน่งที่ยังต้องการแรงงาน การแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้กองทุนประกันสังคม (สปส.) จ่ายเงินประกันการว่างงานให้กับแรงงานตกงานเป็น 8 เดือนของเงินเดือนสุดท้าย หรือการนำเงินของ สปส. จำนวน 10,000 ล้านบาทให้กับแรงงานและผู้ประกอบการกู้ยืมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ โดยผู้ประกอบการเองต้องเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงให้กับแรงงานทราบสถานการณ์ ต้องร่วมมือกันช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการต้องลดชั่วโมงทำงานแทนการเลิกจ้าง และเร่งฝึกอบรมฝีมือแรงงานไว้รองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เป็นต้น